รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 30, 2012 10:20 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2555

Summary:

1. นายกฯ ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นเร็วเพราะพื้นฐานแข็งแกร่ง

2. เศรษฐกิจยุโรปเปราะบาง แนะหาตลาดทดแทน

3. ก.คลังกรีซเพิ่มทุนธนาคารรายใหญ่ที่สุด 4 แห่งของประเทศ ด้วยวงเงิน 1.8 หมื่นล้านยูโร

Highlight:
1. นายกฯ ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นเร็วเพราะพื้นฐานแข็งแกร่ง
  • นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้กล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงรับประทานอาหารคา ระหว่างการเดินทางเยือนออสเตรเลียอย่างเป็นทางการเป็นเวลา 4 วัน โดยสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย หลังเกิดนาท่วมครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีจะได้หารือประเด็นการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับนางจูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย และในประเด็นนโยบายด้านอื่นๆ อาทิเช่น การร่วมมือกันปราบปรามการลักลอบค้ามนุษย์
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ภายหลังจากไทยร่วมลงนามกรอบความตกลงเขตการค้าเสรีกับออสเตรเลียตั้งแต่ต้นปี 48 ทาให้ไทยสามารถนาเข้าสินค้าบางประเภทจากออสเตรเลียในราคาที่ถูกลง โดยสินค้านาเข้าที่สาคัญจากออสเตรเลีย คือ อัญมณี ทองคา สินแร่ เนื้อสัตว์แช่แข็ง นมและผลิตภัณฑ์นม ขณะที่ไทยส่งออกสินค้าไปยังออสเตรเลียที่สาคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ อัญมณี เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เหล็ก เป็นต้น ในปัจจุบัน ออสเตรเลียเป็นประเทศคู่ค้าหลักอันดับ 9 ของไทย คิดเป็นร้อยละ 4.0 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ในด้านการเงิน ไทยยังสามารถเพิ่มการลงทุนในออสเตรเลียมากขึ้น โดยเงินลงทุนโดยตรงของไทยในออสเตรเลีย ปี 54 มีมูลค่า 4.04 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่เงินลงทุนโดยตรงจากออสเตรเลียมาไทยคิดเป็นมูลค่า 22.32 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ทั้งนี้ สศค. ประเมินว่า เศรษฐกิจออสเตรเลียในปี 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 55)
2. เศรษฐกิจยุโรปเปราะบาง แนะหาตลาดทดแทน
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) รายงานว่า การดุลการค้าของไทยในเดือน เม.ย. 55 จานวน 2.9 พันล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะการส่งออกของไทยไปกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU) ที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ -12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประเทศไทยควรหาตลาดส่งออกใหม่เพื่อทดแทนตลาด EU ที่ภาวะเศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มที่ไม่ดีขึ้นและยังมีความเปราะบางของภาคการเงินค่อนข้างมาก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในเดือน เม.ย. 55 อยู่ที่ 16.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุจากมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมที่ลดลงจากราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวลงเป็นสาคัญ โดยล่าสุด ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมและดัชนีราคาสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรในเดือน เม.ย. 55 หดตัวร้อยละ -4.7 และ -2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลาดับ ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ลดลงเป็นผลจากปริมาณการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกที่ยังคงหดตัวร้อยละ -7.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลของปัญหาวิกฤติอุทกภัย โดยเฉพาะเครื่องอิเล็คทรอนิคส์ที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดของสินค้าอุตสาหกรรมในสัดส่วนร้อยละ 16.5 ยังคงหดตัวร้อยละ -2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาหรับโครงสร้างตลาดการส่งออกของไทย ปัจจุบันไทยมีการกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดใหม่เพิ่มขึ้นกว่าในอดีตที่ไทยพึ่งพาตลาดของสหรัฐฯ และ EU เป็นคู่ค้าหลัก โดยในปี 54 ประเทศคู่ค้าหลักของไทยที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงสุด ได้แก่ กลุ่มประเทศอาเซียน (ร้อยละ 16.9) จีน (ร้อยละ 12.0) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 10.5) สหรัฐฯ (ร้อยละ 9.6) และ EU (ร้อยละ 9.4) ทั้งนี้ การส่งออกของไทยไปยังตลาดใหม่ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 55 สามารถขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการส่งออกไปกลุ่มประเทศอาเซียน จีน และแอฟริกา ที่สามารถขยายตัวร้อยละ 6.0 4.9 และ 8.4 ตามลาดับ ขณะที่การส่งออกไป EU หดตัวร้อยละ -15.6
3. ก.คลังกรีซเพิ่มทุนธนาคารรายใหญ่ที่สุด 4 แห่งของประเทศ ด้วยวงเงิน 1.8 หมื่นล้านยูโร
  • ก.คลังกรีซ เผยว่า การเพิ่มทุนของธนาคารรายใหญ่ที่สุด 4 แห่งของกรีซด้วยวงเงินทั้งสิ้น 1.8 หมื่นล้านยูโร (2.257 หมื่นล้านดอลลาร์) เสร็จสิ้นลงแล้วเมื่อคืนวันที่ 28 พ.ค. 55 ที่ผ่านมา การโอนเงินดังกล่าวมาจากกองทุนเฮเลนิค ไฟแนนเชียล สตาบิลิตี้ ฟันด์ (เอชเอฟเอสเอฟ) แก่เนชันแนล แบงก์ ออฟ กรีซ, อัลฟา แบงก์, พีเรอุส แบงก์ และยูโรแบงก์ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสนับสนุนภาคการธนาคารภายในประเทศ ท่ามกลางวิกฤตหนี้กรีซที่น่าวิตก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า วิกฤตหนี้สาธารณะของประเทศกรีซที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายปี 52 ส่งผลให้เศรษฐกิจของกรีซชะลอลงอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนที่ชะลอลง โดยเฉพาะภาคการเงิน ดังนั้น กรีซจึงมีความจาเป็นต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือมูลค่าหลายพันล้านยูโร โดยได้ทาข้อตกลงไว้กับ EU และ IMF นับตั้งแต่เดือน พ.ค.53 ทั้งนี้ การอัดฉีดเงินทุนดังกล่าวจะช่วยฟื้นฟูระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารและจะสร้างความมั่นใจในการได้รับความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องจากธนาคารกลางยุโรปและยูโรซิสเต็ม ขณะนี้ ธนาคารทั้ง 4 แห่งมีทุนทรัพย์ทางการเงินเพียงพอในการสนับสนุนเศรษฐกิจที่แท้จริง อย่างไรก็ดี ภายใต้แผนช่วยเหลือทางการเงินกับกรีซ ที่มีจานวน 2.5 หมื่นล้านยูโร ถูกโอนมาจากกองทุน EFSF เป็นที่เรียบร้อย ทาให้กลุ่มธนาคารมีความแข็งแกร่งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จาเป็นต้องติดตามสถานการณ์ทางการเงินและแผนช่วยเหลือของกรีซอย่างใกล้ชิด

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ