ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้
1. คำสั่งซื้อเครื่องจักรประจำเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
2. นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นหารือในประเด็นการทาความตกลง Economic Partnership Agreement กับนายกรัฐมนตรีมองโกล
3. ที่ประชุม Bank of Japan มีมติเห็นชอบให้เพิ่มวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและยืดระยะเวลานโยบายออกไปอีกเป็นเวลา 2 ปี
4. ญี่ปุ่นขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมกราคม 2555 เท่ากับ 437.3 พันล้านเยน
-----------------------------------
Cabinet Office ได้เปิดเผยว่าคาสั่งซื้อเครื่องจักรประจาเดือนมกราคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน เป็นผลมาจากการลงทุนในการผลิตเครื่องโทรศัพท์ Smartphone
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555 นาย Yoshihiko Noda นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้พบปะหารือกับนาย Sukhbaataryn Batbold นายกรัฐมนตรีประเทศมองโกล ณ ทำเนียบรัฐบาลญี่ปุ่นในประเด็นการทำความตกลง Economic Partnership Agreement (EPA) ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการที่ญี่ปุ่นจะให้ความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ที่มีถ่านหินของประเทศมองโกลซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในโลก เนื่องจากมองโกลเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติ เช่นถ่านหินและ uranium รวมทั้ง rare earth element เป็นจานวนมากแต่ยังขาดความรู้ทางเทคนิค จึงต้องการความร่วมมือด้านเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อจะนาไปพัฒนาระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการลงนามในความเห็นชอบในการสนับสนุนทางการเงินจากญี่ปุ่นเพื่อการปรับปรุงระบบการแพทย์และประกันของประเทศมองโกลเป็นจำนวน 1.55 พันล้านเยน รวมทั้งเงินอีกจำนวน 11.9 พันล้านเยนเพื่อนาไปซื้อรถดับเพลิงอีกเป็นด้วย
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ที่ประชุมนโยบายทางด้านการเงินของธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan: BOJ) ได้มีมติลงความเห็นชอบในแผนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจซึ่งมีสาระสาคัญ คือ การเพิ่มวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่สถาบันการเงินเอกชนเพื่อนาไปปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่าแก่บริษัทเอกชนเพื่อสนับสนุนการเพิ่มเงินทุนตามนโยบายเสริมสร้างความแข็งแกร่งพื้นฐานในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดย BOJ ได้ประกาศเพิ่มวงเงินกู้เป็น 5.5 ล้านล้านเยนจากเดิมที่มีจานวน 2 ล้านล้านเยน โดยวงเงินจานวน 1 ล้านล้านเยนจะนาปล่อยกู้ให้แก่บริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมธุรกิจภาคการผลิตของญี่ปุ่นในต่างประเทศรวมทั้งจะปล่อยกู้ให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอีกเป็นจานวน 5 แสนล้านเยนของวงเงินทั้งหมด และยังได้ขยายกาหนดปิดรับคาร้องยื่นขอเงินกู้ดังกล่าวออกไปอีกเป็นเวลา 2 ปีจนถึงช่วงเดือนมีนาคม 2557 นอกจากนี้ BOJ ยังได้ทาการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระหว่างร้อยละ 0-0.1 ต่อไปอีกด้วย
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นประสบภาวะขาดดุลดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมกราคม 2555 มีมูลค่าเท่ากับ 437.3 พันล้านเยน ซึ่งเป็นยอดขาดดุลมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2528
โดยยอดขาดดุลการค้ามีมูลค่าเท่ากับ 1.3816 ล้านล้านเยน ซึ่งยอดการส่งออกลดลงร้อยละ 8.5 อยู่ที่ 4.3536 ล้านล้านเยน เนื่องจากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปและค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นส่งผลให้การส่งออกลดลง ในขณะที่ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 อยู่ที่ 5.7352 ล้านล้านเยน โดยปัจจัยจากราคาก๊าสธรรมชาติ (LNG) และราคาน้ามันที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้นด้วย
ญี่ปุ่นมีการขาดดุลการบริการมีมูลค่าเท่ากับ 93 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปีก่อนหน้า ส่วนยอดการเกินดุลจากรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 อยู่ที่ 1.1326 ล้านล้านเยน รายละเอียดตามตารางที่แนบ
ดุลการชาระเงินระหว่างประเทศประจาเดือนมกราคม 2555
(Balance of Payments)
หน่วย: พันล้านเยน
รายการ มกราคม 2555 มกราคม 2554 1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) -437.3 547.2 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-) (-38.0) 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance) -1,474.7 -475.3 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (210.3) (-) 1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance) -1,381.6 -399.4 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (245.9) (-) การส่งออก (Exports) 4,353.6 4,757.7 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-8.5) (2.9) การนำเข้า (Imports) 5,735.2 5,157.1 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (11.2) (15.7) 1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance) -93.0 -75.8 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income) 1,132.6 1,093.1 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers) -95.2 -70.7 2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance) 90.1 -1,590.3 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance) 36.2 -1,571.7 การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) -730.5 -264.8 การลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) 1,608.9 7,805.8 การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives) 68.2 49.9 การลงทุนอื่นๆ (Other investments) 53.9 -9,162.7 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance) 90.1 -18.6 3. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets) 41.6 362.5
สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th