FPO WEEKLY CONSENSUS (2 เมษายน 2555)

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday April 5, 2012 11:39 —กระทรวงการคลัง

สรุปความเห็นนักวิเคราะห์ต่อทิศทางตลาดเงินตลาดทุนสัปดาห์นี้

  • นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าค่าเงินในสัปดาห์นี้น่าจะแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากแนวโน้มการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศที่ยังคงมีมาโดยต่อเนื่องหลัง วิกฤตการณ์หนี้ในยุโรปและสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐพัฒนาไปในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์บางส่วนให้ความเห็นว่าค่าเงินบาทอาจจะอ่อนตัวลงได้อีกจาก ท่าทีของรัฐบาลที่ต้องการให้ค่าเงินบาทอ่อนลงอีก และการที่เงินลงทุนบางส่วนอาจไหลกลับไปสู่ประเทศสหรัฐมากกว่าที่ไหลเข้ามาลงทุนในไทย หลังจากที่เศรษฐกิจ สหรัฐมีแนวโน้มที่แข็งแกร่ง ปริมาณการทาธุรกรรมและค่าเงินน่าจะเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆเนื่องจากมีวันหยุดราชการเป็นจานวนมาก
  • อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน จะยังคงอยู่ที่ 3.00 % เนื่องจากไม่มีการประชุม กนง.
  • Bond Yield อายุ 2 ปี และ Bond Yield อายุ 10 ปี มีแนวโน้มที่ผลตอบแทน (อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว) จะปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากนักลงทุนมีการโยกย้ายเงินลงทุนจากตลาดตราสารหนี้ไปยังตลาดตราสารทุน เนื่องจากนักลงทุนมี risk appetite ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น และ supply ของพันธบัตรรัฐบาลที่ออกมา อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้นโยบายของรัฐบาลและราคาของสินข้าโภคภัณฑ์ที่ขยับตัวสูงขึ้นจะทาให้เงินเฟ้อมีการเร่งตัว และทาให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย
  • นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า SET จะปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และเงินที่ไหลเข้ามาสู่ตลาดทุน อย่างไรก็ตามดัชนี SET อาจได้รับแรงกดดันบ้างหลังฤดูการจ่ายเงินปันผล และจากการขายทากาไรเนื่องจากราคาหุ้นที่ขึ้นสูงในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามดัชนีน่าจะมีการซื้อขายเบาบางและเคลื่อนไหวในกรอบที่จากัดเนื่องจากอยู่ในช่วงวันหยุดยาว
  • นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า นักลงทุนต่างชาติจะยังคงซื้อสุทธิทั้งในตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ต่อไป แต่อาจมีแรงขายสุทธิบ้างในส่วนของนักลงทุนสถาบัน การไหลเข้ามาของเงินทุนจากต่างชาติน่าจะชะลอตัวลงจากช่วงต้นปีเนื่องจากปริมาณเงินทุนไหลเข้าสะสมที่ค่อนข้างสูงในช่วงที่ผ่านมา
ความเห็น สศค.
  • คาดว่า นักลงทุนต่างชาติจะยังคงซื้อสุทธิทั้งในตลาดตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ แต่ปริมาณของเม็ดเงินอาจชะลอตัวลงเนื่องจากในช่วงต้นปีมีเงินทุนจากต่างชาติ ไหลสะสมเข้ามาในปริมาณมาก และประเทศไทยมีการขาดดุลบัญชีการค้าติดต่อกันในเดือน ม.ค. และ ก.พ. (เดือนก.พ. ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา) โดยปริมาณ การทาธุรกรรมน่าจะเบาบางเนื่องจากอยู่ในช่วงวันหยุดยาว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ