รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 10 -12 เมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 17, 2012 12:47 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับเท่าเดิมต่อไป

2. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เท่ากับ 1.1778 ล้านล้านเยน

-----------------------------------

1. ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับเท่าเดิมต่อไป

คณะกรรมการนโยบายธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan: BOJ) ได้เห็นชอบที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระหว่างร้อยละ 0-0.1 ต่อไปในการประชุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในระดับดังกล่าวได้ใช้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 นอกจากนี้ BOJ ยังได้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินกู้ในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐว่า BOJ จะทาการปล่อยเงินกู้ทั้งหมด 12 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากัดวงเงินไว้ที่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อสถาบันการเงิน โดยมีอายุการกู้ยืม 1 ปี และสามารถต่ออายุได้อีก 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี ซึ่ง BOJ แสดงความเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นว่าเริ่มมีสัญญาณในการฟื้นตัวบ้างแล้ว ถึงแม้ว่า ณ ปัจจุบัน ภาวะเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงซบเซา

อย่างไรก็ตามนักลงทุนในตลาดการเงินได้ให้ความเห็นว่า BOJ ควรจะมีมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ในภาวะเงินฝืด (Deflation) มาอย่างยาวนาน

2. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เท่ากับ 1.1778 ล้านล้านเยน

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มีมูลค่าเท่ากับ 1.1778 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการเกินดุลบัญชีเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน

โดยการส่งออกยานยนต์ไปยังสหรัฐเพิ่มขึ้นส่งผลให้เป็นการดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยการเกินดุลการค้ามีมูลค่าเท่ากับ 102.1 พันล้านเยน ซึ่งลดลง 618.2 พันล้านเยนเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 2.0 อยู่ที่ 5.2477 ล้านล้านเยน เนื่องจากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปและค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นส่งผลให้การส่งออกไปยังยุโรปและเอเซียลดลง แต่การส่งออกยานยนต์ไปยังสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นทาให้ยอดการลดลงของการส่งออกน้อยลง ส่วนมูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 อยู่ที่ 5.1456 ล้านล้านเยน โดยปัจจัยจากราคาก๊าสธรรมชาติ (LNG) และราคาน้ามันที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ญี่ปุ่นมีการขาดดุลการบริการมีมูลค่าเท่ากับ 130.4 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปีก่อนหน้า เนื่องจากนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนการเกินดุลรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 อยู่ที่ 1.2430 ล้านล้านเยน รายละเอียดตามตารางที่แนบ

ดุลการชาระเงินระหว่างประเทศประจาเดือนกุมภาพันธ์ 2555

(Balance of Payments)

หน่วย: พันล้านเยน

               รายการ                                              กุมภาพันธ์ 2555        กุมภาพันธ์ 2554
1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance)                             1,177.8            1,177.8
   (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                           (-30.7)              (3.2)
 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance)                         -28.3              688.4
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                             (-)              (-3.4)
   1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance)                                        102.1              720.3
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                          (-85.8)             (-8.3)
    การส่งออก (Exports)                                                5,247.7            5,352.2
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                           (-2.0)              (9.7)
    การนำเข้า (Imports)                                                5,145.6            4,631.9
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                           (11.1)             (13.2)
   1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance)                                    -130.4              -31.9
 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income)                                  1,243.0            1,196.5
 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers)                                    -36.9             -184.1
2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance)                90.1           -1,085.2
 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance)                             36.2           -1,031.6
     การลงทุนโดยตรง (Direct Investment)                                 -730.5             -590.4
     การลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment)                          1,608.9              628.2
     การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives)               68.2             -208.7
     การลงทุนอื่นๆ (Other investments)                                      53.9             -860.6
 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance)                                   90.1              -53.6
3. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets)              41.6               63.1
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ