รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 16 - 20 เมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 9, 2012 11:35 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ประเทศญี่ปุ่นขาดดุลการค้าสูงสุดเป็นประวัติการในปีงบประมาณ 2554

2. ญี่ปุ่นจะมอบเงินให้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

-----------------------------------

1. ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าสูงสุดเป็นประวัติการในปีงบประมาณ 2554

กระทรวงการคลังเปิดเผยว่าในปีงบประมาณ 2554 ประเทศญี่ปุ่นขาดดุลการค้าเท่ากับ 4.4101 ล้านล้านเยน โดยการส่งออกลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณปีที่แล้วอยู่ที่ 65.2819 ล้านล้านเยน เนื่องจากการผลิตยานยนต์ลดลงหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2554 และในช่วงหลัง 2554 ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงและเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกลดลง การส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 7 อยู่ที่ 12.4805 ล้านล้านเยน ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 อยู่ที่ 69.6920 ล้านล้านเยน เนื่องจากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ (LNG)เพื่อผลิตไฟฟ้าทดแทนในส่วนที่มีการปิดโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วประเทศเป็นจำนวนมากจนทำให้ยอดการนำเข้านั้นเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่าการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ (LNG) เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 อยู่ที่ 5.4 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มูลค่าการที่นำเข้าเพิ่มขึ้นทำให้ผลสุดท้ายมีการขาดดุลการค้า 4.4101 ล้านล้านเยน

                             ดุลการค้าประจำปี 2554                      หน่วย: พันล้านเยน
                      ยอดการส่งออก (ร้อยละ)     ยอดการนำเข้า (ร้อยละ)     ดุลการค้า (ร้อยละ)
สหรัฐฯ                     10,321.9 (-0.8)        6,019.5   (2.3)      4,302.4  (-4.8)
สหภาพยุโรป                  7,438.5 (-3.6)        6,519.0  (10.8)        919.4 (-49.8)
เอเชีย (รวมจีน)             36,121.9 (-5.4)       30,903.4   (9.0)      5,218.5 (-46.9)
สาธารณรัฐประชาชนจีน         12,480.5 (-6.9)       14,782.5   (6.8)     -2,302.0 (415.4)
รวม                       65,281.9 (-3.7)       69,692.0  (11.6)     -4,410.1
ที่มา:  กระทรวงการคลังญี่ปุ่น


2. ญี่ปุ่นจะมอบเงินให้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
          นาย Jun Azumi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นประกาศว่าญี่ปุ่นจะมอบเงินให้แก่ กอนทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) 6 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใชช่วยแก้ไขสถานการณ์การเงินในยุโรป ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดในบรรดาประเทศ G20 และและเป็นชาติแรกนอกประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรที่เสนอจะมอบเงินให้แก่ IMF นาย Azumi ได้กล่าวว่าการเพิ่มขีดความสามารถในการให้กู้ของ IMF และการแก้ไขปัญหาวิกฤติความน่าเชื่อถือของยุโรปเป็นเรื่องที่สาคัญสาหรับญี่ปุ่นและเอเซีย รวมถึงประเทศที่ใช้เงินสกุลยุโรด้วย ทั้งนี้ในการประชุมรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารของกลุ่ม G20 ชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมคาดว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ว่า IMF จะสามารถเพิ่มแหล่งเงินสำหรับความช่วยเหลือได้มากกว่ามูลค่า 430 พันล้านเยน ซึ่งมากกว่าที่คาดไว้เดิม

                     จำนวนเงินที่มอบเงินให้แก่ IMF
สหภาพยุโรป            ประมาณ 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 16 ล้านล้านเยน)
ญี่ปุ่น                  60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.8 ล้านล้านเยน)
เกาหลี                15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.2 ล้านล้านเยน)
ซาอุดีอาระเบีย          15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.2 ล้านล้านเยน)
ประเทศอังกฤษ          15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.2 ล้านล้านเยน)
สวีดิช                 มากกว่า 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ 810 พันล้านเยน)
เซอร์แลนด์             12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ 810 พันล้านเยน)
นอร์เวย์               ประมาณ 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 750 พันล้านเยน)
โปแลนด์               ประมาณ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ 650 พันล้านเยน)
ออสเตรเลีย            7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 570 พันล้านเยน)
เดนมาร์ก              ประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 570 พันล้านเยน)
สิงคโปร์               4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 320 พันล้านเยน)
สาธารณรัฐเช็ก          ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 160 พันล้านเยน)
ประเทศอื่นๆ            ไม่ระบุจำนวนเงิน
รวม                  มากกว่า 430 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 35 ล้านล้านเยน)

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ