Macro Morning Focus ประจำวันที่ 25 เมษายน 2555
1. เปิดพิมพ์เขียวโครงการพักหนี้ไม่เกิน 5 แสน
2. กบข. เตรียมลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
3. ยอดขาดดุลงบประมาณของกรีกลดลงเหลือร้อยละ 9.1 ของ GDP ปี 54 ขณะที่ดัชนี PMI ฝรั่งเศสชี้เศรษฐกิจไตรมาส 2 ย่ำแย่
- ก.คลังเปิดพิมพ์เขียวโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย-ประชาชนผู้มีรายได้น้อยขอเข้าร่วมโครงการได้ 2 พ.ค.-20 ส.ค.55 ทั้งนี้ โครงการพักหนี้ฯได้ดำเนินการระยะแรก เมื่อวันที่ 15 พ.ย.54 ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการพักหนี้ให้กับประชาชนที่มีความเดือนร้อนเร่งด่วนและมีปัญหาการชำระหนี้โดยเน้นช่วยเหลือประชาชนที่มีหนี้คงค้างไม่เกิน 500,000 บาท โดยโครงการในระยะแรกนี้จะสิ้นสุดเมื่อวันที่ 15 เม.ย.55
- สศค. วิเคราะห์ว่า โครงการพักหนี้ฯ จะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระของผู้เป็นหนี้โดยกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนที่เป็นเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยได้รับประโยชน์จากโครงการพักหนี้ฯ เพิ่มอีก 3,758,226 ราย/บัญชี คิดเป็นมูลหนี้คงค้าง 459,113.05 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลประเมินว่าจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 04-0.7 ต่อปี หรือ 44,000 — 77,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ รัฐบาลกาหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้รับการชดเชยต้นทุนเงินจากรัฐบาล นำเงินชดเชยไปขยายวงเงินสินเชื่อใหม่สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการนี้รัฐบาลจะได้ดูแลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ 1) การขาดวินัยทางการเงินของลูกหนี้ โดยกำหนดให้ภายหลังจากลูกหนี้เข้าโครงการแล้ว หากมีการผิดนัดชาระหนี้ตามเงื่อนไขใหม่ ลูกหนี้จะต้องออกจากโครงการทันทีและ 2) การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แนะนำและติดตามการดูลการใช้เงินของลูกหนี้ที่ประหยัดได้จากการเข้าโครงการ
- เลขาธิการกองทุนบาเหน็จบานาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข. ได้เตรียมเข้าลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศในช่วงครึ่งปีหลังของปี 55 ในสัดส่วนร้อยละ 2 ของพอร์ตลงทุน หรือประมาณ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยจะเข้าไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบยุโรป สหรัฐฯ และอเมริกาเหนือหลังจากที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับลดลงมากจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงเป็นโอกาสของการลงทุนในสินทรัพย์ที่ราคาไม่สูง แต่ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ทั้งนี้กบข. ได้ตั้งเป้าผลตอบแทนไม่ต่ากว่าร้อยละ 10 ต่อปี
- สศค. วิเคราะห์ว่า นโยบายการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศโดยผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของ กบข. จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการลงทุนของไทยในต่างประเทศและสร้างผลตอบแทนการลงทุนให้มากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีเงินออมเป็นจำนวนมากจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องและทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับที่สูงมาก โดยล่าสุดดุลบัญชีเดินสะพัด ณ เดือน ม.ค.55 มีจำนวน 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือน ก.พ.55 มีจำนวน 178.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ นโยบายการลงทุนดังกล่าวยังมีส่วนช่วยลดแรงกดดันของค่าเงินบาทในปี 55 ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดค่าเงินบาท ณ วันที่ 24 เม.ย.55 อยู่ที่ 31.02 บาทต่อดอลลาร์ สหรัฐ ซึ่งเป็นการปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากต้นปี 55 ร้อยละ 1.7 และยังเป็นการปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบค่าเงินบาทในปี 54 ที่อยู่ที่ 30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (แข็งค่าขึ้นจากปี 53 ร้อยละ 4.1)
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของกรีก (เอลสแตท) เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของกรีซในปี 54 อยู่ที่ระดับร้อยละ 9.1 ของ GDP (1.96 หมื่นล้านยูโรหรือ 2.574 หมื่นล้านดอลลาร์) ลดลงจากร้อยละ 10.3 ในปีก่อนหน้าขณะที่ยอดหนี้สาธารณะอยู่ที่ 3.556 แสนล้านยูโร (4.6708 แสนล้านดอลลาร์) ในปี 54 หรือร้อยละ 165.3 ของ GDP ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตและซีดีเอฟเอ ซึ่งประมวลข้อมูลภาคบริการและภาคการผลิตประเทศฝรั่งเศสร่วงลงสู่ระดับ 46.8 ในเดือน เม.ย.55 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.54 และลดลงจาก 48.7 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งดัชนีที่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ถึงการหดตัวลง
- สศค. วิเคราะห์ว่า แนวโน้มการขาดดุลงบประมาณที่ลดลงสอดคล้องกับการประเมินของทางการกรีซและองค์กรระหว่างประเทศ ภายใต้แผนการสร้างเสถียรภาพและการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศกรีซ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขวิกฤตหนี้กรีซที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อช่ วงปลายปี 52 ทั้งนี้ กรีซจา เป็ นต้องลดยอดขาดดุลงบประมาณลงมาอยู่ที่ระดับต่ากว่า ร้อยละ 3 ของ GDP ภายในปี 58 ภายใต้แผนการปฏิรูปเชิงโครงสร้างและการปรับลดรายจ่ายครั้งใหญ่ ผ่านการใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่ได้ตกลงไว้กับบรรดาเจ้าหนี้ต่างประเทศเมื่อเดือน พ.ค.53 อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวค่อนข้างดาเนินไปด้วยความยากลาบากเนื่องจากมีการปรับลดเงินเดือนและเพิ่มภาษีอย่างรุนแรง ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศกลุ่มยูโรโซนถดถอยลงมาก สะท้อนจากเศรษฐกิจฝรั่งเศสเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง โดยได้รับผลกระทบจากการดิ่งลงของภาคบริการ และผลผลิตในภาคเอกชนที่ร่ วงลงมากที่สุดในรอบ 6 เดือน นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าผู้บริโภคกาลังชะลอการสั่งซื้อจนกว่าจะผ่านพ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งการเลือกตั้งรอบแรกมีขึ้นเมื่อวานนี้ และรอบ 2 จะมีขึ้นในวันที่ 6 พ.ค. ทั้งนี้ สศค.คาดว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหภาพยุโรปโดยรวมในปี 55 จะหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -0.9 (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค.55)
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th