Executive Summary
Indicators this week
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือน เม.ย.55 หดตัวที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย.55 ขาดดุล -1,516.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อเดือน เม.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.9
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือนเม.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP ฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 1 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ GDP ไต้หวัน ขยายตัวที่ร้อยละ 0.4
- GDP อินเดีย ในไตรมาสที่ 1 ปี 55 ขยายตัวชะลอลงในรอบ 8 ปีที่ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 64.9
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) ของจีน จัดทาโดย NBS เดือน พ.ค.55 อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด
Indicators next week
Indicators Forecast Previous May: Motorcycle Sale(%YoY) 4.5 4.2
- ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการผลิตและการบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์นาท่วมในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน เม.ย.55 ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือน มี.ค.55 และเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน
Economic Indicators: This Week
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย. 55 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยบวกจากการเร่งการผลิตของอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ และอาหารประเภทนม นอกจากนี้ ในเดือน เม.ย. มีอุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น (ตามยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น) ส่งผลให้การผลิตในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการขยายตัวของอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นปัจจัยบวกให้ดัชนีเอ็มพีไอกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งหลักจากปัญหาอทุกภัยคลี่คลายลง แต่อย่างไรก็ดี มีบางอุตสาหกรรมที่อัตราการขยายยังคงติดลบ ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ HDD ที่รอการนำเข้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ทดแทนที่เสียหายจากอุทกภัย และสิ่งทอที่ได้รับผลกระทบจากค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้น
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) ในเดือน เม.ย. 55 หดตัวที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เท่ากับ เดือนก่อน ตามการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผล และหมวดปศุสัตว์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าว และอ้อยโรงงาน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผลกระทบน้ำท่วมในช่วงปลายปีที่แล้วส่งผลให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตล่าช้าออกไป ส่วนอ้อยโรงงานอยู่ในช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ในขณะที่ผลผลิตปศุสัตว์ ขยายตัวชะลอลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวในลักษณะต่อเดือนแล้วขจัดผลทางฤดูกาลออก พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน เม.ย. 55 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากเดือนก่อนหน้า
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน เม.ย. 55 หดตัวร้อยละ -13.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -8.3 ตามการลดลงของราคาผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะยางพารา และมันสำปะหลัง โดยมีสาเหตุหลักมาจาก 1) ปัจจัยฐานสูงในช่วงต้นปี 54 ที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่ง จากราคายางพารา และมันสำปะหลัง 2) อุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลง ตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย. 55 ขาดดุล -1,516.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -1,521.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยดุลการค้าขาดดุล -734.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการส่งออกที่ชะลอลงมากจากอุปสงค์ภายนอกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและฮ่องกงที่หดตัวลงมาก ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุล -781.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนที่สูงขึ้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 4 เดือนแรกของปี 55 ขาดดุล -965.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อเดือน เม.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.5 ทั้งนี้หากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า ทั้งสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้น จากความต้องการสินเชื่อของทุกภาคส่วนเพื่อบูรณะซ่อมแซม และลงทุนใหม่หลังได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม โดยหากวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดพบว่าทั้งสินเชื่อผู้บริโภคและสินเชื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นชัดเจน ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากภาวะน้ำท่วมจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป ทั้งนี้ ควรจับตามองปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน และการชะลอลงของเศรษฐกิจจีน ซึ่งอาจส่งผลลบต่อภาคการส่งออก รวมถึงเศรษฐกิจไทยในอนาคต
- เงินฝากสถาบันการเงินเดือน เม.ย.55 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.3 โดยหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.0 สะท้อนจากการเร่งระดมเงินฝากต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาฐานลูกค้า ทั้งนี้ ควรจับตามองการปรับกลยุทธ์การระดมเงินทุนของสถาบันการเงิน โดยมีการเร่งระดมเงินทุนผ่านเงินฝากแทนตั๋วแลกเงินมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อเกณฑ์การควบคุมการระดมทุนผ่านตั๋วแลกเงินของ กลต. ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือน ก.ค.55
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือนเม.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูการออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อเดือน ทั้งนี้ การปรับตัวดีขึ้นดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนเม.ย.55 ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.5 จากที่หดตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 7 เดือน ตั้งแต่เดือนก.ย. 54 จากวิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นช่วงปลายปี 54 ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวมาจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อยที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 10.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.0 ขณะที่เหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสะท้อนจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีขยายตัวร้อยละ 53.5 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 26.7 และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน
Economic Indicators: Next Week
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ค.55 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการผลิตและการบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน เม.ย.55 ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือน มี.ค.55 และเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน
Global Economic Indicators: This Week
USA: mixed signal
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 64.9 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 68.7 จากความกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง กระทบต่อระดับสินทรัพย์ของผู้บริโภค GD P ไตรมาส 1 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า ผลจากการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีร้อยละ 8.8 และ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวร้อยละ -2.3 จากปีก่อน
China: mixed signal
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) จัดทาโดย NBS เดือน พ.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 53.3 จุด ถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 53 จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัวลง
Euro Zone: mixed signal
- อัตราเงินเฟ้อ (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน พ.ค. 55 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากร้อยละ 2.6 ในเดือนก่อนหน้า ผลจากราคาสินค้าเชื้อเพลิงที่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง
Japan: mixed signal
- อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 55 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.6 ของกาลังแรงงานรวม ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 55 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวลงร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคนั้นยังคงขยายตัวได้ดี ส่วนหนึ่งจากเงินอุดหนุนของรัฐบาลในการสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะด้านรถยนต์ประหยัดพลังงาน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) เดือน พ.ค. 55 คงที่อยู่ที่ระดับ 50.7 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 จุด ติดต่อเป็นเดือนที่ 6 อย่างไรก็ตาม คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ภายในประเทศและภาคการส่งออกยังคงหดตัว ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน เม.ย. 55 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลง ประกอบกับเศรษฐกิจยูโรโซนเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยจากปัญหาสาธารณะเรื้อรัง ขณะที่คาสั่งซื้อภาคก่อสร้าง เดือน เม.ย. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 16.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับยอดขายบ้านใหม่ (Housing Start) เดือน เม.ย. 55 ที่ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 10.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Philippines: mixed signal
- GDP ไตรมาส 1 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ซึ่งถือเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี และเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ที่สูงสุดในอาเซียน จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วยมาตรการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการให้เงินอุดหนุนโดยมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer program)
Taiwan: mixed signal
- GDP ไตรมาส 1 ปี 55 ขยายตัวชะลอลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 ที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว (%qoq_sa) โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่การลงทุนและการส่งออกหดตัว สะท้อนเศรษฐกิจที่ชะลอลงในช่วงดังกล่าว ท่ามกลางความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน พ.ค. 55 อยูที่ระดับ 50.5 บ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ยังขยายตัวได้ดี
India: mixed signal
- GDP ในไตรมาสที่ 1 ปี 55 ขยายตัวชะลอลงตาสุดในรอบ 8 ปีที่ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 1.9 จากไตรมาสก่อนหน้า หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว (%qoq_sa) จากการชะลอลงของการบริโภคภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 62.3 ของ GDP ทั้งนี้ เศรษฐกิจอินเดียยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลลบต่อดุลการค้าที่ขาดดุลมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงค่าเงินที่ผันผวนสูงและอ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญ
South Korea: mixed signal
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Markit HSBC) เดือน พ.ค. 55 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 51.0 บ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ส่วนหนึ่งจากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ปรับตัวดีขึ้น มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ค. 55 (ตัวเลขเบื้องต้น)หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.3 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 55 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน บ่งชี้แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี
Weekly Financial Indicators
- ดัชนี SET ปรับตัวอยู่ในช่วงแคบๆ ตากว่า 1,160 จุด และมีความผันผวนระหว่างวันสูง จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ในยุโรป โดยมีความเสี่ยงว่าสเปนอาจต้องเข้ารับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป ส่งผลให้นักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันมีความวิตกและเทขายหลักทรัพย์จำนวนมาก ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 - 31 พ.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 101 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอนทำให้นักลงทุนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในช่วงขาลง ทำให้นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัต รระยะสั้น ส่งผล ให้ผลตอบแทนพันธบัตรอายุไม่เกิน 3 ปี ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 - 31 พ.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -582 ล้านบาท
- ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยปิดที่ระดับ 31.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 31 พ.ค. 55 อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ -0.66 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลภูมิภาคและเงินสกุลหลักอื่นๆทั่วโลก โดยเฉพาะยูโร ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์และหยวน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่อ่อนค่ามากกว่าสกุลเงินของคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะเงินเยน ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.48
- ราคาทองคาปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 31 พ.ค. 55 ปิดที่ 1,559 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,573 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th