รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 31, 2012 11:16 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2555

Summary:

1. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมใช้นโยบายการเงินดูแลเศรษฐกิจ

2. 'เวิลด์ อีโคโนมิค' เริ่มแล้ว ประชุมย่อย 5 สาขา

3. เศรษฐกิจของสเปนน่าเป็นห่วงมากขึ้น หลังยอดค้าปลีกต่าสุดเป็นประวัติการณ์

Highlight:
1. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมใช้นโยบายการเงินดูแลเศรษฐกิจ
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.พร้อมใช้นโยบายการเงินดูแลเศรษฐกิจหากมีความจาเป็น เนื่องจากยังมีช่องว่างอยู่ นอกจากนี้ จะติดตามปัญหาการเมืองในประเทศ เนื่องจากมีความกังวลว่าอาจจะมีความรุนแรงเกิดขึ้น รวมทั้งปัญหายุโรปที่ตอนนี้มีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัจจุบันประเทศไทยก่าลังเผชิญกับความเสี่ยงทั้งจากภายในประเทศ จากความผันผวนของระดับราคาสินค้า ประกอบกับความเสี่ยงจากภายนอกประเทศจากวิกฤตหนี้สาธารณะในประเทศกลุ่มยูโรโซน ทั้งนี้ ธปท. สามารถด่าเนินนโยบายทางการเงินผ่านการก่าหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายใต้กรอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 - 3.0 โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 3 อยู่ในระดับที่เหมาะสมในการสร้างสมดุล แก่เศรษฐกิจและเพียงพอต่อการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะปกติได้อย่างต่อเนื่องภายใต้ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก และสามารถดูแลแรงกดดันเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย ประกอบกับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนได้จากทุนส่ารองระหว่างประเทศ ณ เม.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 179.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นกว่า 3.1 เท่า อย่างไรก็ตาม หากเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้นมาในปี 55 ธปท. โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังมีโอกาสพิจารณาเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ เนื่องจาก กนจ. ยังเหลือก่าหนดการประชุมในปี 55 อีก 5 ครั้ง โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 28 พ.ย. 55 ทั้งนี้ สศค. ประเมินอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.25 (ช่วงร้อยละ 2.75 - 3.75)
2. 'เวิลด์ อีโคโนมิค' เริ่มแล้ว ประชุมย่อย 5 สาขา
  • เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 21 ภายใต้หัวข้อ "การกาหนดอนาคตภูมิภาคโดยการเชื่อมโยง" จัดระหว่างวันที่ 30 พ.ค.ถึง 1 มิ.ย.ที่โรงแรมแชงกรีล่า ถือมีความสาคัญกับประเทศไทยเป็นอย่างมากในการแสดงศักยภาพของประเทศ และความพร้อมหลังเกิดปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปีที่ผ่านมา สาหรับวันแรกจะเริ่มการ ประชุมด้วยกิจกรรมย่อยก่อนการประชุม (Private Sessions) ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้พิจารณาจัดกิจกรรมในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ ทั้งหมด 5 สาขา ได้แก่ การท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การสาธารณสุข การเกษตร และพลังงาน โดยจะมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมย่อย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การประชุมเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 21 World Economic Forum 2012 เป็นการประชุมในหัวข้อ Shaping the Region's Future through Connectivity ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนี้ นอกจากผู้น่าและรัฐมนตรีจากหลายประเทศ ยังมีนักธุรกิจระดับซีอีโอของกิจการขนาดใหญ่จากทั่วโลก มาร่วมระดมความคิด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย โดยเฉพาะนักธุรกิจจากประเทศทั่วโลก ที่ก่าลังจับตามองเอเชียตะวันออกว่าจะเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจโลกในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ ในส่วนของกรอบความร่วมมือด้านพลังงาน ประเทศไทยจะประชุมทวิภาคีกับหลายประเทศ เช่น พม่า สิงคโปร์ บรูไน ออสเตรเลีย ซึ่งจะเป็นการประชุมว่าด้วยแนวทางจัดหามาตรการอย่างไร ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงพลังงานของตลาดโลก และการหาพลังงานใหม่ทดแทน ซึ่งในส่วนของไทยจะหารือกับประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะพม่าที่จะประชุมหารือกรอบความร่วมมือพลังงานทางน่าและออสเตรเลีย จะหารือด้านการใช้พืชผลทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน แม้เวทีนี้จะไม่ใช่การก่าหนดมาตรการแบบตายตัว แต่เป็นเวทีให้กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แสดงความคิดเห็น เพื่อสะท้อนถึงสถานการณ์พลังงานในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
3. เศรษฐกิจของสเปนน่าเป็นห่วงมากขึ้น หลังยอดค้าปลีกต่าสุดเป็นประวัติการณ์
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของสเปน เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือน เม.ย.ลดลง 9.8% หลังจากที่ปรับตัวลง 3.8% ในเดือน มี.ค. นับเป็นเดือนที่ 22 ติดต่อกันที่ยอดค้าปลีกปรับลดลง และเป็นการร่วงหนักที่สุดนับแต่เริ่มทาการเก็บข้อมูลในปี 2003 ขณะที่อัตราการว่างงานยังคงสูงถึง 24.4% จากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสเปนเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสเปนยอมรับว่ากาลังมีปัญหาในการกู้ยืมเงิน เนื่องจากนักลงทุนไม่สนใจพันธบัตรสเปน ทาให้ไม่สามารถหาเงินมาช่วยเหลือธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของประเทศที่กาลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก ด้านธนาคารกลางสเปนเผยในการวิเคราะห์เศรษฐกิจรายเดือนว่า เศรษฐกิจของประเทศจะยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยที่สุดกระทั่งสิ้นเดือนมิถุนายน หลังจากหดตัว 0.3% เมื่อไตรมาสแรกของปี ขณะที่รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจสเปนจะหดตัวราว 1.7% ในปีนี้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า วิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายปี 52 ส่งผลให้เศรษฐกิจของยุโรปชะลอลงอย่างมาก และหลายประเทศได้เข้าสู่ระยะถดถอย (recession) รวมถึงประเทศสเปน โดยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลสเปนตัดสินใจอัดฉีดทุน 19,000 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 4 ของประเทศเพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพของภาคการเงินของประเทศ นอกจากนี้ ปัญหาที่น่าเป็นห่วงของสเปน คือสภาวะหนี้ภาคเอกชนที่สูงถึงร้อยละ 220 ต่อ GDP และอัตราการว่างงานโดยเฉพาะในกลุ่ม 15-24 ปี ที่สูงถึง 50% ซึ่งจะก่อให้เกิดวิกฤตสังคม (social crisis) เพิ่มขี้นมาอีกนอกเหนือจากวิกฤตทางการเงิน ทั้งนี้ สถานการณ์ทางการเงินและแผนช่วยเหลือประเทศกรีซของ EU จะมีผลกระทบต่อเนื่องถึงความเชื่อมั่นต่อแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศสเปน ซี่งควรจะมีการจับตามองอย่างใกล้ชิด

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ