รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 4 พฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 4, 2012 10:49 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 4 พฤษภาคม 2555

Summary:

1. บ้านมือสองในไตรมาสที่ 1 ปี 55 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า

2. S&P ปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือกรีซ

3. ยอดค้าปลีกฮ่องกง เดือน มี.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

Highlight:
1. บ้านมือสองในไตรมาสที่ 1 ปี 55 ปรับตัวดีขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้า
  • สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เปิดเผยสถานการณ์ตลาดบ้านมือสองในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมาว่ายอดขายโดยรวมเติบโตจากไตรมาส 4 ของปี ที่แล้วเล็กน้อย และลูกค้ามีการตัดสินใจซือ้ ได้ง่ายขึน้ กว่าช่วงไตรมาสที่ 4 อย่างไรก็ดี แม้ว่าสถานการณ์จะดีขึน้ แต่ยังไม่ดีเท่ากับช่วงสถานการณ์ปกติ ทั้งนี้จากการประเมินความสนใจของผู้บริโภค พบว่า ทาเลที่ได้รับความสนใจสูงสุดยังคงเป็นทาเลที่น้ำไม่ท่วม ตามมาด้วยทาเลที่เกิดน้ำท่วมแต่มีรถไฟฟ้าตัดผ่านหรือมีแนวโน้มจะตัดผ่านในอนาคต เช่น บางใหญ่ บางบัวทอง ทาให้ทาเลดังกล่าวราคาไม่ได้ตกเหมือนกับทาเลน้ำท่วมบริเวณอื่นๆ และเป็นสัญญาณว่าทาเลดังกล่าวจะฟื นตัวก่อนทาเลที่เกิดน้ำท่วมและไม่มีรถไฟฟ้าตัดผ่าน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากภาษีธุกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มี.ค. 55 ที่ขยายตัวดีติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 9.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากมหาอุทกภัยในไตรมาสที่ 4 ปี ก่อนหน้า ตามความเชื่อมั่นของภาคครัวเรือน และผู้ประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 55 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 มาอยู่ที่ระดับ 67.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 102.1 ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มความเชื่อมั่นของภาครัฐ อาทิ โครงการบ้านหลังแรก ทั้งในส่วนของมาตรการภาษีและมาตรการสินเชื่อ ทั้งนี้เศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี55 จะส่งผลดีต่อการขยายตัวของธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในระยะต่อไป โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทย ในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 5.5 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5.0-6.0 คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 55)
2. S&P ปรับขนึ้ อันดับความน่าเชื่อถือกรีซ
  • สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor's (S&P) ปรับขึน้ อันดับความน่าเชื่อถือของกรีซ 4 ขั้น จากเดิมที่ระดับ 'ผิดนัดชาระหนี้บางส่วน' (Selective Default: SD) สู่ระดับ CCC และมีแนวโน้ม 'มีเสถียรภาพ'(Stable outlook) หลังจากกกรีซประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเงิน ด้วยการแลกเปลี่ยนพันธบัตรรัฐบาลเดิมเป็นพันธบัตรใหม่อายุ 3 ปี
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สาเหตุสำคัญที่ S&P ปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซสู่ระดับ CCC เป็นผลมาจากความสำเร็จในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ที่ลดมูลค่าหนี้ของกรีซลงกว่าร้อยละ 53.5 และต่อเวลาให้รัฐบาลกรีซในการชำระคืนเงินต้นไปอีก 3 ปี อย่างไรก็ตาม อันดับความน่าเชื่อถือของกรีซยังคงอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงสูง (Junk grade) และเศรษฐกิจกรีซในภาคเศรษฐกิจจริงยังคงมีปัญหาเศรษฐกิจถดถอย และมีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 21.7 ของกาลังแรงงานรวม โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ ณ เดือน เม.ย. 55 ว่าในปี 55 นี้ เศรษฐกิจกรีซจะหดตัวสูงถึงร้อยละ -4.7
  • ทั้งนี้ ล่าสุด ณ สนิ้ ไตรมาส 3 ปี 54 ระดับหนี้สาธารณะของกรีซยังคงสูงถึงร้อยละ 159.1 ของ GDP ทำให้คาดการณ์ได้ว่ารัฐบาลกรีซชุดใหม่ที่กาลังจะเข้ามาบริหารประเทศจะยังคงต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัดต่อไป กล่าวคือ ลดงบประมาณรายจ่าย เพิ่มการจัดเก็บรายได้ แปรรูปรัฐวิสาหกิจและขายสินทรัพย์อื่นๆของรัฐ เพื่อนำเงินมาใช้ชาระหนี้และลดระดับหนี้สาธารณะ และน่าจะทา ให้เศรษฐกิจกรีซในภาคเศรษฐกิจจริงยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง
3. ยอดค้าปลีกฮ่องกง เดือน มี.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ยอดค้าปลีกฮ่องกง เดือน มี.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) เนื่องจากยอดค้าปลีกในหมวดสินค้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่มห่ม และเครื่องประดับขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 15.7 และ 19.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ยอดค้าปลีกฮ่องกงในเดือน มี.ค.55 ที่ขยายตัวเร่งขึ้นนั้นเป็นผลมาจากปริมาณการซื้อที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนกาลังซื้อของประชาชนและการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงแข็งแกร่ง สอดคล้องกับอัตราการว่างงานในเดือน มี.ค.55 ที่ยังคงทรงตัวที่ระดับต่อที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม อีกทั้งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในฮ่องกงที่ขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้การบริโภคภาคเอกชนของฮ่องกงเป็ นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจฮ่องกง โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 63.0 ของ GDP (สัดส่วนปี 53) ยอดค้าปลีกที่ขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาส 1 ปี 55 ที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อน จึงเป็ นเครื่องบ่งชี้ว่า การบริโภคภาคเอกชนของฮ่องกงมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 1 ปี 55 ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 55 ว่า เศรษฐกิจฮ่องกงในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 4.0

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ