รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 22 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 22, 2012 12:01 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 22 มีนาคม 2555

Summary:

1. 7 นิคมน้ำท่วมฟื้นผลิตเกือบครึ่ง เชื่อ Q2 ทุกโรงงานเดินเครื่อง

2. ปัญหาสินค้าแพง ปชช.ส่วนใหญ่หวังพึ่งรัฐควบคุมราคาสินค้า

3. IMF ชี้การที่เศรษฐกิจจีนมีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงถือเป็นเรื่องดี

Highlight:
1. 7 นิคมน้าท่วมฟื้นผลิตเกือบครึ่ง เชื่อ Q2 ทุกโรงงานเดินเครื่อง
  • กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ยังคงติดตามการฟื้นตัวของโรงงานอุตสาหกรรมใน 7 พื้นที่อุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด และจัดความช่วยเหลือตามที่โรงงานต้องการ เช่น มาตรการทางภาษีของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โครงการคลินิคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ จากการตรวจสอบจานวนโรงงานทั้งหมด 838 โรง ล่าสุด เมื่อเดือน ก.พ. 55 พบว่าเปิดดาเนินการแล้วประมาณร้อยละ 44 หรือ 366 โรง แบ่งเป็นเปิดดาเนินการ 100% จานวน 143 โรง และเปิดดาเนินการบางส่วน 223 โรง โดยคาดว่าในไตรมาส 2 ปีนี้ โรงงานทุกแห่งจะสามารถเริ่มกลับมาผลิตได้อีกครั้ง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างหนักทาให้ภาคการผลิตต้องหยุดชะงัก สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่หดตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ.ย.54 หดตัวที่ร้อยละ -47.2 ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4/54 หดตัวร้อยละ -34.2 อย่างไรก็ดี จากปัญหาอุทกภัยที่เริ่มคลี่คลายลงเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ทาให้ภาคการผลิตเริ่มฟื้นตัวและสามารถกลับมาทาการผลิตได้บางส่วนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ HDD และอิล็กทรอนิกส์ โดยข้อมูลล่าสุดดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ม.ค.55 หดตัวที่ร้อยละ -15.1 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -25.2 ต่อปี
2. ปัญหาสินค้าแพง ปชช.ส่วนใหญ่ หวังพึ่งรัฐควบคุมราคาสินค้า
  • “สวนดุสิตโพล” ได้สารวจความคิดเห็นจากประชาชนในแต่ละสาขาอาชีพทั่วประเทศ ในประเด็นปัญหาราคาสินค้าแพง ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมาก ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลให้ความสาคัญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจากผลสารวจพบว่า ประชาชนอยากให้ภาครัฐมีมาตรการในการควบคุมราคาสินค้า พยุงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25.28 จากผลสารวจทั้งหมด
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สถานการณ์ราคาน้าดิบโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์มหาอุทกภัยที่ผ่านมา ส่งผลให้ต้นทุนภาคการผลิตของผู้ประกอบการมีอัตราที่สูงขึ้น กระทบต่อราคาสินค้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นจะมีทั้งในส่วนของการดูแลราคาสินค้า และมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบผ่านสินเชื่อ SME วงเงิน 3 แสนล้านบาท และเร่งฟื้นฟูภาคการผลิตเพื่อให้กลับมาผลิตได้ตามปกติ ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปี 55 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0-4.0 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8-2.8 (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 54) ทั้งนี้ สศค.จะได้มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยอีกครั้งในวันที่ 26 มี.ค. 55
3. IMF ชี้การที่เศรษฐกิจจีนมีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงถือเป็นเรื่องดี
  • นายจู หมิน รองผู้อานวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าการที่เศรษฐกิจจีนมีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงถือเป็นเรื่องดี เนื่องจากทางการจีนจะได้มีโอกาสในการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นที่คุณภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังคงมีสัญญาณการเติบโตที่ดี แต่เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลงเนื่องจากอุปสงค์ต่างประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสาคัญชะลอตัวลง โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4/54 ขยายตัวชะลอลงเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 8.9 นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจปี 55 ที่ประกาศมีหลายปัจจัยชะลอตัวลงและล่าสุดทางการจีนได้ปรับลดเป้าหมายผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)สาหรับปี 55 ลงเหลือร้อยละ 7.5 ซึ่งเป็นตัวเลขต่าสุดในรอบ 7 ปี แม้อุปสงค์ภายในประเทศจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะยอดค้าปลีกที่ขยายตัวร้อยละ 16-18 ต่อปีในช่วงที่ผ่านมา (สูงกว่าการขยายตัวของจีดีพี) ซึ่งการปรับลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจจะทาให้ทางการจีนมีพื้นที่ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยไม่กระตุ้นอัตราเงินเฟ้อที่ทางการจีนได้ตั้งเป้าหมายให้ขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4 ในปี 55 ในระยะปานกลาง เศรษฐกิจจีนกาลังประสบกับปัญหาความไม่สมดุล (ประชากรสูงอายุขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม) การขาดการประสานงานระดับนโยบาย และการพัฒนาที่ไม่ต่อเนื่อง โดยปัจจัยข้างต้นถือเป็นอุปสรรคสาคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งทางการจีนจะต้องปฏิรูปและปรับโครงสร้างระบบใหม่เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ