รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 30 เมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 30, 2012 11:38 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 30 เมษายน 2555

Summary:

1. เสียว! ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวหลังสหรัฐฯ ลดเป้า

2. สรรพสามิตอวด 6 เดือนแรกปีงบ 55 รีดภาษีเฉียด 1.8 แสนล้านบาท

3. เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 55 ขยายชะลอลงร้อยละ 2.2 ต่อปี

Highlight:
1. เสียว! ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวหลังสหรัฐฯลดเป้า
  • กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯสหรัฐฯได้ปรับประมาณการส่งออกข้าวไทยปี 55 ลงต่ำสุดในรอบ 1 0 ปีโดยคาดว่าปีนี้จะส่งออกได้ 6.5-7 ล้านตันซึ่งการส่งออกจะทำให้ไทยเสียแชมป์ป์การส่งออกข้าวให้กับอินเดียเพราะคาดว่าอินเดียจะส่งออกข้าวปีปีนี้ได้ถึง 7 ล้านตันโดยรัฐบาลอินเดียจะไม่ชะลอการส่งออกเพราะปีนี้ผลผลิตข้าวออกมาดีและมีสต๊อกกว่า 30 ล้านตันจึงต้องเร่งโละสต๊อกเก่าออกให้หมด
  • สศค. วิเคราะห์ว่ามูลค่าการส่งออกข้าวของไทยในปี 55 มีแนวโน้มปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผลกระทบวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ในหลายพื้นที่ภาคกลาง ส่งผลให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตล่าช้าออกไปประกอบกับความเสียหายจากโรคระบาดรอบใหม่ โดยมูลค่าการส่งออกข้ข้าวของไทยไปทั่วโลกในช่วงไตรมาสแรกอยู่ที่ระดับ1,0 21.38ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -38.76 เมื่อเทีทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งการส่งออกข้าวมีสัดส่วนร้อยละ2.84ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย (ปี 54) ทั้งนี้ สศค. คาดว่ามูมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในปี 55 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ13.5 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ12.5-1 4.5(คาดการณ์ ณเดือนมีมี.ค. 55)
2. สรรพสามิตอวด 6 เดือนแรกปีงบ 55 รีดภาษีเฉียด 1.8 แสนล้านบาท
  • อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บภาษีในรอบ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (ต.ค.54-มี.ค.55) ว่า กรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บภาษีได้ 179,247 ล้านบาท โดยรายได้ภาษีที่สามารถจัดเก็บได้สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้สูงสุดจำนวน 42,9 71 ล้านบาท 2. ภาษีเบียร์จัดเก็บได้ 34,610 ล้านบาท 3. ภาษียาสูบจัดเก็บได้ 31,83 8 ล้านบาท 4. ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันจัดเก็บได้ 30,338 ล้านบาท และ 5. ภาษีสุราจัดเก็บได้ 28,4 80 ล้านบาท
  • สศค.วิเคราะห์ว่า รายได้จาสศค.วิเคราะห์ว่า รายได้จากภาษีสรรพสามิตนับเป็นรายได้ที่สำคัญของประเทศ โดยมีมูลค่าการจัดเก็บสูสูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีนิติติบุคคล ตามลำดับ ซึ่งมูลค่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.0 ของรายได้จากภาษีทุกประเภท สำหรับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 5 5 คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -21.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นสาเหตุจากภาวะน้ำท่วมในช่วงต้นปีปีงบประมาณ (ต.ค. 54 - ธ.ค. 54) ทำให้จัจัดเก็บภาษีได้น้อย ประกอบกับการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันตังแต่เดือน พ.ค. 54 ทำให้รายได้จากภาษีสรรพสามิตน้ำมัมันลดลงถึงร้อยละ 61.9 อย่างไรก็ตาม สศค.คาดว่ารายได้จากภาษีในปีงบประมาณ 55 จะสามารถเก็บได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ 1.98 ล้านบาท
3. เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 55 ขยายชะลอลงร้อยละ 2.2 ต่อปี
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานตัวเลข Real G DP ประจำไตรมาส 1 ปี 55 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาส 4 ปี 54 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ การเปิดเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกมีขึ้นเพียง 2 วันหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐในปีนี้ เป็นร้อยละ 2.4 - 2.9 จากเดิมร้อยละ 2.2 - 2.7 นอกจากนี้ เฟดยังได้ปรับลดคาดการณ์อัตราว่างงานในปี 55 ลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.8 - 8.0 จากเดิมร้อยละ 8.2 - 8.5 และยังได้ด้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปีนี้ขึ้นเป็นร้อยละ 1.8 - 2.0 จากเดิมร้อยละ 1.5 - 1.8
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ของปี 55 เป็นผลมาจาก 1) การเพิ่มขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 70.0 ของ GDP สหรัฐฯ ที่ขยายตัวเร่งขึ้นถึงร้อยละ 2.9 ต่อปีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 54 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.1 สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 76.4 ในเดือน เม.ย.55 2) ผลบวกของมาตรการสนับสนุนการจ้างงานในสหรัฐฯ 3) การเพิ่มขึ้นของการสร้างที่อยู่อาศัย และ 4) อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ อย่างไรก็ดี การเติบโตของเศรษฐกิจเป็นไปในอัตราชะลอลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการลดลงของการใช้จ่ายภาคธุรกิจ โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากภาคธุรกิจปรับลดการลงทุนและการเก็บสต๊อกสินค้า ทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 55 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.0 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือนมี.ค. 55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ