รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 16, 2012 11:58 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2555

Summary:

1. กรมบัญชีกลางเร่งเบิกจ่ายงบเยียวยาน้ำท่วม

2. สถาบันอาหารเผยปี 54 ไทยส่งออกกว่า 2 หมื่นล้าน แนะใช้ประโยชน์ AEC

3. ยูโรกรุ๊ปปฏิเสธข่าวให้ประกาศกรีซออกจากยูโรโซน

Highlight:

1. กรมบัญชีกลางเร่งเบิกจ่ายงบเยียวยาน้าท่วม

  • อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจาปี 55 ตั้งแต่เดือน ต.ค. 54 — 11 พ.ค. 55 เบิกจ่ายได้รวม 1,353.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 61.5 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.6 โดยรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายแล้ว 140.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 34.4 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 1.6 และรายจ่ายประจาเบิกจ่ายแล้ว 1,213.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 61.5 สาหรับการเบิกจ่ายงบกลาง และรายการค่าใช้จ่ายในการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ เบิกจ่ายแล้ว 55.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 46.4 ของวงเงิน 120.0 พันล้านบาท ที่ได้รับอนุมัติ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีมาตรการในการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 55 ที่มีกรอบวงเงินงบประมาณอยู่ที่ 2.38 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ โดยให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งก่อหนี้ผูกพันรายจ่ายลงทุนทั้งในส่วนของโครงการปีเดียวและโครงการผูกพันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 3 เดือน หลังจากได้รับจัดสรรงบประมาณ และให้นาผลการเบิกจ่ายตามเป้าหมายที่กาหนดมาเป็นตัวชี้วัดในคารับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ในด้านการเบิกจ่ายอื่นๆ เช่น รายจ่ายลงทุน พบว่า หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสูงสุดและสูงกว่าเป้าหมาย จานวน 3 แห่ง คือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเบิกจ่ายแล้ว 96.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 77.5 ของงบลงทุนที่ได้รับอนุมัติ รองลงมาคือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช และสานักงานตารวจแห่งชาติ ที่สามารถเบิกจ่ายได้ร้อยละ 52.8 (656.4 ล้านบาท) และ 45.3 (1,311.0 ล้านบาท) ของงบลงทุนที่ได้รับอนุมัติ ตามลาดับ ทั้งนี้ สศค. คาดว่า ในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ 55 รัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายอย่างน้อยที่ร้อยละ 93.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 55 (2.38 ล้านล้านบาท)
2. สถาบันอาหารเผยปี 54 ไทยส่งออกกว่า 2 หมื่นล้าน แนะใช้ประโยชน์ AEC
  • ผู้อานวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ในปี 54 ไทยนาเข้าสินค้าอาหารจากพม่ามีมูลค่าราว 2,454 ล้านบาท ลดลงจากปี 53 ที่นาเข้า 3,121 ล้านบาท ขณะที่การส่งออกสินค้าอาหารไปพม่า สูงเป็นอันดับ 4 เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ภายหลังโครงการก่อสร้างท่าเรือน้าลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายแล้วเสร็จ จะทาให้เมืองทวายของพม่ากลายเป็นศูนย์กลางการค้าเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา ทั้งนี้ ไทยควรใช้จุดแข็งของพม่า โดยเฉพาะด้านวัตถุดิบ รวมทั้งค่าจ้างแรงงานที่ต่า และใช้โอกาสจากนโยบายการเปิดประเทศของพม่า ปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในการนาเข้าวัตถุดิบ รวมทั้งการเข้าไปลงทุนในพม่า ซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพการค้าการลงทุนของผู้ประกอบการไทยให้ดียิ่งขึ้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ประเทศไทยถือเป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ 2 ของ พม่า รองจากจีน โดยปี 54 มีมูลค่าค้าขายทั้งสิน 1.85 แสนล้านบาท แม้ว่าไทยจะอยู่ในสถานะขาดดุลการค้า เพราะมีการนาเข้าสินค้าหลักที่สาคัญคือก๊าซธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าไทยไปพม่าก็มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าส่งออกที่สาคัญ ได้แก่ น้ามันสาเร็จรูป เครื่องจักรกล เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ จึงเป็นโอกาสดีที่จะขยายการค้าการลงทุนของไทยไปในพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 จะนาไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมของภูมิภาค พม่าก็จะยิ่งเป็นหนึ่งในตลาดแถบอาเซียนที่น่าสนใจมากขึ้น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการภาครวมสาหรับในปี 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 13.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 12.5-14.5 ต่อปี คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 55)
3. ยูโรกรุ๊ปปฏิเสธข่าวให้ประกาศกรีซออกจากยูโรโซน
  • ยูโรกรุ๊ปได้ปฏิเสธข่าวเกี่ยวกับการที่กรีซจะออกจากยูโรโซน และระบุถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการผ่อนคลายเงื่อนไขในมาตรการช่วยเหลือบางส่วน หากกรีซยืนยันที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาที่ให้ไว้ตามแผนรับเงินช่วยเหลือ ทั้งนี้ นายยุงค์เกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ป กล่าวว่า กรีซไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากปฏิบัติตามเงื่อนไขของแผนให้ความช่วยเหลือทางการเงินมูลค่า 1.30 แสนล้านยูโร (1.67 แสนล้านดอลลาร์) พร้อมเน้นย้าว่ารัฐบาลผสมที่จะมีการจัดตั้งขึ้นต้องสนับสนุนแผนการช่วยเหลือทางการเงิน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ยูโรกรุ๊ปสามารถปลดกรีซให้พ้นจากสภาพการเป็นสมาชิกอียูได้ ก็ต่อเมื่อกรีซเผชิญกับเหตุการณ์สาคัญ 5 เหตุการณ์ คือ 1. ภาวะอัมพาตทางการเมือง 2. ภาวะถังแตก 3. การตั้งสกุลเงินและธนาคารใหม่ 4. ชาวกรีซหนีออกนอกประเทศ 5.ภาวะวิกฤตลุกลาม หากกรีซออกจากกลุ่มจะส่งผละกระทบเลวร้ายใหญ่หลวงต่อกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโรทั้งหมด เพราะถ้ากรีซออกจากยูโร นักลงทุนทั่วโลกจะเกิดความกังขาและไม่เชื่อมั่นต่อสกุลเงินดังกล่าวทันที จนส่งผลให้ไม่ต้องการใช้เงินยูโรในการดาเนินธุรกรรมหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจใดๆ อีกต่อไป ปัจจุบันค่าเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.282 (ณ วันที่ 15 พ.ค. 55) อ่อนค่าลงร้อยละ 0.85 นับจากต้นปี 55 ที่อยู่ระดับ 1.293

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ