รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 2, 2012 11:52 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2555

Summary:

1. แบงก์ชาติงัดมาตรการป้องกันค่าเงินบาทเตรียมรับมือ AEC

2. เงินเฟ้อ เม.ย. เพิ่มร้อยละ 2.47 ผลพวงน้ำมันแพง

3. S&P’s เผยความเสี่ยงในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิก

Highlight:
1. แบงก์ชาติงัดมาตรการป้องกันค่าเงินบาทเตรียมรับมือ AEC
  • ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในปี 58 การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของประเทศแถบอาเซียน 10 ประเทศ รวมถึงไทย จะส่งผลสำคัญต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายที่จะสามารถทำได้อย่างเสรี ทั้งนี้ข้อตกลงในเรื่องของเงินทุนเคลื่อนย้ายประกอบด้วยการพัฒนาตลาดทุนและการผ่อนคลายมาตรการเงินทุนเคลื่อนย้าย นอกจากนี้ธปท. ได้เตรียมมาตรการเพื่อรองรับความผันผวนของค่าเงินจากเงินทุนที่เคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีโดยการเพิ่มเครื่องมือบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะ Safety Valve ที่จะใช้ดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงไปจากพื้นฐานที่ควรจะเป็นมากเกินไป
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การรวมตัวเข้าร่วมเป็นสมาชิก AEC ของไทยจะช่วยให้ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพิ่มขึน้ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายแรงงานและการเงินจะเป็ นไปอย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งการเปิ ดเสรีทางด้านการเงินดังกล่าวจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีและส่งผลกระทบต่อความผันผวนของค่าเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ณ วันที่ 1 พ.ค. 55 อยู่ที่ 30.74 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็ นการปรับตัวแข็งค่าขึน้ อย่างต่อเนื่องนับจากต้นปี 55 ร้อยละ 2.5 ทั้งนี้ เสถียรภาพภายนอกประเทศของไทยอยู่ในเกณฑ์ดีและสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากดุลบัญชีเดินสะพัด ณ เดือน ก.พ.55 เกินดุลจำนวน 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือน มี.ค.55 เท่ากับ 179.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทุนสำรองฯ ต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นในเดือน ก.พ. 55 อยู่ในระดับสูงที่ 3.3 เท่า
2. เงินเฟ้อ เม.ย. เพิ่มร้อยละ 2.47 ผลพวงน้ำมันแพง
  • กระทรวงพาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไปเดือน เม.ย.55 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน 4 เดือนแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.16 ผลมาจากน้ำมันแพงและภัยธรรมชาติ โดยที่ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือน เม.ย.55 อยู่ที่ 114.78 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.42 เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.55 ส่งผลให้ CPI เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.16 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้น ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนได้จากดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เดือน เม.ย. 55 พบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.65 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และดัชนีราคาสินค้าที่ไม่ใช่หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เดือน เม.ย. 55 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.26 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าส่งผลให้ต่อปัจจัยการผลิต ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย โดยยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้ออีก เช่น ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.1-4.1 ต่อปี ) และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.8-2.8) (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 55)
3. S&P’s เผยความเสี่ยงในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิก
  • บริษัท Standard & Poor’s (S&P’s) เปิดเผยว่าประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกที่ภาครัฐให้เงินสนับสนุน (Subsidy) ด้านเชื้อเพลิงจะมีความเสี่ยงต่อการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะการให้เงินสนับสนุนด้านราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวตามตลาดน้ำมันโลก ทั้งนี้ หากสถานการณ์ราคาน้ำมันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปี ถือว่าอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงต่อการถูกปรับลดความน่าเชื่อถือ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า รัฐบาลไทยไม่ได้มีนโยบายการใช้เงินงบประมาณของประเทศเพื่ออุดหนุนสินค้าเชื้อเพลิงเช่นเดียวกับบางประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิ ก เช่น มาเลเซีย จึงทำให้ไทยไม่มีความเสี่ยงต่อการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจาก S&P’s แต่รัฐบาลไทยจะใช้การบริหาร

จัดการโดยการจัดเก็บภาษีน้ำมันจากผู้มีรายได้สูงมากกว่าผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง เช่น การจัดเก็บภาษีน้ำมันในอัตราที่สูงจากผู้ใช้น้ำมันเบนซิล 95 ซึ่งเป็ นผู้ที่มีรายได้สูง เพื่อไปชดเชยกับการจัดเก็บน้ำมันในอัตราที่ต่ำกว่าจากผู้ใช้น้ำมันเบนซิล 91 ที่มีรายได้ปานกลาง รวมถึงการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 0.025 บาท นอกจากนี้ กระทรวงการคลังมีพันธกิจต่างๆ ในการรักษาอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศให้เป็ นที่ยอมรับ โดยในปัจจุบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศของไทยตามเกณฑ์ของ S&P’s อยู่ที่ระดับ BBB+ และ A-2 ตามลำดับ โดยปัจจัยหลักที่ใช้พิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศแบ่งเป็ น 5 ภาค ได้แก่ ภาคเศรษฐกิจ ภาคการเมือง ภาคการคลัง ภาคการเงิน และภาคดุลต่างประเทศ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ