รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 20 เมษายน 2555

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday April 20, 2012 12:21 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 20 เมษายน 2555

Summary:

1. ส.อ.ท. เผยส่งออกรถยนต์ มี.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 4.89

2. ตลท. เผยปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันในไตรมาสแรกของปี 55 เฉลี่ยอยู่ที่ 31,252 ล้านบาท

3. มูลค่าการส่งออกญี่ปุ่นเดือน มี.ค.55 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 12 เดือน

Highlight:
1. ส.อ.ท. เผยส่งออกรถยนต์ มี.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 4.89
  • โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าในเดือนมี.ค.55 ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป อยู่ที่ 89,815 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.89 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ในช่วงไตรมาสแรกของปี 55 มียอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 220,721 คัน หดตัวร้อยละ -5.84 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปริมาณการส่งออกรถยนต์ในเดือนมี.ค.55 ที่เริ่มกลับมาขยายตัวเป็นบวกเป็นสัญญาณอันดีที่บ่งชี้ถีงการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตอุทกภัยในไตรมาสที่ 4 ปี 54 โดยอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มส่งสัญญาณบวกตั้งแต่เดือนม.ค.55 ที่การหดตัวของการผลิตยานยนต์เริ่มชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าก่อนจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือนก.พ. 55 อีกทั้งอัตราการใช้กาลังการผลิต (Capacity utilization) อยู่ในระดับสูงที่ 97.0 จุดในเดือนก.พ.55 ทั้งนี้ โรงงานผลิตรถยต์ค่ายฮอนด้า ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานผลิตรถยนต์รายใหญ่ในไทย ได้เปิดดำเนินการอีกครั้งในช่วงต้นเดือน เม.ย.55 ที่ผ่านมาหลังจากพักการผลิตไปหลายเดือน จึงมีความเป็นไปได้สูงว่าตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมหมวดสินค้ายานยนต์จะดีขึ้นต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 2 ของปี 55 นี้
2. ตลท. เผยปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันในไตรมาสแรกของปี 55 เฉลี่ยอยู่ที่ 31,252 ล้านบาท
  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปืดเผยผลการดำเนินงานที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 55 ดังนี้ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นต่อวันอยู่ที่ 31,252 ล้านบาท และการซือ้ ขายในตลาดอนุพันธ์ต่อวันเฉลี่ยอยู่ที่ 35,101 สัญญา ด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ มีบริษัทและหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนรวมมูลค่าตามราคาตลาดทัง้ สิน้ 22,765 ล้านบาท ถือว่าผลการดำเนินงานดังกล่าวบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้นอกจากนี้ ตลท.ยังมีแผนเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับภูมิภาคอาเซียนให้มากขึ้นด้วย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ผลการดาเนินงานตลาดหลักทรัพย์ของ ตลท.ในไตรมาสแรก ของปี 55 นี้คล้ายคลึงกับผลการดำเนินงานในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ต่างกันตรงที่ในปีนี้การเข้าซื้อสุทธิของต่างชาติตั้งแต่ต้นปี มีปริมาณมากถึง 80,833.62 ล้านบาท (YTD ณ วันที่ 18 เม.ย.55) มากกว่าปี ก่อนที่ต่างชาติซื้อสุทธิสะสม 19,224.41 ล้านบาท (ณ วันที่ 18 เม.ย.51)ชี้ให้เห็นว่าการซื้อขายปริมาณมากในตลาดหุ้นและตลาดอนุพันธ์นั้นมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศมหาอานาจ อาทิ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปในช่วงไตรมาสแรกของปี55 อีกทั้งมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางยุโรป หรือ LTRO ทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดภูมิภาครวมทั้งไทยมากขึ้นเพื่อทำกาไรและลดความเสี่ยงจากความผันผวนดังกล่าว อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจากวิกฤตอุทกภัยภายในประเทศช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศให้กลับเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินของไทยอีกครั้ง
3. มูลค่าการส่งออกญี่ปุ่นเดือน มี.ค.55 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 12 เดือน
  • มูลค่าการส่งออกญี่ปุ่นเดือน มี.ค.55 ขยายตัวสูงกว่าคาดการณ์ของตลาด และสูงสุดในรอบ 12 เดือน ที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงที่ -1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับคาดการณ์เศรษฐกิจขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ปรับประมาณการเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 55 ขึ้นเป็นร้อยละ 2.0 จากเดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 0.4
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ฝ่ายเลขาฯ วิเคราะห์ว่าการส่งออกญี่ปุ่นที่ขยายตัวเร่งขึ้นในเดือน มี.ค.55 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานต่ำในปี ก่อนหน้าจากภัยพิบัติสึนามิ ทั้งนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจากมหาอุทกภัย โดยเฉพาะในส่วนของภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 55 น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสาคัญที่ทาให้การส่งออกญี่ปุ่นขยายตัวเร่งขึ้นเนื่องจากไทยต้องนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรเพิ่มเติมเป็นจำนวนมากเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ได้รับความเสียหายในช่วงอุทกภัย โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศหลักของไทยในการนาเข้าเครื่องจักรดังกล่าว นอกจากนี้เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ ยอดค้าปลีกในเดือน ก.พ.55 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อนหน้าสะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี55 จะขยายตัวร้อยละ 2.0 หรือที่ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.5 - 2.5 (ประมาณการ ณ เดือนมี.ค.55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ