รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 23 - 27 เมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 30, 2012 12:03 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน มี.ค.55 หดตัวที่ร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3
  • การส่งออกในเดือน มี.ค.55 หดตัวร้อยละ -6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้า ขยายตัวเร่งขึ้นในระดับสูงร้อยละ 25.6
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค.55 หดตัวที่ร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 36.7
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน มี.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP เกาหลีใต้ ในไตรมาส 1 ปี 55 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 10 ไตรมาสที่ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน จัดทำโดย HSBC (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน เม.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 49.1
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯในเดือน เม.ย.55 อยู่ที่ระดับ 69.2
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Flash PMI) สหภาพยุโรป ในเดือน เม.ย.55 อยู่ที่ระดับ 47.4
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน เม.ย.55 ไว้ที่ร้อยละ 0-0.1
Indicators next week
 Indicators                          Forecast            Previous
Apr: Motorcycle Sale(%YoY)             5.0                -1.2
  • ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการผลิตและการบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มี.ค. 55 ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก.พ.55 และเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่4 ติดต่อกัน
Economic Indicators: This Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มี.ค.55 หดตัวที่ร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.4 ทั้งนี้เมื่อพิจารณาแบบ %mom (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) พบว่าหดตัวร้อยละ -4.3 โดยมีปัจจัยลบมาจากฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศที่ยังไม่สามารถกลับมาผลิตได้เต็มที่ นอกจากนี้ ในส่วนอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปได้ชะลอการผลิตจากปัจจัยการผลิต อาทิ วัตถุดิบ และค่าแรงมีราคาเพิ่มขึ้น
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) ในเดือน มี.ค.55 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 ตามการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผล และปศุสัตว์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าว และผลผลิตสุกร ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผลกระทบน้ำท่วมในช่วงปลายปีที่แล้วส่งผลให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตล่าช้าออกไป ประกอบกับความเสียหายจากโรคระบาดรอบใหม่ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวในลักษณะต่อเดือนแล้วขจัดผลทางฤดูกาลออก พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) ในเดือน มี.ค.55 หดตัวร้อยละ -8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -15.9 ตามการลดลงของราคาผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะยางพารา และมันสำปะหลัง โดยมีสาเหตุหลักมาจาก 1) ปัจจัยฐานสูงในช่วงต้นปี 54 ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่ง จากราคายางพารา และมันสำปะหลัง 2) อุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลง ตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่อย่างไรก็ตาม อัตราการหดตัวของราคาสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 55 ชะลอลงจากเดือนก่อนมาก ทำให้คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 55 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรจะกลับมาขยายตัวได้
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน มี.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 1.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.7 โดยเป็นผลมาจากระดับการลงทุนที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับภายหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน มี.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 อย่างไรก็ดี ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในไตรมาสที่ 1 หดตัวร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนจากผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยช่วงปลายปี 54
  • การส่งออกในเดือน มี.ค. 55 มีมูลค่าอยู่ที่ 19,866 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือลดลงร้อยละ -5.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว จากการลดลงของการส่งออกทองคำตามการลดลงของราคาทองคำในตลาดโลก ประกอบกับปัจจัยฐานสูงของปีที่แล้ว รวมถึงอุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอลงในประเทศจีน ญี่ปุ่น ฮ่องกงและสหภาพยุโรป ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกในเดือนนี้เป็นผลมาจากราคาส่งออกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 และปริมาณการส่งออกที่หดตัวร้อยละ -7.6 ทำให้การส่งออกในไตรมาสแรกของปี 55 หดตัวร้อยละ -3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การนำเข้าในเดือน มี.ค. 55 มีมูลค่าอยู่ที่ 24,455 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเร่งขึ้นในระดับสูงร้อยละ 25.6 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว เพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ ทองคำ และสินค้าทุนที่ใช้ในภาคโรงงานและอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นในระดับสูงของการนำเข้าเป็นผลมาจากราคานำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องร้อยละ5.2 ต่อปี และปริมาณการส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 19.5 ต่อปี ทำให้การนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 55 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 10.4 อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกที่น้อยกว่ามูลค่าการนำเข้าทำให้ดุลการค้าในเดือน มี.ค.55 ขาดดุลสูงสุดในประวัติการณ์ที่ระดับ -4,589 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งผลให้ดุลการค้าในไตรมาสแรกของปี 55 ขาดดุลอยู่ที่ระดับ -5,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค.55 มีจำนวน 4.03 หมื่นคันหรือหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูการออก(m-o-m_SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 8.6 โดยเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับกำลังการผลิตของค่ายรถยนต์ต่างๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และมีการเร่งนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากต่างประเทศ เพื่อทดแทนโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ยังไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนได้ตามปกติ ทำให้สามารถส่งมอบรถยนต์ให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้น
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค.55 มีจำนวน 7.02 หมื่นคันขยายตัวร้อยละ 36.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่3 ติดต่อกัน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 33.4 โดยได้รับปัจจัยบวกมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน จำนวน 6.17 หมื่นคันหรือขยายตัวร้อยละ 40.0 ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความนิยมอย่างต่อเนื่องในรถยนต์รุ่นใหม่ทั้งรุ่นที่เพิ่งแนะนำในปี55 และปีก่อนหน้า
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน เม.ย. 55 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการผลิตและการบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มี.ค. 55 ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก.พ.55 และเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 69.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 69.5 จุด (ตัวเลขปรับปรุง) ยอดขายบ้านมือสอง เดือน มี.ค. 55 อยู่ที่ 4.48 ล้านหลัง (annual rate) หรือลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ -2.6 (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) ในขณะที่ราคากลางบ้านปรับสูงขึ้น มาอยู่ที่ 163,800 ดอลลาร์สหรัฐ ยอดขายบ้านใหม่ และใบขออนุญาตก่อสร้าง เดือน มี.ค. 55 อยู่ที่ 654,000 หลัง และ 747,000 ใบ ตามลำดับหรือเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าแล้ว(%mom sa) จะหดตัวร้อยละ -5.8 และขยายตัวร้อยละ 4.5 ตามลำดับ
China: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม จัดทำโดย HSBC (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน เม.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 49.1 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 48.3 ส่งสัญญาณการหดตัวของภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกซึ่งเป็นสัดส่วนหลักของการคำนวณดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 48.9
Euro Zone: worsening economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Flash PMI) เดือน เม.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 47.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.1 จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Flash Mfg PMI) เดือน เม.ย. 55 ที่อยุ่ที่ระดับ 46.0 สะท้อนการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่9 ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Flash Service PMI) เดือน เม.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 47.9 โดยภาคการผลิตเริ่มส่งสัญญาณถดถอยอย่างชัดเจนในเกือบทุกประเทศสมาชิก รวมถึงประเทศเศรษฐกิจหลักอย่างเยอรมนี และฝรั่งเศส ตามอุปสงค์จากนอกประเทศที่ชะลอลงชัดเจน
Japan: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 55 ปรับตัวลดลงจากระดับ 51.1 เดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.7 จากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ที่ชะลอลงแต่อุปสงค์ภายในประเทศยังคงเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม(ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน มี.ค. 55 กลับขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 10.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ายังคงหดตัวร้อยละ-1.2 (%qoq_sa) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสำคัญอัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 55 ทรงตัวที่ร้อยละ 4.5 ของกำลังแรงงานรวม ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน เม.ย. 55 ไว้ที่ร้อยละ 0-0.1
Malaysia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน จากราคาสินค้าไม่คงทนซึ่งมีสัดส่วนการคำนวณร้อยละ 41.6 ขยายตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
Philippines: mixed signal
  • มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.2 จากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันที่สูงขึ้น ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 55 ขาดดุล 562 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Singapore: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากราคาใบรับรองสิทธิการผลิตยานพาหนะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคารถยนต์เพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 55 หดตัวร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานสูงเป็นสำคัญ
South Korea: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 1 ปี 55 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 10 ไตรมาสที่ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า จากการเร่งขึ้นอุปสงค์ในประเทศเป็นสำคัญ
Australia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ไตรมาส 1 ปี 55 ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปีมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือลดลงร้อยละ -0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) จากค่าเงินออสเตรเลียนดอลลาร์ที่แข็งขึ้นมาก โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 55 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.8 จากไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าลดลง
Taiwan: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 55 หดตัวร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากปัจจัยฐานสูง ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกในไตรมาสที่ 2 จากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
Hong Kong: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.7 มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 55 หดตัวร้อยละ -6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังจีน ยูโรโซนและสหรัฐที่ชะลอลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 55 หดตัวร้อยละ -4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานสูงเป็นสำคัญ
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสุงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เกิน 1,200 จุด และมีความผันผวนระหว่างวันสูง จากแรงซื้อของนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ โดยข่าวและเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจของต่างประเทศที่ออกมาดีน้อยกว่าที่คาดไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเท่าใดนัก ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 - 26 เม.ย. 55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -1,540 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะกลับมาปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเฉพาะในพันธบัตรช่วงอายุ 3-10 ปี โดยในช่วงกลางสัปดาห์นักลงทุนเทขายพันธบัตรระยะสั้นเพื่อรอกลับเข้าซื้อพันธบัตรชุดใหม่ที่มีการเปิดประมูลในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 - 26 เม.ย. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 4,988 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.87 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 26 เม.ย. 55 อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐร้อยละ -0.06 อย่างไรก็ตาม เงินสกุลคู่ค้าหลักโดยรวมแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นค่าเงินเยน ยูโร ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี และสิงคโปร์ดอลลาร์ ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.07
  • ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 26 เม.ย. 55 ปิดที่ 1,655 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,637 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ