Macro Morning Focus ประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2555
Summary:
1. นายกรัฐมนตรีชี้แจงงบประมาณปี 56 เน้นเงินหมุนเวียนและวินัยการคลัง
2. เวิล์ดแบงก์คาด เศรษฐกิจไทยปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 4.5
3. บล.ภัทรหวั่นวิกฤติหนี้ยุโรปลาม ฉุดศก.สหรัฐถดถอยซ้ากระทบเศรษฐกิจโลก
Highlight:
1. นายกรัฐมนตรีชี้แจงงบประมาณปี 56 เน้นเงินหมุนเวียนและวินัยการคลัง
- นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า งบประมาณในปี 56 ที่มีการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นนั้น เป็นการนาเงินหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ เช่น การพักหนี้เพื่อให้ประชาชนมีเงินในการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งเป็นการเพิ่มกาลังซื้อ ให้ประชาชน หรือเงินจานวน 5 หมื่นล้านบาท ที่จะนาปใช้ในระบบประกันภัยก็จะเป็นการสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และเป็นทางเลือกในการให้ประกันราคาถูก อย่างไรก็ตาม การก่อหนี้เพิ่มขึ้นยังคงรักษาวินัยทางการคลัง
- สศค. วิเคราะห์ว่า การจัดทางบประมาณในปี 56 มีจานวน 2.4 ล้านล้านบาท ขาดดุลงบประมาณจานวน 3 แสนล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย รายจ่ายประจาจานวน 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 79.2 ของงบประมาณ รายจ่ายลงทุนจานวน 449.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.2 ของงบประมาณ และรายจ่ายชาระคืนต้นเงินกู้จานวน 49.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.1 ของงบประมาณ โดยเป็นรายจ่ายตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลจานวน 508.6 พันล้านบาท เช่น การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนจานวน 79.9 พันล้านบาท การยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนจานวน 69.2 พันล้านบาท และการพัฒนาระบบประกันสุขภาพจานวน 196.5 พันล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้ สศค. คาดว่า หากงบประมาณ 56 สามารถเบิกจ่าย ได้ตามประมาณการณ์ตามเอกสารงบประมาณ จะส่งผลให้ GDP ในปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.7 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5.2 — 6.2 (คาดการณ์ ณ. พ.ค. 55)
2. เวิล์ดแบงก์คาด เศรษฐกิจไทยปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 4.5
- บริษัท เวิล์ดแบงก์ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 พร้อมเตือนให้ไทยเตรียมรับมือ กับความเสี่ยงวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยขณะนี้ ไทยกาลังเผชิญหน้ากับความท้าทายเรื่อง การชะลอตัว ของเศรษฐกิจโลก และจะกระทบกับการส่งออกในปีนี้ ซึ่งไทยต้องเตรียมพร้อม โดยต้องมั่นใจว่า มีฐานะการคลังที่มั่นคงเพียงพอ ขณะเดียวกัน ต้องเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถการส่งออก ของไทยอย่างรวดเร็ว
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยปี 55 จะกลับมาขยายตัวในระดับปกติจากปีก่อนที่ขยายตัว เพียงร้อยละ 0.1 ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายลง โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสาคัญ อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพภายนอกประเทศของไทยอยู่ในเกณฑ์ดี และสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เดือน มี.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 41.4 ขณะที่ทุนสารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 55 เท่ากับ 179.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทุนสารองฯ ต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเดือน มี.ค. 55 อยู่ในระดับสูงที่ 3.3 เท่า ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.0-6.0 (คาดการณ์ ณ. มี.ค.55)
3. บล.ภัทรหวั่นวิกฤติหนี้ยุโรปลาม ฉุดศก.สหรัฐถดถอยซ้ากระทบเศรษฐกิจโลก
- บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จากัด (มหาชน) ประเมินว่า ถ้าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปเกิดปัญหาหนักจริง อาจกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจนถึงขั้นเกิดภาวะถดถอยซ้าซ้อน (Double dip) และกระทบ ต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงอีกรอบได้ ผลกระทบกับไทยคงเป็นทางอ้อม จากภาคการส่งออก เพราะถ้าเศรษฐกิจจีนชะลอ ญี่ปุ่นชะลอ เอเชียก็คงชะลอด้วย และคงส่งผลทางอ้อมมายังภาคการส่งออกของไทยด้วย
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จากเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ พบว่า ดัชนี Composite Purchasing Managers Index ใน 2 เดือนแรกของไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ 50 จุด (ซึ่งเป็นระดับการผลิตที่ทรงตัว) ขณะที่อัตราการว่างงานล่าสุดยังทรงตัว ในระดับสูงที่ร้อยละ 10.4 และอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือน เม.ย.55 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มหดตัวเหลือเพียงร้อยละ -0.3 ในปี 55 เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนสูงที่สุด ประกอบกับนโยบายการตัดลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐตามนโยบายลดการขาดดุลการคลังของรัฐบาลที่ประสบกับปัญหาหนี้สาธารณะ จะส่งผลให้แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐหดตัวลง อย่างไรก็ดีผลกระทบจากยุโรปนั้น มีความเสี่ยงที่จะกระทบต่อต้นทุนการระดมทุนของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากสหรัฐ มีการพึ่งพาแหล่งระดมทุนจากยุโรปมาก นอกจากนี้ยังมีความกังวลของการส่งออกของไทย เนื่องจากมีสัญญาณว่าการส่งออกไปยังยุโรปหดตัวร้อยละ -15.3 ในเดือน มี.ค. 55 เนื่องจาก ไทยมีการส่งออกไปยังยุโรปคิดเป็นร้อยละ 9.8 ดังนั้น จึงยังต้องจับตามองเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนอย่างใกล้ชิด
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th