รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 8 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 8, 2012 11:56 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 8 มิถุนายน 2555

Summary:

1. ไทยเตรียมฉลองผลิตน้ำตาลทรายสูงสุดเป็นประวัติการณ์

2. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเผยแนวโน้มการส่งออกชะลอตัว จากหนี้สาธารณะยุโรป

3. ธนาคารกลางยุโรป(ECB) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มิ.ย.55 ที่ร้อยละ 1.0

Highlight:
1. ไทยเตรียมฉลองผลิตน้าตาลทรายสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ตลอดจนโรงงานน้าตาลทราย สถาบันชาวไร่อ้อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมจัดงานฉลองปีประวัติศาสตร์ ในโอกาสที่ไทยสามารถผลิตน้าตาลทรายสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 10.2 ล้านตัน และคาดว่าจะส่งออกได้กว่า 7 ล้านตันเพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพและความสาเร็จของไทยในฐานะเป็นผู้ส่งออกน้าตาลทรายสูงที่สุดอันดับ 2 ของโลก รองจากบราซิล ทั้งนี้ ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า งานนี้จะได้ประโยชน์จากการพบปะธุรกิจการค้าน้ำตาลในตลาดโลก ได้กระชับความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น และได้พบตัวแทน ซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้น้ำตาลจริง ทำให้ผู้ค้าของไทยเกิดความเชื่อมั่นในการผลิตน้ำตาลของไทย ที่มีปริมาณการส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลกอย่างแข็งแกร่ง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปี 54 ที่ผ่านมา ไทยสามารถส่งออกน้าตาลทรายได้ถึง 6.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการขยายตัวของปริมาณร้อยละ 44.9 และการขยายตัวของมูลค่าร้อยละ 68.9 จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 55 ไทยส่งออกน้าตาลทรายไปแล้วกว่า 2.8 ล้านตัน หรือเป็นมูลค่ากว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 23.9 และร้อยละ 51.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ตามลาดับ หากสภาพอากาศปีนี้มีความเหมาะสม คาดว่าไทยจะสามารถผลิตและส่งออกน้ำตาลทรายได้ตามเป้าหมายที่กาหนดไว้ ทั้งนี้ ตลาดหลักของการส่งออกน้ำตาลทรายของไทยได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และกัมพูชา โดยมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.5 14.5 และ 7.2 ของมูลค่าการส่งออกน้ำตาลทรายรวม (สัดส่วนปี 54)
2. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเผยแนวโน้มการส่งออกชะลอตัว จากหนี้สาธารณะยุโรป
  • นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าการส่งออกไทยมีแนวโน้มชะลอตัว โดยช่วง 4 เดือนแรกของปี การส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปที่กระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ทาให้อุปสงค์ต่อสินค้าไทยชะลอตัวตามไปด้วย ทั้งนี้ ส.อ.ท. คาดว่าการขยายตัวของการส่งออกไทยในปีนี้ตามเป้าหมายที่ ร้อยละ 15 เป็นไปได้ยาก โดยช่วง 8 เดือนที่เหลือนี้ การส่งออกต้องขยายตัวมากกว่าร้อยละ 23.5 ต่อเดือนหรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนเท่านั้นจึงเป็นไปตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม หากปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปไม่รุนแรงเกินไป การส่งออกไทยทั้งปีน่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 11.0 แต่หากปัญหาลุกลามไปนานาประเทศน่าจะทำให้การส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 7-9 เท่านั้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ภาคการส่งออกเป็นปัจจัยสาคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมีสัดส่วนการส่งออกที่ร้อยละ 69.0 ต่อ GDP การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปจะส่งผลกระทบโดยตรง (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.4 ของการส่งออกรวม) และโดยอ้อมผ่านประเทศคู่ค้าสาคัญของไทย อาทิ อาเซียน จีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น เป็นต้น ทาให้การส่งออกของไทยชะลอตัวลงได้ อย่างไรก็ตาม ภาคการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศของไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปียังคงแข็งแกร่ง สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในช่วง 4 เดือนแรกของปีที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 และยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 33.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทำให้โดยรวมแล้วการส่งออกที่อาจชะลอตัวลงนี้จะไม่ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยมากนัก
3. ธนาคารกลางยุโรป(ECB) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มิ.ย. 55 ที่ร้อยละ 1.0
  • ธนาคารกลางยุโรป(ECB) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มิ.ย. 55 ที่ร้อยละ 1.0 ระดับต่าสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของยุโรปที่กาลังประสบวิกฤตหนี้สาธารณะในปัจจุบัน ท่ามกลางการจับตามองจากนักลงทุนทั่วโลกเพื่อประเมินทิศทางว่า ECB จะส่งสัญญาณถึงการออกมาตรการใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การที่ธนาคารกลางยุโรปยังคงตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับที่ต่านั้น เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนยังคงอ่อนแอ โดยในไตรมาส 1 ปี 55 GDP ของยูโรโซนหดตัวลงร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือไม่มีการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมีสาเหตุสาคัญมาจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในยุโรป นอกจากนี้ภาคอุตสาหกรรมของยุโรปยังคงน่าห่วง โดยจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Markit's Composite PMI) ในเดือน พ.ค.55 ที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.0 จุด ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ มิ.ย.52 และต่ากว่าระดับ 50 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แล้ว ส่งผลทบต่ออัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์โดยอัตราการว่างงานของยูโรโซนเดือน เม.ย.55 อยู่ที่ร้อยละ 11.0 ของกาลังแรงงานรวม จากที่กล่าวมานี้ส่งผลทาให้เศรษฐกิจยุโรปมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจได้ จึงเป็นเหตุให้ ECB คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่ต่า

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ