รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 6 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 6, 2012 14:57 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 6 มิถุนายน 2555

Summary:

1. เศรษฐกิจพม่ากำลังเป็นที่สนใจภายใต้ AEC

2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวลดลงครั้งแรกรอบ 6 เดือน

3. “สติกลิตซ์” มองเอเชียคืออนาคตของโลก

Highlight:
1. เศรษฐกิจพม่ากำลังเป็นที่สนใจภายใต้ AEC
  • ซีพี เผยยุทธศาสตร์การค้าการลงทุนของพม่า เปลี่ยนแปลงไปนับตั้งแต่ "ออง ซาน ซูจี" ได้รับอิสรภาพ และทุกความเคลื่อนไหวของพม่าก็เป็นที่จับตามองจากโลกภายนอก เนื่องด้วยพม่าอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติเป็นขุมทองแห่งใหม่นักลงทุนจากนานาประเทศ ในขณะที่พม่าเองก็พยายามอย่างแรงกล้าที่จะทะลายกำแพงที่ปิดกั้นประเทศมายาวนานออกไปให้หมดสิ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพม่าเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการก้าวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 58 ก็จะช่วยเอื้อโอกาสการขยายตัวทางการค้า และการลงทุนระหว่างไทยกับพม่า
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของพม่าสะท้อนถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมากขึ้นในด้านการค้าขาย ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของพม่า รองจากจีน โดยปี 54 มีมูลค่าค้าขายทั้งสิ้น 1.85 แสนล้านบาท การส่งออกสินค้าไทยไปพม่ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกล เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ในด้านการลงทุน จีนมีการลงทุนในพม่าเป็นอันดับ 1 มูลค่า 13.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามด้วยไทย ซึ่งมีมูลค่า 9.6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนทางด้านพลังงานไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน ภาคบริหาร และอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรฐกิจปี 55-56 อยู่ที่ร้อยละ 6.7 ต่อปี
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวลดลงครั้งแรกรอบ 6 เดือน
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจในเดือน พ.ค.55 อยู่ที่ 67.1 ลดลงจาก 67.5 ในเดือน เม.ย.55 เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์ ทางการเมืองในประเทศ ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก ความวิตกต่อปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ทรงตัวในระดับสูง เป็นต้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในช่วงที่ผ่านมาเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนล่าสุดเดือนเม.ย.55 สะท้อนการขยายตัวได้ดีต่อเนื่องภายหลังจากวิกฤตอุทกภัย โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือน เม.ย.55 จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.6 สอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ การบริโภคสินค้าคงทนปรับตัวดีขี้นมาก โดยเฉพาะปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนเม.ย.55 กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งที่ระดับร้อยละ 23.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากที่หดตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนต.ค. 54 — มี.ค. 55 สอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนเม.ย.55 ที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 4.2 จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.2 อย่างรก็ตาม ในระยะต่อไป มีความไม่แน่นอนทั้งภายในและภายนอกประเทศที่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และหากมีความจาเป็นรัฐบาลคงพร้อมใช้นโยบายการคลังในการดูแลเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์การบริโภคภาคเอกชนในปี 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้ อยละ 4.0 — 5.0)
3. “สติกลิตซ์” มองเอเชียคืออนาคตของโลก
  • โจเซฟ สติกลิตซ์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยว่าประเทศกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ มีประชากรมากและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าพอใจ ที่สำคัญคือข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งที่เป็นจุดยุทธศาสตร์กลางระหว่างจีนและอินเดีย ซึ่งทำให้ ASEAN เป็นกลุ่มที่มีอำนาจการต่อรองและได้ประโยชน์จากการประหยัดต้นทุนต่อขนาด พร้อมกันนี้ได้เสนอแนะให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงด้านการศึกษาและการตั้งสถาบันระดับภูมิภาคกำกับดูแล เช่น สถาบันพัฒนาอาเซียน และสถาบันพัฒนากองทุนระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อเปิดทางให้สมาชิกได้เข้าถึงแหล่งทุนมากขึน้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจ ASEAN สามารถเติบโตได้ในระดับสูงที่ร้อยละ 5.4 ในปี 55 ซึ่งในอนาคตภายใต้การรวมตัวเป็ นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะทำให้ ASEAN สามารถเพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจมากกว่าในปัจจุบันที่ GDP ของ ASEAN มีจานวน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเพียงร้อยละ 2.9 ของ GDP ของเศรษฐกิจโลกที่มีจำนวน 62.9 ล้านล้านดอลลาร์ สหรัฐ โดยการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ AEC สามารถช่วยให้กลุ่มประเทศสมาชิกได้รับประโยชน์จากการเชื่อมโยงระหว่างกันในการเคลื่อนย้ายทรัพยากรในภูมิภาค การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ การท่องเที่ยว การสร้างประโยชน์จากการทำการค้าขายร่วมกันการลงทุนไปสู่ตลาดที่ใหญ่มากขึ้นการเคลื่อนย้ายทรัพยากรระหว่างกันอย่างเสรีที่ทำให้มีการเลือกใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและช่วยลดต้นทุน ซึ่งจะส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นและสร้างอานาจต่อรองในเวทีโลก นอกจากนี้ ในระยะต่อไป ASEAN จะได้มีการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาคที่กว้างขวางมากขึ้น เช่น ความตกลงการค้าเสรีในกรอบอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) และ อาเซียน+6 (เพิ่มอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ซึ่งจะส่งผลให้มีขนาดของรายได้ประชากรใหญ่เป็น 1 ใน 4 ของโลก และถ้านับจากจานวนประชากรก็จะมีจำนวนมากเป็นครึ่งหนึ่งของโลก จะส่งผลให้เอเชียมีบทบาทในการสร้างอานาจต่อรองในเศรษฐกิจโลกในอนาคต

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ