รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 12 เมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 12, 2012 15:03 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 12 เมษายน 2555

Summary:

1. ครม.ไฟเขียวปรับ เงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท เผยใช้งบ 6.6 พันล้านบาท เพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวไปก่อนในปีงบฯ 2556-2557

2. กระทรวงการคลังเสนอขยายเวลาลดภาษีรถยนต์คันแรกถึงสิ้นปีนี้

3. ADB ปรับลดคาดการณ์จีดีพีกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่โตเพียง ร้อยละ 6.9

Highlight:
1. ครม.ไฟเขียวปรับ เงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท เผยใช้งบ 6.6 พันล้านบาท เพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวไปก่อนในปีงบฯ 2556-2557
  • เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนแห่งชาติ เปิดเผยว่า การปรับปรุงค่าตอบแทนข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่ ก.พ. เสนอให้กาหนดอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามนโยบายรัฐบาลในอีก 2 ปีถัดไป โดยให้อัตราเงินเดือนแรกบรรจุขั้นต่า ปีที่ 1 เท่ากับ 13,000 บาท ส่วนปีที่ 2 เท่ากับ 15,000 บาท สาหรับข้าราชการปริญญาตรีที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาทก่อน 1 ม.ค. 47 รัฐบาลจะจัดสรรค่าครองชีพชั่วคราวชดเชยให้ในส่วนที่เหลือ ในขณะที่ข้าราชการประเภทอื่นและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะมีการปรับเงินเดือนชดเชยตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และหลักการเดียวกัน ซึ่งมีผลบังคับใช้ภายใน 2 ปี ทั้งนี้ การปรับเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีผลบังคับใช้ปีที่ 1 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 56 และปีที่ 2 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 57
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการเป็นอีกนโยบายหนึ่งของรัฐบาลที่ต้องการให้ข้าราชการมีรายได้จากการทางานที่มั่นคงขึ้น ทั้งนี้ การขึ้นเงินเดือนข้าราชการจะส่งผลให้ผู้มีความสามารถเข้าสู่ระบบราชการมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการจาเป็นต้องดาเนินการควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการ พร้อมกับควบคุมค่าใช้จ่ายประจา (Current expenditure) โดยรวมของรัฐบาลที่มีสัดส่วนค่อนสูง คิดเป็นร้อยละ 77.3 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจาปี 55 (2.38 ล้านล้านบาท) เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการคลังในอนาคตต่อไป
2. กระทรวงการคลังเสนอขยายระยะเวลาลดภาษีรถยนต์คันแรกถึงสิ้นปีนี้
  • นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาล คาดว่าจะมีผู้ขอใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันกว่าหนึ่งหมื่นราย ประกอบกับได้รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับ การส่งมอบรถยนต์ที่อาจจะไม่ทันภายใน 31 ธ.ค. 55 ตามที่โครงการฯ กาหนดไว้ ดังนั้น กระทรวงการคลัง จึงจะนาเรื่องขอขยายระยะเวลาโครงการฯ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาประมาณเดือน พ.ค. โดยมีแนวทาง ที่สามารถดาเนินการได้ 2 แนวทาง คือ ขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการฯ จาก 31 ธ.ค.55 ไปอีก 6 เดือน — 1 ปี ตามความเหมาะสม หรือปรับเงื่อนไขจากเดิม ผู้ใช้สิทธิ์จะต้องส่งมอบรถยนต์ และโอนทะเบียนภายใน 31 ธ.ค. 55 เป็นจองซื้อรถยนต์ภายใน 31 ธ.ค. 55 ซึ่งเห็นว่า แนวทางที่ 2 น่าจะมีความเหมาะสม เนื่องจากปัญหาสายการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีปัญหาได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทาให้เกิดความล่าช้าในการส่งมอบ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า โครงการฯ มีเป้าหมายเพื่อช่วยกลุ่มคนรายได้ปานกลางและรายได้น้อย ที่ต้องการซื้อรถยนต์คันแรก โดยการคืนภาษีสรรพสามิตตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 1 แสนบาท และมีหลักเกณฑ์เงื่อนไขว่า รถยนต์ราคาขายปลีกไม่เกิน 1 ล้านบาท/คัน ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติมเตร เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ และจะจ่ายเงินให้ เมื่อครบกาหนด 1 ปีไปแล้ว ทั้งนี้ มาตรการนี้ยังจะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตน้าท่วม สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในหมวดยานยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 54 หดตัวกว่าร้อยละ 61.6 ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มโครงการรถยนต์คันแรกมีผู้ขอใช้สิทธิ์รถยนต์คันแรกไปแล้วจานวนกว่า 16,838 คัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถยนต์นั่งกว่าร้อยละ 71.0 และที่เหลือเป็นรถปิคอัพ
3. ADB ปรับลดคาดการณ์จีดีพีกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่โตเพียง ร้อยละ 6.9
  • ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่า ในปี 55 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ของประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย (อาทิเช่น เกาหลีใต้ จีน อินเดีย มาเลเซีย และไทย เป็นต้น) จะชะลอตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.9 จากที่เคยประมาณการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ย. 54 ว่า GDP ประเทศในกลุ่มนี้ จะขยายตัวร้อยละ 7.5 อีกทั้งเอดีบี ยังประเมินว่า GDP ประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (รวม 45 ประเทศ ที่กาลังพัฒนา หรือประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย) จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.3 ในปี 56
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ผลการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยตามรายงานของ ADB พบว่า เศรษฐกิจไทยในปี 55 และ 56 คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี อัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 3.4 และ 3.3 ต่อปี และดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ -0.5 ของ GDP ตามลาดับ ทั้งนี้ ตัวแปรทางเศรษฐกิจสาคัญที่ ADB ประเมินสาหรับเศรษฐกิจไทยคือ นโยบายการฟื้นฟูหลังน้าท่วมที่จะก่อให้เกิดการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ ผลคาดการณ์เศรษฐกิจของ ADB ใกล้เคียงกับตัวเลขของ สศค. ที่คาดว่าในปี 55 GDP ของประเทศไทยจะขยายตัวร้อยละ 5.5 (โดยในช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5.0 — 6.0) และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปร้อยละ 3.6 (โดยในช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.1 — 4.1)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ