รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 10 พฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 10, 2012 11:00 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 10 พฤษภาคม 2555

Summary:

1. อัตราเงินเฟ้อครึ่งปีหลังของปี 2555 ยังปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

2. พาณิชย์บุกเวียดนาม ตั้งเป้าขยายการค้าปี 55 โตกว่า15%

3. สเปนเตรียมอัดฉีดเงินล้านเพื่ออุ้มแบงก์เกีย

Highlight:
1. อัตราเงินเฟ้อครึ่งปีหลังของปี 2555 ยังปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
  • ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค บริษัทศูนย์วิจัยกสิกร บอกถึงทิศทางอัตราเงินเฟ้อของไทยในปีนี้ว่า มีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจปรับตัวขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 4 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็อาจเข้าใกล้ระดับระดับร้อยละ 3 ซึ่งเป็นกรอบบนของเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ร้อยละ 0.5 - 3.0 นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ จะส่งผลต่อการกาหนดนโยบายการเงินของ ธปท. ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ท่ามกลางแรงกดดัน ที่มีต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ ทั้งที่มาจากการเพิ่มสูงขึ้นของค่าจ้างแรงงาน ค่าไฟฟ้า และราคาพลังงานและวัตถุดิบบางประเภท
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดในเดือนเม.ย.55 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.47 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.42 เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารสาเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.7 และราคาสินค้าในหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิงฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปี 55 ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ แนวโน้มราคาพลังงานและค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ สศค.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.1 - 4.1 ต่อปี) ในขณที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.8 - 2.8) (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 55)
2. พาณิชย์บุกเวียดนาม ตั้งเป้าขยายการค้าปี 55 โตกว่า15%
  • กรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ จะจัดคณะผู้แทนการค้าและการลงทุนเยือนกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อขยายโอกาสการค้า การลงทุนของไทยสู่เวียดนาม โดยจะจัดพบปะคู่ค้าลักษณะการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับผู้ซื้อ ผู้นาเข้าของเวียดนาม และศึกษาช่องทางการขยายตลาดในสินค้าและบริการ ที่ไทยมีศักยภาพและกาลังเป็นที่ต้องการของเวียดนามในขณะนี้ ได้แก่ อาหารและผลไม้แปรรูป อาหารทะเล สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจาวัน สิ่งทอ เสื้อผ้าสาเร็จรูป รองเท้า กลุ่มรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนพลาสติก วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเลียม เป็นต้น และในภาคบริการที่มีศักยภาพ ได้แก่ ร้านอาหารไทย สปาและธุรกิจเสริมความงาม ท่องเที่ยว การศึกษา ขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น สาหรับปี 55 คาดว่าการค้าระหว่างไทยและเวียดนามจะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกไม่ต่ากว่า 15%
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ประเทศเวียดนามถือเป็นเป็นประเทศคู่ค้าสาคัญของไทย โดยในปี 54 ไทยและเวียดนามมีมูลค่ารวม 274.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.80 โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 212.7 พันล้านบาท และการนาเข้า 61.9 พันล้านบาท สินค้าส่งออกสาคัญ ได้แก่ น้ามันสาเร็จรูป เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เหล็ก ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่สินค้านาเข้าจากเวียดนาม ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องจักร เหล็ก ด้ายและเส้นใย น้ามันดิบ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การที่ไทยขยายตลาดส่งออกไปเวียนนามมากขึ้นจะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการภาครวมสาหรับในปี 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 13.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 12.5-14.5 ต่อปี คาดการณ์ ณ เดือนมี.ค.55)
3. สเปนเตรียมอัดฉีดเงินล้านเพื่ออุ้มแบงก์เกีย
  • รัฐบาลสเปนเตรียมอัดฉีดเงิน 7,000 ถึง 10,000 ล้านยูโร หรือราว 2 แสน 1 หมื่นล้านบาทถึง 4 แสนล้านบาท เพื่อเพิ่มทุนให้แก่ธนาคาร "แบงเกีย" ธนาคารใหญ่อันดับ 3 ของสเปนเมื่อวัดจากสินทรัพย์ ซึ่งกาลังมีปัญหาหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ นายกรัฐมนตรีมาเรียโน่ ราจอยของสเปน กล่าวถึงการกลับลานโยบายครั้งใหญ่ของสเปนในครั้งนี้ว่า รัฐบาลกาลังพิจารณาจะแทรกแซงภาคการธนาคารของสเปน ด้วยการอัดฉีดเงินงบประมาณซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชน เข้าสู่ภาคธนาคาร ทั้งนี้เพื่อปกป้องระบบการเงินของสเปน เช่นเดียวกับที่รัฐบาลชาติยุโรปอื่นๆ ทามาแล้ว อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ สเปนเคยยืนยันว่า รัฐบาลไม่จาเป็นต้องอัดฉีดเงินเข้าสู่ภาคการธนาคาร แม้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เคยกล่าวเตือนว่า ธนาคารแบงเกียเป็นธนาคารที่มีความเสี่ยงสูงสุด ต่อเสถียรภาพของภาคการธนาคารของสเปน ด้านนายร้อดดริโก ราโต ประธานธนาคารแบงเกีย และอดีตรัฐมนตรีคลังสเปน ประกาศลาออกทันที หลังมีข่าวรัฐบาลจะแทรกแซงแบงเกีย ทาให้แบงเกียได้รับผลกระทบจากฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสเปน ซึ่งทาให้เกิดหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์สูงสุดในรอบ 18 ปีในสเปน ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ในขณะที่เศรษฐกิจสเปนเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 ปี
  • สศค.วิเคราะห์ว่า ปัญหาวิกฤตหนี้ภาครัฐของสเปนเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ปี 50 จากร้อยละ 36.1 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 68.5 ต่อจีดีพีในปี 54 ทาให้เศรษฐกิจของสเปนหดตัวลง สะท้อนจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปี 55 ที่หดตัวลงร้อยละ -0.3 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.4 ซึ่งถือเป็นการหดตัวติดต่อกันใน 2 ไตรมาส ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มสูงชึ้น โดยผู้ว่างงานในเดือน มี.ค.55 มีจานวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 ปัญหาดังกล่าวเกิดจากวิกฤตหนี้สาธารณะทาให้ บริษัท สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารสเปนทั้งหมด 11 ธนาคารด้วยกันรวมถึงลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลง 2 ขั้นสู่ระดับ BBB เนื่องจากเศรษฐกิจสเปนมีความเสี่ยงจากภาคธุรกิจธนาคารที่อ่อนแอ ทั้งนี้ รัฐบาลสเปนมีแผนช่วยแบ่งเบาภาระของภาคธุรกิจธนาคาร โดยการเปิดให้ธนาคารสามารถโยกย้ายหนี้เสียเข้าสู่กองทุนภายใต้การดูแลของรัฐบาล ซึ่งอาจจะส่งผลดีต่อภาคการเงิน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ