บทสรุปผู้บริหาร: บทวิเคราะห์เรื่อง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงพลังงาน : ไทยจะก้าวต่อไปเช่นไร

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 29, 2012 14:58 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

o จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2555-2559 ได้ระบุว่าแนวโน้มปัญหาด้านพลังงานจะเป็นสิ่งที่ประเทศไทยกาลังเผชิญ ซึ่งมิใช่เป็นเพียงปัญหาระดับประเทศเท่านั้น แต่เป็นปัญหาระดับนานาชาติ ดังที่ปรากฎในการประชุม WEF หรือ World Economic Forum เมื่อ 25-29 มกราคม 2555 ที่ได้เล็งเห็นและให้ความสนใจปัญหาด้านพลังงานที่อาจนาไปสู่ความล้มเหลวของสังคมและเศรษฐกิจได้หากขาดการวางแผนที่ดีพอ

o สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้พลังงานในประเทศไทยที่มีความต้องการการใช้พลังงานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ประเภทของแหล่งที่มาของพลังงานส่วนใหญ่ คือ น้ามัน และก๊าซธรรมชาติ ต้องพึ่งพาการนาเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมูลค่าการใช้พลังงาน (Energy Usage Value) สูงถึงร้อยละ 18 ของ GDP โดยประมาณ ซึ่งสะท้อนว่าความผันผวนของราคาพลังงานจะนามาซึ่งความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ทั้งภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอย เป็นต้น

o ในการประชุม WEF ได้มีการนาเสนอแนวคิดที่จะต้องมีการออกแบบสถาปัตยกรรรมพลังงานใหม่ โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างความสมดุลด้านพลังงานในสามด้าน (Energy Triangles) ได้แก่ 1) การเจริญเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจ 2) การสร้างความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม และ 3) การเข้าถึงแหล่งพลังงาน

o ที่ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสามารถนามาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยภายใต้หลักการพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปโครงสร้างตลาด การปรับปรุงกระบวนการผลิตและบริโภค และการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งพลังงานใหม่ๆ โดยเฉพาะพลังงานทดแทนที่สามารถนากลับมาใช้ใหม่ได้ (Renewable Energy) เป็นต้น

บทนำ

เมื่อพิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559) จะพบว่าหนึ่งในเจ็ด2แนวโน้มหลักที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญภายในสองทศวรรษข้างหน้า คือ “แนวโน้มปัญหาด้านพลังงาน” ซึ่งจะมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของโลก โดยแนวโน้มปัญหาดังกล่าวสอดคล้องกับความกังวลในระดับนานาชาติของผู้ที่ได้มีการเข้าร่วมการประชุม WEF3 หรือ World Economic Forum ครั้งล่าสุดเมื่อ 25-29 มกราคม 2555 ณ เมือง Davos Switzerland ที่เล็งเห็นและให้ความสนใจด้านพลังงาน โดยมีแนวคิดว่าในอนาคตความต้องการพลังงานเพื่อตอบสนองความเจริญทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ก้าวกระโดดของโลก อาจนาไปสู่ความล้มเหลวของสังคมและเศรษฐกิจได้หากขาดการวางแผนด้านโครงสร้างทางพลังงานที่ดีพอ ทั้งนี้ ใน WEF ครั้งล่าสุดดังกล่าว ได้วิเคราะห์ถึงภาวะความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่สาคัญ 4 ประการ โดยได้ระบุไว้ใน Insight Report of Global Risk 2012 ( 7th Edition) โดยหนึ่งในความเสี่ยงดังกล่าว คือความผันผวนที่รุนแรงด้านราคาพลังงาน (Extreme volatility in energy) ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากความผันผวนที่เกิดจากระดับราคาน้ามันดิบในตลาดโลก จากสถานการณ์ด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศมหาอานาจและกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ามัน ดังเช่นกรณีพิพาทในปัจจุบันระหว่างสหรัฐกับอิหร่านที่อาจส่งผลให้ราคาน้ามัน ดิบในตลาดโลกทาสถิติสูงสุดใหม่ (New High) ได้

เหลียวมองสถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทย

จากข้อมูลการใช้พลังงานของไทย พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น (Energy Usage) เพิ่มขึ้นทุกปี โดยสะท้อนได้จากข้อมูลของสานักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงานที่ระบุว่าในปี 2552 มีปริมาณการใช้พลังงานพาณิชย์ขึ้นต้นอยู่ที่ 1,604 พันล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ามันดิบต่อวัน

ซึ่งปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวก็มีปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาอยู่ที่ 1,856 พันล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ามันดิบต่อวันในปี 2554 หรือโดยเฉลี่ยแล้วในช่วงปี 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2552-2554) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.5 ต่อปี (โดยเฉพาะช่วงปี พ.ศ.2552-2553 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.0 ต่อปี) ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) โดยเฉลี่ย (ที่อยู่ในระดับประมาณร้อยละ 3.2) ทั้งนี้ หากพิจารณาในส่วนของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (Final Energy Consumption) ก็จะพบว่าเพิ่มขึ้นโดยต่อเนื่องเช่นกัน จากวันละ 1.27 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ามันดิบ ในปี พ.ศ.2549 เป็นวันละ 1.51 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ามันดิบ ในปี พ.ศ. 2554 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.5 ต่อปี (ภาพที่ 1 และ 2) โดยเมื่อพิจารณาสัดส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในปี พ.ศ. 2554 พบว่าถูกนาไปใช้ในภาค อุตสาหกรรมและการขนส่งเป็นส่วนใหญ่ โดยมีสัดส่วนการใช้พลังงานสูงถึงร้อยละ 37.0 และ 35.5 ตามลาดับ ตามมาด้วยภาคที่อยู่อาศัยและธุรกิจการค้า ที่ร้อยละ 15.1 และ 7.2 ตามลาดับ และเพื่อภาคการเกษตรกรรมร้อยละ 5.2

ดังนั้นถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องพิจารณาถึงสถานะการใช้พลังงานของประเทศในฐานะที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน World Economic Forum on East Asia ในช่วงพฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2555 ซึ่งจะเป็นโอกาสของไทยที่จะได้ใช้เวทีดังกล่าวแสดงจุดยืนในการสานต่อเจตนารมณ์ WEF ณ Davos เมื่อต้นปี ยังจะเป็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์เชิงรุก และแสดงบทบาทในการเป็นประเทศที่มีความพร้อมและมุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนให้มีมากขึ้นหลังจากอุทกภัยเมื่อปลายปีที่แล้วที่ได้บั่นทอนความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างประเทศไปค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากปริมาณความต้องการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป (Nonrenewable Energy) ของประเทศไทย ดังแสดงในตารางที่ 1 พบว่าความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นไปตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก โดยได้มีการประเมินว่าแหล่งพลังงานสาคัญๆ ของโลกจะหมดไปในระยะเวลาไม่นาน ขณะเดียวกัน การใช้พลังงานทดแทน (Renewable Energy) อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวภาพและชีวมวล7 ฯลฯ ในส่วนของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ยังคงมีบทบาทน้อยหรือไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจนาไปสู่ความล้มเหลวในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโลกได้จากวิกฤตการณ์ขาดแคลนพลังงานในอนาคต

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาสถานการณ์การนาเข้าสินค้าเชื้อเพลิงของประเทศไทย พบว่าตลอดปี พ.ศ.2554 มีมูลค่านาเข้ารวม 43.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวถึงร้อยละ 35.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับที่สูงที่สุดในทุกหมวดผลิตภัณฑ์นาเข้า ตามมาด้วยวัตถุดิบ สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค และสินค้าทุน ที่ขยายตัวร้อยละ 26.1, 21.5 และ 20 ต่อปี ตามลาดับ ขณะเดียวกัน สินค้าเชื้อเพลิงมีสัดส่วนต่อมูลค่าการนาเข้าสินค้าทั้งหมดเพิ่มสูงที่สุดในปี 2554 โดยเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 19.1 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการนาเข้าน้ามันเชื้อเพลิงสุทธิสูงเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ (และเป็นเพียง 1 ใน 2 ประเทศที่นาเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ นับจากช่วงปี พ.ศ.2543 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการนาเข้าพลังงานประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ามันดิบในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นด้วยโดยเฉพาะการนาเข้าก๊าซธรรมชาติ) สะท้อนว่าประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดที่ต้องพึ่งพิงการนาเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก8 ประเทศไทยจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากภาวะความผันผวนของราคาน้ามันในตลาดโลก และมักจะได้รับผลกระทบสืบเนื่องตามมาเสมอๆ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่มักจะเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์วิกฤตการณ์ราคาน้ามันในตลาดโลกในแต่ละครั้ง

ที่มาและผลกระทบของปัจจัยด้านราคาพลังงาน

หากพิจารณาโครงสร้างสัดส่วนการใช้พลังงานของประเทศไทย จะพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละปี พลังงานรวมขั้นสุดท้ายที่ใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ (Final Energy Consumption) นั้น เป็นพลังงานที่ได้มาจากการนำเข้า (Net Commercial Primary Energy Import) ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันสาเร็จรูป ถ่านหิน ไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ และอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนสูงมากกว่าร้อยละ 85 ของพลังงานขั้นสุดท้ายที่ใช้เพื่อการบริโภคทั้งหมดในประเทศ ซึ่งเป็นดัชนีชี้ว่าประเทศไทยมีความจาเป็นต้องพึ่งพาการนาเข้าพลังงานขั้นต้นเพื่อใช้ในการบริโภคในประเทศเป็นอย่างมาก และการแปรรูปพลังงานขั้นต้น (Primary Energy) ไปเป็นพลังงานขั้นสุดท้าย(Final Energy) ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนี้ ในขณะที่ประเทศไทยได้มีการนาเข้าพลังงานในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับ GDP ประกอบกับราคาน้ามันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงและมีความผันผวนมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากสถิติข้อมูลของราคาน้ำมันดิบดูไบ ที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นทุกปี จนกระทั่งแตะระดับ 110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นับจากต้นปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา และอาจมีผลกระทบต่อเนื่องมาที่แรงกดดันต่อกาลังซื้อของประชาชนและอัตราเงินเฟ้อในที่สุด

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแล้วแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปนับจากปลายปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมาจะอยู่ในช่วงผ่อนคลายลงตามทิศทางปรับตัวลงของราคาสินค้าในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม เป็นสาคัญ จากปัญหาอุทกภัยที่ผ่านมาผ่อนคลายลง แต่ภาพการทยอยปรับสูงขึ้นของราคาสินค้าผู้บริโภคในลักษณะแบบเดือนต่อเดือน (m-o-m) เริ่มมีสัญญานให้เห็นนับจากต้นปี พ.ศ.2555 ซึ่งคงต้องยอมรับว่าการทยอยปรับสูงขึ้นของราคาสินค้าผู้บริโภคแบบ m-o-m ในหลายๆ รายการ มีปัจจัยสาคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาในกลุ่มพลังงาน ดังกล่าว ซึ่งหลังจากนี้ไป เมื่อพิจารณาปัจจัยแวดล้อมทั้งจากปัจจัยภายนอกคือ ราคาน้ามันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบกรณีพิพาทของอิหร่านกับชาติตะวันตกที่อาจยืดเยื้อ และปัจจัยภายใน ได้แก่ การปรับสูงขึ้นของราคาพลังงานในประเทศตามการปรับโครงสร้างราคาของรัฐบาล ทิศทางอุปสงค์ในประเทศหลังเศรษฐกิจฟื้นตัวจากเหตุการณ์อุทกภัย นโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐในระยะข้างหน้า และโมเมนตัมของการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยจากปัจจัยฐานต่าในปีที่แล้วที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ฯลฯ จะเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อทิศทางเงินเฟ้อต่อไปอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังของ พ.ศ. 2555 ต่อไป

“Energy Triangles” สู่เป้าหมายหลักในการสร้างความสมดุลด้านพลังงานสาหรับประเทศไทย

จากข้อเท็จจริง ตามนัยที่กล่าวข้างต้น ประเด็นด้านพลังงาน จึงเป็นสิ่งที่มีความกังวลและได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ส่งผลให้ WEF ได้มีการนาเสนอแนวคิดที่จะต้องมีการออกแบบสถาปัตยกรรมด้านพลังงานใหม่ (New Energy Architecture) ที่เหมาะสมสาหรับสังคมในอนาคตที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในขณะที่ทรัพยากรพลังงานมีจากัด โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างการความสมดุลด้านพลังงานใน 3 ด้าน (Energy Triangles) ได้แก่ 1) การเจริญเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจ 2) การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และ 3) การเข้าถึงและสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

ทั้งนี้ การประยุกต์เพื่อสร้างความสมดุลด้านพลังงานใน 3 ด้าน (Energy Triangles) ดังกล่าวมาใช้กับประเทศไทย นั้น ในประเด็นแรกและประเด็นที่สอง คือ การเจริญเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจ และ การสร้างความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม ควรอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1) คือกระบวนการผลิตและการบริโภคที่มีประสิทธิภาพและไม่ทาลายสิ่งแวดล้อม อาทิ การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Clean and Environmental Friendly Technology) การลดของเสียในขั้นตอนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งโดยการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาคุณภาพแรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดความสิ้นเปลืองของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต กากของเสียในกระบวนการผลิต และลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย เป็นต้น ประการที่ 2) คือการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว ได้แก่ การเอื้ออานวยต่อการกาหนดกลไกภาษีและโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่จาเป็นในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม อาทิ กลไกทางภาษีที่เหมาะสม การควบคุมโดยตรงที่ใช้หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย (Polluter Pays’ Principle หรือ PPP) และกลไกของตลาดจะต้องสามารถสะท้อนถึงต้นทุนการผลิตที่แท้จริง เพื่อให้ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากกระบวนการผลิตและการบริโภคจะเป็นผู้ที่รับภาระต้นทุน เช่น การเรียกเก็บค่าปล่อยมลพิษ และการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งแวดล้อม การมีกลไกภาษีทางอ้อมที่เหมาะสม เช่น การเก็บภาษีจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บรรจุหีบห่อที่มีความยุ่งยากในขั้นตอนของการกาจัดของเสีย (product charge) ตลอดจนรวมไปถึงการสนับสนุนการวิจัยด้าน clean technology จากภาครัฐ เป็นต้น

สำหรับประเด็นที่สาม การเข้าถึงแหล่งพลังงานและการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน นั้น กระทรวงพลังงานระบุว่าปัญหาหนึ่งที่กระทบความมั่นคงด้านพลังงานและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย (รวมถึงประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) นั่นคือ ยังคงมีการยึดติดกับพลังงานจาก Fossil มากเกินไป (อาทิ พลังงานน้ามัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ) สาหรับประเทศไทยนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพที่ 9 พบว่ามีการใช้พลังงานหมุนเวียนเพียงร้อยละ 15.8 ของพลังงานที่มีอยู่ และใช้พลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพเพียงร้อยละ 0.6 ของพลังงานที่มีอยู่ และใช้พลังงานน้าและอื่นๆ (ที่เป็นพลังงานหมุนเวียน) เพียงร้อยละ 0.9 ของพลังงานที่มีอยู่ (ในช่องที่1) และเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด (ช่องที่ 5) ประเทศไทยมีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเพียงประมาณร้อยละ 18 (= 0.1/0.53) เท่านั้น ในขณะที่ใช้พลังงานจาก Fossil ในสัดส่วนที่สูงกว่าร้อยละ 80 ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว คณะกรรมการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ได้วิเคราะห์ว่า ประเทศไทยรวมถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก นั้น เต็มไปด้วยแหล่งพลังงานที่สามารถนาหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ถึงร้อยละ 40 ของศักยภาพทางเทคนิคที่จะผลิตพลังงานจากน้าได้ทั้งหมดของโลก และร้อยละ 35 ของศักยภาพจะผลิตพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานความร้อนใต้พิภพ รวมถึงผลิตพลังงานชีวมวลและพลังงานลม 9 ซึ่งแท้จริงแล้ว นิยามของความมั่นคงด้านพลังงานไม่ได้เกี่ยวข้องเพียงแค่การลดความเสี่ยงของภูมิภาคต่อการพุ่งสูงขึ้นของราคาพลังงาน แต่จาเป็นที่ต้องให้ผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงและมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอในราคาเหมาะสมและยั่งยืน รวมทั้งจาเป็นต้องจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ที่มีความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์หรือมีต้นทุนต่า ตลอดจนการสารองแหล่งพลังงาน รวมทั้งเร่งพัฒนาเทคโนโลยีและการลงทุนแหล่งพลังงานทดแทน เช่น การผลิตก๊าซโซฮอล์และไบโอดีเซล การวิจัยพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม เป็นต้น ต่อไป

แนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความสมดุลด้านพลังงานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านพลังงงานของไทย
1) ภาครัฐบาล

ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐโดยกระทรวงพลังงานมีแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี โดยมีเป้าหมายหลัก ได้แก่ การลดความเข้มข้นการใช้พลังงาน (Energy Intensity) และลดสัดส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (final energy) ลงให้เหลือร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2573 ตลอดจนการสร้างความตระหนักของสาธารณชนในการอนุรักษ์พลังงาน โดยการใช้มาตรการบังคับด้วยกฎหมายและมาตรการส่งเสริม พร้อมทั้งสนับสนุนด้วยการจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลังงาน

o ทั้งนี้ เป้าหมายดังกล่าวนั้น ภาครัฐก็ได้เริ่มดาเนินการในทางปฏิบัติแล้วในบางส่วน อาทิ การออกเป็นมาตรการลดใช้พลังงานภาครัฐ เพื่อให้ทุกหน่วยงานดาเนินการด้วยความเข้าใจตรงกันและบรรลุเป้าหมายที่กาหนด ซึ่งการดาเนินการแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้

1) มาตรการระยะสั้น การกาหนดให้เป็นตัวชี้วัด (Key Performance : KPI) เพื่อเป็นกรอบในการประเมินผลการปฏิบัติราชการต่อไป โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ในการดาเนินการตามแผนมาตรการประหยัดพลังงาน โดยให้ทุกหน่วยงานกาหนดเป้าหมายลดการใช้พลังงานลงจากที่เคยใช้เดิมอีกร้อยละ 10 เช่น กาหนดเวลาเปิดปิดเครื่องปรับอากาศ และปรับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 25-26 องศาเซลเซียส รวมถึงตั้งงบประมาณเพื่อการล้างเครื่องปรับอากาศเป็นประจาทุก 6 เดือน การกาหนดการใช้ลิฟต์ให้หยุดเฉพาะชั้นคู่หรืออาจจะสลับให้มีการหยุดเฉพาะชั้นคี่ และการรณรงค์ขึ้น-ลงชั้นเดียวให้ใช้ลิฟต์ เป็นต้น และ

2) มาตรการระยะยาว โดยการกาหนดให้อาคารของรัฐที่เป็นอาคารควบคุมก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานไม่ให้เกิน “ค่ามาตรฐานการจัดการใช้พลังงาน” ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการอาคารเอกชนที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม

o นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทน เช่น เอทานอล เพื่อลดการนาเข้าน้ามันจากต่างประเทศและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรภายในประเทศอีกด้วย โดยที่ผ่านมา รัฐบาลได้กาหนดราคาขายปลีกแก๊สโซฮอลให้จูงใจประชาชน โดยปรับลดเงินส่งเข้ากองทุนน้ามันของแก๊สโซฮอล 95 ลงและปรับเพิ่มอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ามันแก๊สโซฮอล 91 และน้ามันแก๊สโซออล 95 และ E20

o สำหรับในส่วนของกระทรวงการคลัง ได้มีการปรับแนวทางการจัดเก็บภาษีรถยนต์ โดยยึดหลักการประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน โดยนาแนวคิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้เป็นตัววัดในการจัดเก็บภาษี 10 เพื่อนาเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

o นอกจากนี้ ในส่วนที่มีผลในทางปฏิบัติโดยกระทรวงการคลังแล้ว คือ ได้มีการส่งเสริมการใช้ E10 และ E20 ในรถจักรยานยนต์ ส่งเสริมการใช้เอทานอลในภาคอุตสาหกรรมตลอดจนส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยลดหย่อนภาษีรายได้ให้แก่ผู้ติดตั้ง เป็นต้น ตลอดจนที่ผ่านมา รัฐบาลได้พยายามส่งสริมการใช้พลังงานจากชีวมวล โดยส่งเสริมการตั้งโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก เพื่อผลิตไฟฟ้าจากเศษวัสดุเกลือที่ใช้ทางเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย และกากปาล์ม และส่งเสริมการใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิง เช่น โรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โรงการปูนซีเมนต์ โดยสนับสนุนการรวบรวมเศษวัศดุทางการเกษตรมาใช้เพื่อทดแทนน้ามันเตา ตลอดจนกาหนดให้หน่วยราชการ จัดซื้ออุปกรณ์/เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดเป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน และเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธภาพสูงต่อการใช้พลังงาน

2) ภาคเอกชน

o การเสริมสร้างความสมดุลด้านพลังงานไม่สามารถที่จะกระทาโดยหน่วยงานภาครัฐได้เพียงฝ่ายเดียว แต่จาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนด้วย ทั้งนี้ ภาครัฐจาเป็นต้องส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการสร้างความสมดุลดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในหลายภาคส่วน อาทิ

o กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้เชิญภาคเอกชน ผู้ประกอบการที่มีอาคาร และโรงงาน เข้าร่วมโครงการรณรงค์การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร ในรูปแบบ “สัญญาแบบยินยอมพร้อมใจ” หรือ Voluntary Agreement (VA) ซึ่ง พพ. ได้ริเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เพื่อกระตุ้นให้เอกชนในภาคส่วนต่างๆ มีความตระหนักต่อการลดใช้พลังงานเพื่อเป้าหมายสร้างความสมดุลด้านพลังงานให้มากขึ้น ตลอดจนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการประหยัดพลังงานแก่ประชาชน และลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ มีหลายๆ หน่วยงานภาคเอกชนได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว อาทิ ธนาคารกรุงไทย การบินไทย เทสโก้โลตัส และเครือเซ็นทรัลพัฒนา11 เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถขับเคลื่อนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และขยายผลต่อไปสาธารณะชนในลักษณะสัญญาประชาคมด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจัง

o นอกจากนี้ พพ. ได้เข้าร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TBCSD) เพื่อเชิญผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เป็นสมาชิก ให้เข้าร่วมเป็นเครือข่าย VA ดังกล่าว โดยแต่ละหน่วยงานที่จะเข้าร่วมโครงการ ฯ จะต้องแสดงถึงเจตจานงค์และมีกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานภายในอาคาร ที่เป็นรูปธรรม และที่สาคัญ มีมาตรการอนุรักษ์พลังงานมากกว่าที่กฎหมายกาหนด ภายใต้แนวคิด “Energy Beyond Standard” พร้อมมีแนวคิดเพื่อขยายเครือข่ายด้านการอนุรักษ์พลังงาน ไปยังกลุ่มพันธมิตรภาคธุรกิจเศรษฐกิจ และภาคบริการต่างๆ อันจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการอนุรักษ์พลังงานต่อไปไปยังประชาชนทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อภาคเอกชน ที่นอกเหนือจากจะสามารถลดการใช้พลังงานและสามารถลดต้นทุนการผลิตได้แล้ว ยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจอีกด้วย

o ปัจจุบัน มีหลายๆ หน่วยงานที่ได้เข้าร่วมโครงการ VA อาทิ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่นซิสเทม จากัด หรือเทสโก้ โลตัส ได้เปิดตัวสโตร์ที่มีแนวคิดปลอดคาร์บอนแห่งแรกของเอเชีย โดยมีการใช้พลังงานทดแทนภายในอาคารสูงถึง ร้อยละ 59 มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตไฟฟ้าใช้ภายในอาคารได้สูงถึง 46,000 หน่วยต่อเดือน รวมทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่ผลิตไฟฟ้าได้ 264 กิโลวัตต์ เป็นต้น แนวทางการอนุรักษ์พลังงาน ร้อยละ 32 อาทิ ระบบแสงสว่างด้วยหลอด LED ผนังโปร่งแสงรับแสงธรรมชาติ ระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้า ปรับกระแสไฟฟ้าให้เหมาะสม รวมไปถึงการประยุกต์เพิ่มสัดส่วนการใช้น้ายาจากธรรมชาติเพื่อใช้ในระบบทาความเย็นกว่าร้อยละ 9 เป็นต้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ