รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 5 เมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 5, 2012 11:37 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 5 เมษายน 2555

Summary:

1. นายกรัฐมนตรีชูความสำคัญเร่งขับเคลื่อนการจัดตั้งหุ้นส่วนเศรษฐกิจใหม่ในอาเซียน

2. สถานการณ์น้ำท่วมส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านมือสองเพิ่ม 1.5 แสนหน่วย

3. สหภาพยุโรปพิจารณายกเลิกมาตรการคว่ำบาตรพม่า

Highlight:
1. นายกรัฐมนตรีชูความสาคัญเร่งขับเคลื่อนการจัดตั้งหุ้นส่วนเศรษฐกิจใหม่ในอาเซียน
  • นายกรัฐมนตรีร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 20 อย่างไม่เป็นทางการ โดยประเทศไทย ได้ชื่นชมพัฒนาการของอาเซียนที่ปัจจุบันกลายเป็นเสาหลักสาคัญในการสร้างสันติภาพและความมั่นคง ในภูมิภาค การมีส่วนร่วมกับประเทศคู่เจรจา เพื่อช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับอาเซียนในประชาคม ระหว่างประเทศ ประกอบกับสถานการณ์ผันผวนในเขตยุโรปและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ดังนั้น อาเซียนต้องพึงพาเอเชียและแปซิฟิกให้มากขึ้น เร่งเดินหน้าการสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ระดับภูมิภาค เช่น หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาคแปซิฟิค และการมีส่วนร่วมในจี 20 ของอาเซียน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มูลค่าการค้าของประเทศไทยกับประเทศในอาเซียน 9 ประเทศ ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2555 เท่ากับ 14,516.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 20.7 ของมูลค่าการค้าของประเทศไทย โดยประเทศไทยกลับมีมูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนสูงกว่า การนำเข้าจากอาเซียน โดยระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2555 ประเทศไทยเกินดุลการค้า ประเทศอาเซียนถึง 3,300.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 64.1 ทั้งนี้ ในปี 2558 ภายหลังจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบจะทาให้ทรัพยากรต่างๆ ของประเทศสมาชิกเคลื่อนย้ายอย่างเสรี ซึ่งจะเป็นโอกาสให้กับประเทศไทยในการเปิดตลาดการค้าได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากอาเซียน เป็นตลาดผู้บริโภคสินค้าที่มีการขยายตัวในระดับสูง และเป็นโครงข่ายฐาน การผลิต ทั้งด้านแรงงานและทรัพยากรทางธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อการขยายการลงทุน อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยไม่มีการเตรียมความพร้อมอาจก่อให้เกิดภัยคุกคามที่สำคัญ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายแรงงานมีทักษะที่เสรี อาจจะกระทบต่อแรงงานมีทักษะภายในประเทศที่อาจจะขาดแคลนมากขึ้น และบางสาขาการผลิตทื่ไทยต้องแข่งขันกับประเทศในอาเซียน ซึ่งทาให้ต้องเร่งพัฒนาขีดความแข่งขัน
2. สถานการณ์น้ำท่วมส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านมือสองเพิ่ม 1.5 แสนหน่วย
  • นายกสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ของธุรกิจบ้านมือสองในช่วงไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมาว่าเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปลายปีที่ผ่านมาทาให้ภาวะตลาดยังคงซบเซาต่อเนื่อง ในขณะที่มีบ้านมือสองที่พร้อมจะขายในตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 - 20 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่แล้ว 3-4 แสนหน่วย หลังเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะทาให้มีบ้านมือสองเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 แสนหน่วย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์โดยรวมในเดือน ก.พ.55 เริ่มเห็นสัญญาณในการฟื้นตัว ของตลาดที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุด โดยจานวนอาคารชุดที่จาหน่ายในขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีจานวน 6,135 หน่วย เพิ่มขึ้นจาก 842 หน่วย ในเดือนก่อน เนื่องจากผุ้บริโภคมีความต้องการซื้ออาคารชุดเป็นบ้านหลังที่สองเพื่อใช้เป็นที่พักกรณีฉุกเฉินมากขึ้น อย่างไรก็ดี ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงซบเซา สาหรับด้านอุปทานของอาคารชุดปรับเพิ่มขึ้น สะท้อนจากจานวนอาคารชุดเปิดขายใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีจานวน 12,693 หน่วย เพิ่มขึ้นจาก 3,653 หน่วย ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากการทยอยประกาศขายโครงการของผู้ประกอบการที่เลื่อนมาจากช่วงอุทกภัย อย่างไรก็ดี อุปทานของที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงชะลอตัวลง
3. สหภาพยุโรปพิจารณายกเลิกมาตรการคว่าบาตรพม่า
  • นักการฑูตระดับสูงของยุโรป (อียู) เปิดเผยว่า อียูมีท่าทีเอนเอียงไปในทิศทางที่จะยกเลิกมาตรการคว่าบาตรต่อพม่าในเดือนนี้ หลังมีการเลือกตั้งที่สาคัญ โดยนักการฑูตของอียูที่เปิดอภิปรายในวันอังคาร ในประเด็นที่ว่าควรยกเลิกมาตรการลงโทษพม่าเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนการเลือกตั้งซ่อมที่มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ และการเดินหน้าปฏิรูปโดยรัฐบาลกึ่งพลเรือน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า พม่าเป็นประเทศที่มีโอกาสในการลงทุนสูง โดยในปี 2554 ประเทศไทยไปลงทุนในพม่ามูลค่า 37,281 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.5 ของเงินลงทุนทั้งหมดในต่างประเทศ รองลงมาจากประเทศสิงคโปร์ ดังนั้น การที่พม่าเร่งปฏิรูปประเทศในหลายด้าน โดยเฉพาะการผ่อนคลายบรรยากาศทางการเมืองที่สาคัญ อาทิ การปล่อยตัวนักเคลื่อนไหวทางการเมืองคนสาคัญ และการผ่านร่างกฏหมายอนุญาตให้ประชาชนสามารถจัดการชุมนุมประท้วงอย่างสงบได้ เพื่อให้พม่าได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งมีเสียงสะท้อนกลับมาค่อนข้างดี ประกอบกับพม่ามีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ เช่น ก๊าซธรรมชาติ และป่าไม้ เป็นต้น จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในการขยายการลงทุนในพม่าในอนาคต

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ