Macro Morning Focus ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2555
1. สภาพัฒน์ฯ เผยตัวเลขแรงงานแฝงเพิ่มขึ้น
2. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เม.ย.55 กระเตื้อขึ้น
3. นายกฯ สเปนยืนยันไม่ต้องการเงินช่วยเหลือจากภายนอก
- เลขาธิการสศช. เผยภาวะสังคมในช่วงไตรมาสแรกของปีนีมี้อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.73 หรือคิดเป็นจานวนผู้ว่างงาน 2.85 แสนคนต่ากว่าช่วงเดียวกันของปี ก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.83 โดยเป็นผลจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่เริ่มทยอยเรียกแรงงานให้กลับเข้ามาทางานตัง้ แต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมาอย่างไรก็ดีถึงแม้จานวนผู้ว่างงานจะลดลงแต่หากพิจารณาถึงแรงงานแฝงกลับมีมากขึน้ โดยมีกว่า 5.6 แสนคนเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.2
- สศค. วิเคราะห์ว่า การจ้างงานเดือนมี.ค.55 อยู่ที่ 38.2 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 3.86 แสนคนขณะที่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลพบว่าเพิ่มขึน้ 1.9 แสนคนจากเดือนก่อนหน้า(mom) ชี้ให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการผลิตโดยเฉพาะการจ้าง
งานจากภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงานเดือนมี.ค.55 คงที่ อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกาลังแรงงานรวม ทั้งนี้แรงงานแฝงที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 1.1 แสนคนและแรงงานรอฤดูกาล 4.5 แสนคน สะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้การจ้างงานจะมีสัญญาณที่ดีแต่ก็มีกาลังแรงงานบางส่วนยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่หลังจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัย
- รองผู้อานวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน เม.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 166.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 0.54 ซึ่งถือเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ตั้งแต่เดือนก.ย. 54 ในขณะที่อัตราการใช้กาลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 62.24
- สศค. วิเคราะห์ว่า หลังจากปัญหาอุทกภัยในปลายปี 54 คลี่คลายลงทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมในหลาย sector กลับมาทำการผลิตในระดับกำลังการผลิตที่สูงโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ และอาหารประเภทนม นอกจากนี้ ในเดือน เม.ย. มีอุปสงค์น้ามันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น (ตามยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น) ส่งผลให้การผลิตในอุตสาหกรรมปิ โตรเลียมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการขยายตัวของอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นปัจจัยบวกให้ดัชนีเอ็มพีไอกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ดี มีบางอุตสาหกรรมที่อัตราการขยายยังคงติดลบ ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ HDD ที่รอการนำเข้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ทดแทนที่เสียหายจากอุทกภัย และสิ่งทอที่ได้รับผลกระทบจากค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้น
- นายมาริอาโน ราฮอย นายกรัฐมนตรีสเปน เผยสเปนไม่ต้องการเงินช่วยเหลือจากนานาชาติ แม้ว่าภาคการเงินของประเทศจะประสบปัญหาอย่างหนักก็ตาม โดยธนาคารบังเกียได้ขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 1.9 หมื่นล้านยูโร (2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) และคาดว่าบังเกียมีหนี้เสียประมาณ 3.2 หมื่นล้านยูโร ทั้งนี้นายราฮอย เห็นว่าการแปรรูปบังเกียเป็นของรัฐจะช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าเงินของลูกค้าจะปลอดภัย และเพื่อเคลียร์หนี้ของธนาคารไปพร้อมกับการฟื้นฟูความเชื่อมั่นที่มีต่อธนาคาร
- สศค. วิเคราะห์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจสเปนขึ้นอยู่กับภาคธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์เป็นปัจจัยสาคัญ ทั้งนี้ การตกต่า ลงในภาคธุรกิจดังกล่าวต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2008 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อ “บังเกีย” (ธนาคารรายใหญ่อันดับ 4 ของสเปน)ขณะเดียวกันความต้องการทั้งการบริโภคภาคครัวเรือนและการใช้จ่ายภาครัฐล้วนตกอยู่ในภาวะซบเซาจากอัตราการว่างงานที่สูงถึงร้อยละ 24.4 นอกจากนี้ รายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวก็ไม่มากพอที่จะชดเชยความต้องการในประเทศที่หายไป เนื่องจากบรรยากาศทางเศรษฐกิจทั่วยุโรปล้วนตกอยู่ในภาวะซบเซาเช่นกัน ซึ่งปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ส่งผลให้เศรษฐกิจสเปน (ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของยูโรโซน) เข้าสู่ภาวะหดตัวลงร้อยละ 0.3 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2012 ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2011 หรือเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) ทางเศรษฐกิจ
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th