รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 23 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 23, 2012 11:44 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 23 มีนาคม 2555

Summary:

1. ธนาคารไทยพาณิชย์ชี้ ความเสี่ยงเงินเฟ้อสูง บีบ ธปท. คงดอกเบี้ยนโยบาย

2. สอท. ชี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดับ 100.9

3. ดุลการค้าญี่ปุ่นในเดือน ก.พ. 55 เกินดุลที่ 393 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (32.9 พันล้านเยน)

Highlight:
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ชี้ ความเสี่ยงเงินเฟ้อสูง บีบธปท. คงดอกเบี้ยนโยบาย
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี ซึ่งเป็นตามที่ตลาดคาดการณ์ โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้น้าหนักกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ซึ่งแตกต่างจากการประชุม 2 ครั้งก่อนที่ ธปท. ให้น้าหนักกับความเสี่ยงทางด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่า จากอุทกภัยในประเทศและความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก แต่ในการประชุมครั้งนี้ความเสี่ยงทางด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นการที่ ธปท. ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยให้คงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี บ่งชี้ว่า ธปท. ต้องการที่จะควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์ (Inflation expectation) ไม่ให้เกิดความผันผวน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อุทกภัยครั้งใหญ่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 54 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะในภาคการผลิต ทาให้ที่ผ่านมา ธปท. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคการบริโภคภาคเอกชน ตลอดจนปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลางที่ทาให้ราคาน้ามันปรับตัวสุงขึ้นโดยมีความผันผวนสูง เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อกลับมาเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกครั้ง โดยหากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากปัจจัยด้านอุปสงค์ (Demandpulled inflation) ธปท. จะสามารถควบคุมเงินเฟ้อโดยใช้มาตรการทางการเงินแบบตึงตัวผ่านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 55 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 54)
2. สอท. ชี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดับ 100.9
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมว่าอยู่ที่ระดับ 100.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.6 ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และเป็นระดับที่เกินระดับ 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เนื่องจากหลายอุตสาหกรรมฟื้นตัวจากภาวะน้าท่วมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 106.3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ระดับ 107.7 ในเดือน ม.ค. 55 เพราะผู้ประกอบการคาดว่ายอดคาสั่งซื้อโดยรวม ยอดขาย ปริมาณการผลิต และผลประกอบการจะปรับตัวลดลง เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นสูงขึ้น จากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากอุทกภัยครั้งล่าสุด โดยเฉพาะในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ที่คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในไตรมาสที่ 2 ปี 55 สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 55 ที่หดตัวในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องที่ร้อยละ -15.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือขยายตัวเร่งขึ้นถึงกว่าร้อยละ 19.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลง ทั้งจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจยูโรโซนจากปัญหาหนี้สาธารณะเรื้อรัง และการชะลอลงต่อเนื่องของเศรษฐกิจจีน ผนวกกับต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามราคาน้ามันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จากปัญหาการเมืองในประเทศอิหร่านซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ามันรายสาคัญของโลก อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของภาคการผลิตซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 39.0 ของ GDP ในระยะต่อไป
3. ดุลการค้าญี่ปุ่นในเดือน ก.พ. 55 เกินดุลที่ 393 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (32.9 พันล้านเยน)
  • กระทรวงการคลังญึ่ปุ่นเปิดเผยตัวเลขดุลการค้าญี่ปุ่นในเดือน ก.พ 55 มียอดเกินดุลที่ 393 ล้านดอลลาร์สหรัฐนับเป็นการเกินดุลครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง จากมูลค่าการส่งออกที่ชะลอการหดตัวลงในเดือน ก.พ.55 ที่ร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนาเข้าขยายตัวเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือน ก.พ.55 ที่ร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ดุลการค้าญี่ปุ่นในเดือน ก.พ. 55 ที่เกินดุลนั้น เป็นผลจากอุปสงค์ภายนอกประเทศเริ่มกลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยยอดการส่งออกญี่ปุ่นไปยังสหรัฐฯ ขยายตัวเร่งขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สินค้าหลักที่ญี่ปุ่นส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ รถยนต์ เหล็กกล้า และเครื่องจักรในการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงมีความเสี่ยงจากอุปสงค์ภายนอก สะท้อนจากมูลค่าออกรวมของญี่ปุ่นที่ยังคงหดตัวลงร้อยละ -2.7 ใน เดือน ก.พ. 55 ผลจากยอดส่งออกไปจีนและตลาดเอเชียด้วยกันที่ยังคงหดตัว ขณะที่มูลค่าการนาเข้าสินค้าพลังงานเพิ่มขึ้น จากความต้องการสินค้าพลังงานในประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง จากภาวะขาดแคลนพลังงาน ประกอบกับราคาน้ามันในตลาดโลกยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
  • อย่างไรก็ดี ดุลการค้าญี่ปุ่นเดือน ก.พ. 55 ที่กลับมาเกินดุลนั้น เป็นสัญญาณที่ดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และเป็นสัญญาณที่ดีต่อห่วงโซ่อุปทานในภาคการส่งออกของไทย เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าที่สาคัญอันดับ 2 ของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.5 ของการส่งออกรวม (สัดส่วนปี 54) อีกทั้งญี่ปุ่นมีอุตสาหกรรมปลายน้าที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมไทยอยู่มาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ