รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 19 - 23 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 28, 2012 12:08 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.พ.55 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 259.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 67.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.พ.55 พบว่าดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -131.2 พันล้านบาท
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน ก.พ.55 มีจำนวน 1.84 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ.55 อยู่ที่ระดับ 100.9
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.พ.55 หดตัวลดลงร้อยละ -4.0 และขยายตัวร้อยละ 33.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
  • วันที่ 21 มี.ค.55 คณะกรรมการนโยบายการเงิน ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจีนที่จัดทาโดย HSBC เดือน มี.ค.55 อยู่ที่ระดับ 48.1 (ตัวเลขเบื้องตัน)
  • ดุลการค้าญี่ปุ่น เดือน ก.พ.55 เกินดุล 32.9 พันล้านเยน หรือ 393 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเบื้องต้นของยูโรโซน (Flash Composite PMI) ในเดือน มี.ค.55 อยู่ที่ระดับ 48.7
Indicators next week
 Indicators                          Forecast            Previous
Feb : Passenger car sale (%YoY)       -15.0                -5.0
  • เนื่องจากปัญหาอุทกภัยตลอดจนการแก้ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตคลี่คลายลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ HDD เครื่องปรับอากาศ และอิล็กทรอนิกส์กลับมาทำการผลิตได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีหลายๆ อุตสาหกรรมยังคงต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟูเครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ดัชนี MPI ยังคงติดลบอยู่
Economic Indicators: This Week
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.พ.55 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ -0.8 โดยหดตัวมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.2 ทั้งนี้ ภาวะการลงทุนยังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวภายหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.6
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.พ.55 มีจำนวน 3.21 หมื่นคัน หดตัวลดลงร้อยละ -4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -9.8 และเมื่อขจัดผลทางฤดูการออก (m-o-m_SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อเดือน โดยเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับกาลังการผลิตของค่ายรถยนต์ต่างๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และมีการเร่งนาเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากต่างประเทศ เพื่อทดแทนโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ยังไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนได้ตามปกติ ทาให้สามารถส่งมอบรถยนต์ให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้น
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.พ. 55 มีจานวน 5.83 หมื่นคัน ขยายตัวร้อยละ 33.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 29.1 และเมื่อขจัดผลทางฤดูการออก (m-o-m_SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อเดือน โดยได้รับปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณจาหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้จานวน 5.13 หมื่นคัน ขยายตัวร้อยละ 36.2 ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความนิยมอย่างต่อเนื่องในรถยนต์รุ่นใหม่ทั้งรุ่นที่เพิ่งแนะนาในปี 55 และปีก่อนหน้า 4.00
  • วันที่ 21 มี.ค.55 คณะกรรมการนโยบายการเงิน ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00 จากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกเริ่มลดลง และเศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดี ขณะที่แรงกดดันด้านราคามีแนวโน้มสูงขึ้น จากราคาน้ามันโลก และผลของการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่า โดยประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันที่ร้อยละ 3.00 ถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พร้อมกับดูแลความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่มีอยู่
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.พ.55 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -15.0 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยตลอดจนการแก้ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตคลี่คลายลงอย่างต่อเนื่อง ทาให้อุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ HDD เครื่องปรับอากาศ และอิล็กทรอนิกส์กลับมาทาการผลิตได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างไรก็ดี หลายๆ อุตสาหกรรมยังคงต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟูเครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทาให้ดัชนี MPI ยังคงติดลบอยู่

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า แต่หากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว จะขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากราคาน้ำมันขายปลีกที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 6.0 จากเดือนก่อนหน้า ยอดขายบ้านมือสอง (Existing home sales) เดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ 4.59 ล้านหลัง (annual rate) หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ราคากลางบ้าน (Median Home Price) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 156,600 ดอลลาร์สหรัฐ
Japan: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกเดือน ก.พ.55 หดตัวร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากร้อยละ -9.2 ในเดือนก่อนหน้า ผลจากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่กลับมาฟื้นตัว มูลค่าการนำเข้าเดือน ก.พ. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 9.2 เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากการขาดแคลนพลังงานนิวเคลียร์ ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องเร่งนาเข้าสินค้าพลังงานเพิ่มขึ้นขณะที่ดุลการค้า เดือน ก.พ.55 เกินดุล 32.9 พันล้านเยน หรือ 393 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเกินดุลครั้งแรกในรอบ 5 เดือน
Euro Zone: worsening economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเบื้องต้น (Flash Composite PMI) ในเดือน มี.ค.55 อยู่ที่ระดับต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 48.7 สะท้อนการหดตัวของภาคการผลิตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 โดยหากวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดพบว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้น (Flash Mfg PMI) ในเดือน มี.ค.55 ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 47.7 จากภาคอุตสาหกรรมในเยอรมนีและฝรั่งเศสที่ชะลอลง ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการเบื้องต้น (Flash Service PMI) เดือน มี.ค.55 อยู่ที่ระดับ 48.7 โดยบ่งชี้การหดตัวของภาคบริการต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือน ก.ย.54 เช่นเดียวกับคาสั่งซื้อใหม่ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค.55 ที่หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า บ่งชี้ผลกระทบจากปัญหาหนี้สาธารณะที่เริ่มส่งผลลบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของยูโรโซนอย่างชัดเจน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค.55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ -19.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -20.3 (ตัวเลขปรับปรุง) สะท้อนทิศทางการบริโภคภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณดีขึ้นต่อเนื่อง
China: worsening economic trend
  • ราคาบ้าน เดือน ก.พ.55 ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าแล้ว จะหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.1 (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ผลจากราคาบ้านในเมืองท่าสำคัญของจีน อาทิ ปักกิ่ง เทียนจิน และเซี่ยงไฮ้ ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สะท้อนว่าภาวะฟองฟูในราคาอสังหาริมทรัพย์เริ่มคลี่คลายลงด้านภาคการผลิตสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ HSBC (ตัวเลขเบื้องตัน) เดือน มี.ค.55 อยู่ที่ระดับ 48.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 49.6 ในเดือนก่อน เนื่องจากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ โดยเฉพาะคาสั่งซื้อสินค้าส่งออกปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับต่าที่สุดในรอบ 4 เดือน ขณะที่ภาคอุปสงค์ภายในประเทศยังคงอ่อนแอ ทั้งนี้ ดัชนีฯ อยู่ในระดับต่ากว่า 50 จุดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 สะท้อนถึงแนวโน้มการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมจีน
Hong Kong: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 55 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ผลจากปัจจัยฐานสูง เนื่องจากวันตรุษจีนในปีก่อนหน้าอยู่ในเดือน ก.พ. 54 ทั้งนี้ ราคาน้ามันในตลาดโลกที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น จากปัญหาการเมืองในอิหร่าน อาจส่งผลกระทบให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกาลังแรงงานรวมส่วนหนึ่งจากการจ้างงานใหม่ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ฐานกาลังแรงงานปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ส่งสัญญาณชะลอลง
Taiwan: mixed signal
  • คำสั่งซื้อสินค้าส่งออก เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.6 ส่วนหนึ่งจากคาสั่งซื้อสินค้าจากจีนในเดือน ก.พ. 55 ที่เร่งขึ้นกว่าร้อยละ 19.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หลังจากที่หดตัวกว่าร้อยละ -20.8 ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การเร่งขึ้นของคาสั่งซื้อดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่าจากวันหยุดยาวในเทศกาลตรุษจีนในเดือน ก.พ. 54 โดยหากขจัดปัจจัยทางฤดูกาลดังกล่าว โดยวิเคราะห์การขยายตัวของคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกเฉลี่ยระหว่างเดือน ม.ค.-ก.พ. 55 พบว่าขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สะท้อนการชะลอลงของอุปสงค์จากนอกประเทศ ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ระดับ 4.6 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 4.7 ของกำลังแรงงานรวม โดยจานวนผู้ว่างงานลดลงกว่า 13,000 คนจากเดือนก่อนหน้า บ่งขี้อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นมาแตะระดับ 1,200 จุด ช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนปรับลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ และมีความผันผวนระหว่างวันสูง โดยดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงต้นสัปดาห์ต่อเนื่องถึงกลางสัปดาห์ จากภาวะ risk appetite ของนักลงทุน โดยดัชนีฯ ปิดสูงถึง 1,207.7 จุดในวันที่ 21 มี.ค. 55 ก่อนจะปรับลดลงในช่วงปลายสัปดาห์จากตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนที่แย่กว่าที่ตลาดคาด ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 19 - 22 มี.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 7,729 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพันธบัตรระยะยาว จากการเทขายพันธบัตรช่วงอายุ 10 ปี เพื่อเข้าประมูลพันธบัตรชุดใหม่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 19 - 22 มี.ค.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,987 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 22 มี.ค.55 อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐร้อยละ -0.16 โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลภูมิภาค อาทิ เงินริงกิตมาเลเซีย เงินวอนเกาหลี หรือเงินดอลลาร์สิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินเยนและยูโรแข็งค่าขึ้นมาก ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.40
  • ราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 22 มี.ค.55 ปิดที่ 1,643 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,663 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ