รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 5, 2012 14:12 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2555

Summary:

1. โรงงานในนิคมอุตฯ เริ่มผลิตร้อยละ 74.6 ติดปัญหาเคลมประกันฟื้นฟูช้า

2. ข้าวถุงจ่อปรับขึ้นราคาอีก 5-10 บาท เหตุต้นทุนเพิ่ม

3. กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นเผชิญสถานการณ์เงินเย็นแข็งค่า

Highlight:
1. โรงงานในนิคมอุตฯ เริ่มผลิต ร้อยละ74.6 ติดปัญหาเคลมประกันฟื้นฟูช้า
  • ปลัดกระทรววงอุตสาหกรรม เปิดแผยถึง ความคืบหน้าการฟื้นฟูผลกระทบจากน้ำท่วม พบว่าโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งที่ถูกน้ำท่วม 839 แห่ง เริ่มกลับบมาผลิตแล้ว 626 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 74.6 แบ่งเป็นโรงงานที่เริ่มเต็มกำลังการผลิต 334 โรงงาน เริ่มผลิตบางส่วน 292 แห่ง ส่วนที่เหลืออีก 81 แห่ง ที่ยังไม่เปิดให้บริการเนื่องจากหลายแห่งต้องรอเงินเคลมประกันมาฟื้นฟูโรงงาน จึงทำให้โรงงานบางแห่งยังไม่มีแผนเปิดประกอบกิจการ
  • สศค. วิเครราะห์ว่า จากปัญหหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นนเมื่อปลายปี 54 ที่ผ่านมาได้คลี่คลลายลง ทำให้ภาคการผลิลิตสามารถกลับมาใช้กำลังผลิตได้ในระดับที่เพิ่มขึ้นออย่างต่อเนื่อง โดยยเฉพาะในโรงานนิคมอุตตสาหกรรมทั้ง 7 แห่ง ซึ่งสะท้อนได้จากข้อมูลดัชนีผลลผลิตอุตสาหกรรมมเดือนเม.ย. 55 ที่ขยายตัวเป็นบวกครั้งแรรกในรอบปีทั้งแบบบ % yoy และ %% mom โดยขยายยตัวที่ร้อยละ 0.5 และ 1 .5 ตามลำดับ เนื่อองจากได้รับปัจจัยบวกจากอุตสาหกกรรมหลัก ได้แก่ อุอุตสาหกรรมยานยนต์ ออุตสาหกรรมเครื่รื่องประดับ และออุตสาหกรรมอาหหาร เป็นต้น อย่างไรก็ดี บางอุตสาหกรรรมยังไม่สามารถถกลับมาทำการผผลิตได้เนื่องจากกติดปัญหาการเคคลมประกัน ซึ่งส่งผลกรระทบทำให้การฟื้นฟูโรงงานล่าช้าแพราะต้องรอเงินเคลมประกันมาฟื้นฟูโรงงาน หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียน และเมื่อยังไม่ได้เงินประกัน จึงทำใให้โรงงานบางแห่งงยังไม่มีแผนเปิดประกออบกิจการ
2. ข้าวถุงจ่อปปรับขึ้นราคาอีก 5-10 บาท เหตุต้นทุนเพิ่ม
  • นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทยเผยว่า ในเร็วๆ นี้ผู้ประกอบการข้าววถุง เตรียมปรับราคาข้าวสารบรรจุถุงขนาด 5 กิโลกรัม ทั้งประเภทข้าวขาวและข้าวหอมมะลิ เพิ่มขึ้นอีกถุงละ 10 - 15 บาท เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบคือข้าวเปลือกปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15 - 20 ทำให้ปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องแบกภาระขาดทุน ถุงละ 2 - 3 บาท โดยเฉพาะการขายผ่านช่องทางห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ เพราะต้องมีรายจ่ายอื่นๆ ที่ต้องให้กับทางห้างอย่างไรก็ตามการปรับราคาข้าวถุง ยังไม่ชนราคาเพดานที่กรมการค้าภายในกำหนด จึงไม่ต้องขออนญาตจากกรมการค้าภายใน
  • สศค. วิเครราะห์ว่า ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน พ.ค. 55 ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้าความชื้นร้อยละ 15 อยู่ที่ 9,802 บาท/ตัน ปรับเพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยในปี 54 ที่อยู่ที่ที่ 9,145 บาท/ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดน้อยลง หลังจากที่เกษตรกรได้ทำการเก็บเกี่ยวไปแล้วก่อนหน้านี้ ทั้งนี้การปรับเพิ่มราคาข้าวถุงจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปให้ปรับตัวสูงขึ้น โดยหากผู้ประกอบการปรับเพิ่มราคาขึ้นอีก 15 บาท/ถุง จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 55 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.6 เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 3.8 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรการรองรับที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
3. กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นเผชิญสถานการณ์เงินเย็นแข็งค่า
  • นายอาคิโอะ โตโยดะ ประธาน บ. โตโยต้า มอเตอร์ และประธานสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นอาจต้องเผชิญกับ "สถานนการณ์ที่เลวร้าย" เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินเยนได้ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของกลุ่มผู้ผลิตเหล่านี้ หดตัวลง ซึ่งก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมรถยนต์ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักอยู่แล้วจากภาษีที่สูงขึ้นและภาวะขาดแคลนพลังงาน"
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในช่วงปี 54 ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ1.68 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยสำคัญของการแข็งค่ามาจากผลของงวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐ ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางในยูโรโซนคงนโยบายดอกเบี้ยต่ำไว้ที่ที่ระดับร้อยละ 1.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Fed ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบ Super Low ที่ร้อยละ 0-0.25 ส่งผลให้นักลงทุนในสหรัฐกู้เงินดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปเก็งกำไรค่าเงินในต่างประเทศ ทั้งนี้ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนเป็นระยะๆ ส่งผลให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นร้อยละ1.94 (เมื่อเทียบกับดอลลาร์หสรัฐ) นับจากต้นปี 55 แต่ก็ยังเป็นระดับที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการทำกำไรในภาคอุตสาหกรรมการส่งออกเท่าที่ควร และเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นกำลังพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในกัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย (ทดแทนประเทศไทยที่ประสบบทเรียนจากภาวะน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 54 และค่าจ้างที่แพงเมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาคเดียวกัน)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ