รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 23 พฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 23, 2012 11:37 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 23 พฤษภาคม 2555

Summary:

1. นิด้าเตือนรัฐบาลรับมือวิกฤตหนี้ยุโรป

2. ไทยพาณิชย์คาดการณ์ GDP ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 5.6 - 5.8

3. สมาคมผู้ผลิตสิ่งทอพม่าเผยยอดส่งออกสิ่งทอปี 54 พุ่งสูงถึง 770 ล้านเหรียญสหรัฐ

Highlight:
1. นิด้าเตือนรัฐบาลรับมือวิกฤตหนี้ยุโรป
  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า แนะให้รัฐบาลติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจยุโรป อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมแผนรับมือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมา โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวจากยุโรปเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยประมาณ 6 ล้านคน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศกลุ่มยูโรโซนที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งถือเป็นความเสี่ยง ทางเศรษฐกิจที่สาคัญของประเทศไทยในปีนี้ โดยจะส่งผลกระทบผ่าน 2 ช่องทางหลัก คือ ด้านการค้า ซึ่งกลุ่มประเทศยุโรปเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับ 4 ของไทย และมูลค่าการส่งออกของไทย ไปยังยุโรปยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -15.3 ในเดือนมีนาคม 55 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ ด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวยุโรปอยู่ในสภาวะปกติ โดยจานวนนักท่องเที่ยวยุโรปขยายตัว ร้อยละ 16.7 ในเดือนมีนาคม 55 และหากพิจารณาแบบรายประเทศจะเห็นได้ว่า ประเทศสวีเดน และรัสเซียขยายตัวที่ร้อยละ 101.5 และ 20.0 ตามลาดับ โดยนักท่องเที่ยวยุโรปคิดเป็นร้อยละ 25.9 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจยูโรโซนประสบวิกฤตมากไปกว่านี้ จะก่อให้เกิดความผันผวนที่รุนแรงต่อภาคการเงินโลก ซึ่งประเทศไทยจะด้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยน
2. ไทยพาณิชย์คาดการณ์ GDP ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 5.6 - 5.8
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส ที่ 1/55 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวเร่งขึ้น และภาคการผลิตที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ แม้ว่าการใช้จ่ายภาครัฐและการส่งออกยังคงหดตัว นอกจากนี้ EIC ยังได้ประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยปี 55 ที่ร้อยละ 5.6 - 5.8 แม้ว่าจะมีปัจจัย เรื่องการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวต่ากว่าที่ได้ประมาณการ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1/55 ฟื้นตัวจากที่หดตัวร้อยละ 8.9 จากผลของอุทกภัยในไตรมาสที่แล้ว โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคของครัวเรือนดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 2.7 ขณะที่การใช้จ่ายรัฐบาลหดตัวร้อยละ 1.6 ส่วนการลงทุนรวมขยายตัว ร้อยละ 5.2 ในขณะที่ปริมาณการส่งออกหดตัวร้อยละ -3.2 ทั้งนี้ ในด้านการผลิต พบว่า ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นโดยหดตัวลดลงที่ร้อยละ -4.2 โดยหมวดอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยียังคงหดตัวที่ร้อยละ -9.4 จากผลกระทบของอุทกภัย ทั้งนี้ สศค. คาดว่า GDP ของไทยในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 5.5 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5.0 — 6.0 (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 55)
3. สมาคมผู้ผลิตสิ่งทอพม่าเผยยอดส่งออกสิ่งทอปี 54 พุ่งสูงถึง 770 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สมาคมผู้ผลิตสิ่งทอเมียนมาร์ (MGMA) เผยยอดส่งออกสิ่งทอพม่าปี 54 มีมูลค่า 770 ล้านเหรียญสหรัฐ พุ่งสูง หวิดทุบสถิติสูงสุดเมื่อปี 44 ซึ่งมียอด 829 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลัก ผลิตภัณฑ์สิ่งทอพม่าได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมันนี เกาหลีใต้ และประเทศในแถบยุโรป แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดของพม่าขยายไปยังบราซิล อาร์เจนตินา แอฟริกาใต้ และตุรกี ทั้งนี้ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่พม่าส่งออกสิ่งทอมากสุด 2 อันดับแรก คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตามลาดับ โดยปี 54 พม่าส่งออก ไปยังญี่ปุ่น คิดเป็นมูลค่า 348 ล้านเหรียญสหรัฐ รองมาคือ เกาหลีใต้ มีมูลค่า 232 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ประเทศไทยถือเป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ 2 ของ พม่า รองจากจีน โดยปี 54 มีมูลค่าค้าขายทั้งสิ้น 1.85 แสนล้านบาท การส่งออกสินค้าไทยไปพม่ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าส่งออกที่สาคัญ ได้แก่ น้ามันสาเร็จรูป เครื่องจักรกล เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ภายหลังจากที่โครงการก่อสร้าง นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้าลึกสร้างเสร็จ จะทาให้เมืองทวายของพม่ากลายเป็นศูนย์กลางการค้าเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป ทั้งนี้ จึงเป็นโอกาสดี ที่ไทยควรใช้จุดแข็งของพม่า โดยเฉพาะด้านวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงานที่ต่า และใช้โอกาส จากนโยบายการเปิดประเทศของพม่า เพื่อปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 58 ในการนาเข้าวัตถุดิบ รวมทั้งการเข้าไปลงทุนในพม่า ซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพการค้า การลงทุนของผู้ประกอบการไทยให้ดียิ่งขึ้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ