รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 26 - 30 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 2, 2012 14:23 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • การส่งออกสินค้าในเดือน ก.พ. 55 มีมูลค่า 19,039 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -6.0 ในขณะที่การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน ก.พ. 55 มีมูลค่า 18,509 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -4.2
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.พ.55 หดตัวที่ร้อยละ -3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -15.0
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.พ.55 หดตัวร้อยละ -13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกา เดือน มี.ค.55 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 70.2 จุด จากระดับ 71.6 จุดในเดือนก่อนหน้า
  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ.55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจของยูโรโซนเดือน มี.ค.55 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 94.4 จุด
  • ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจเยอรมนี (Ifo) เดือนมี.ค.55 ปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ที่ระดับ 109.8
Indicators next week
 Indicators                          Forecast           Previous
Mar: Headline Inflation  (%YoY)        3.4                 3.2
  • ชะลอลงจากเดือน ก.พ. 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาอาหารสด อาทิ เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ และผักสดบางประเภท ในขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.3
Economic Indicators: This Week
  • การส่งออกสินค้าในเดือน ก.พ. 55 มีมูลค่า 19,039 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -6.0 จากการฟื้นตัวในสินค้าทุกหมวดหลังประสบเหตุการณ์มหาอุทกภัยภายในประเทศ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 โดยการขยายตัวในเดือน ก.พ. 55 เป็นผลมาจากราคาที่ชะลอลงร้อยละ 1.1 และปริมาณที่หดตัวร้อยละ 0.2 ส่งผลให้การส่งออก 2 เดือนของปี 55 หดตัวร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ หมวดอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 38.1 และสินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวร้อยละ 103.3 ส่วนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ กลุ่มอาเซียน 5 นำโดยอินโดนีเซีย และมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 12.1 สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.0 และจีน ขยายตัวร้อยละ 3.4
  • การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน ก.พ. 55 มีมูลค่า 18,509 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -4.2 ผลจากการเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเชื้อเพลิง ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 19.9 35.4 และ 8.0 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบปรับตัวดีขึ้นแต่ยังติดลบอยู่ที่ร้อยละ -5.7 ทั้งนี้ ราคานำเข้าสินค้าขยายตัวชะลอลงร้อยละ 6.1 และปริมาณขยายตัวร้อยละ 2.0 ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สูงกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้า ทำให้ดุลการค้าเดือน ก.พ. 55 เกินดุล 530 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.พ.55 หดตัวที่ร้อยละ -3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน หน้าที่หดตัวร้อยละ -15.0 ทั้งนี้เมื่อพิจารณาแบบ %mom (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) พบว่าขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 8.9 โดยมีปัจจัยบวกมาจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเป็นสำคัญเนื่องจากปัจจัยฐานต่ำจากปีที่แล้วที่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ประกอบกับปัญหาอุทกภัยที่คลี่คลายลง ทำให้อุตสาหกรรมหลักกลับมาทำการผลิตได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในหมวดอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอาหาร อย่างไรก็ดี ยังคงมีบางอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู โดยเฉพาะในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ MPI ในเดือนนี้ยังคงติดลบอยู่
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ก.พ.55 หดตัวร้อยละ -13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -20.9 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 2.9 จากเดือนก่อนหน้า โดยการ หดตัวในอัตราชะลอลงดังกล่าวถือเป็นการปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกับการผลิตโลหะขั้นมูลฐานที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 6.5 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -22.5 ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่หดตัวมีสาเหตุสำคัญจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง ได้แก่ เหล็กเส้นกลม และเหล็กเส้น ข้ออ้อยที่หดตัวร้อยละ -21.6 และ -20.0 ตามลำดับ ขณะเหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่สะท้อนจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีขยายตัว ร้อยละ 9.0
Economic Indicators: Next Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 55 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือน ก.พ. 55 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาอาหารสด อาทิ เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ และผักสดบางประเภท ในขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า คาดว่าจะขยายตัวที่ ร้อยละ 0.3

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. 55 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยลงสู่ระดับ 70.2 จุด จากระดับ 71.6 จุดในเดือนก่อนหน้า จากความกังวลต่อราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 46.4 จุดในเดือนก่อนหน้า สู่ระดับ 51.0 จุด บ่งชี้ว่าผู้บริโภคสหรัฐฯ มองเห็นภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากการว่างงานที่น้อยลง ยอดขายสินค้าคงทน เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวน้อยกว่าตลาดคาดที่ร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom sa) ผลจากยอดสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 6.0
Japan: mixed signal
  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 53 จากยอดขายรถยนต์ซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 21.4 จากมาตรการสนับสนุนของรัฐบาล และราคาเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคนิยมซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานมากขึ้น สอดคล้องกับ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. ที่ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ระดับ 51.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ก.พ. 55 หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศยังคงชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากร้อยละ 4.6 ของกำลังแรงงานรวมในเดือนก่อนหน้าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งฟื้นฟูประเทศหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในปีที่ผ่านมา
Euro Zone: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจเดือน มี.ค. 55 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 94.4 จุด โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ -19.1 จุด ในขณะที่ดัชนีธุรกิจปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ -7.2 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจเยอรมนี (Ifo) เดือนมี.ค. 55 ปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ที่ระดับ 109.8 บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจเยอรมนีในช่วงไตรมาส 1 ปี 55
Malaysia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากราคาสาธารณูปโภคและค่าขนส่งซึ่งมีสัดส่วนการคำนวณรวมกันถึงร้อยละ 37.5 ในตะกร้าดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวชะลอลง ขณะที่ราคาอาหารซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30.3 ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงสุดในตะกร้าดัชนีราคาผู้บริโภคยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 2.9
Philippines: mixed signal
  • มูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 55 หดตัวร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.8 จากการนำเข้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบยังคงหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน ม.ค. 55 ขาดดุล -1.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกฟิลิปปินส์มิได้เป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การขาดดุลการค้าจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในระดับต่ำ
Singapore: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 55 ปรับลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากราคาอาหารและค่าขนส่งที่มีสัดส่วนรวมร้อยละ 38 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 และ 4.4 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -9.6 เนื่องจากวันทำการในเดือน ก.พ. 55 มีมากกว่าปีก่อนหน้า ผลจากวันหยุดเทศการตรุษจีน อีกทั้งอุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกเร่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสารกึ่งตัวนำ
South Korea: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 14.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนหน้า (%mom sa)เนื่องจากภาคการส่งออก การลงทุน และยอดค้าปลีกในเดือน ก.พ. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นอย่างรวดเร็วสอดคล้องกับผลผลิตภาคบริการ เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า (%mom sa) โดยภาคการค้าปลีกขยายตัวดีที่ร้อยละ 5.3
Hong Kong: improving economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ ร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำจากเทศการตรุษจีนในปีก่อน โดยในปีนี้เทศกาลตรุษจีนเลื่อนจากเดือน ก.พ. เป็นเดือน ม.ค.สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 55 ที่ขยายตัวเร่งขึ้นเช่นกันมาอยู่ที่ร้อยละ 20.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากยอดซื้อเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น และยอดซื้อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวอยู่ในช่วง 1,200 จุด และมีความผันผวนสูง โดยดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะปรับตัวลงมากในช่วงปลายสัปดาห์ จากตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีน้อยกว่าที่ตลาดคาด โดยเป็นทิศทางเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 26 - 30 มี.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 6,051 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในพันธบัตรช่วงอายุ 1 ปีขึ้นไป จากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติในพันธบัตรช่วงอายุ 1-5 ปี ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 26 - 30 มี.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -1,537 ล้านบาท
  • ดัชนี SET ปรับตัวอยู่ในช่วง 1,200 จุด และมีความผันผวนสูง โดยดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะปรับตัวลงมากในช่วงปลายสัปดาห์ จากตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีน้อยกว่าที่ตลาดคาด โดยเป็นทิศทางเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 26 - 30 มี.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 6,051 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในพันธบัตรช่วงอายุ 1 ปีขึ้นไป จากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติในพันธบัตรช่วงอายุ 1-5 ปี ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 26 - 30 มี.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -1,537 ล้านบาท
  • ราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 29 มี.ค. 55 ปิดที่ 1,661 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,689 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ