Executive Summary
Indicators this week
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเดือน พ.ค.55 อยู่ที่ระดับ 67.1
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ (ISM Mfg PMI) เดือน พ.ค.55 ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 53.5
- GDP ยูโรโซนไตรมาส 1 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Markit Composite PMI) ยูโรโซนเดือน พ.ค.55 ปรับตัวลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.52 ที่ระดับ 46.0
- GDP ออสเตรเลียไตรมาส 1 ปี 55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP เกาหลีใต้ไตรมาส 1 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- วันที่ 5 มิ.ย. 55 ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เช่นเดียวกันกับธนาคารกลางจีนที่ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ในวันที่ 8 มิ.ย. 55
Indicators next week
Indicators Forecast Previous Apr: Unemployment Rate 0.7 0.7 (% of total labor force)
- จากการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้างเป็นหลัก เนื่องจากการลงทุนในหมวดก่อสร้างเดือน เม.ย.55 ขยายตัวดีขึ้น หลังจากวิกฤตอุทกภัยในหลายพื้นที่คลี่คลายลง สะท้อนจากยอดขายปูนซิเมนต์ และยอดขายเหล็กในประเทศที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย.55 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.55 ที่กลับมาขยายตัวเป็นเดือนแรก หลังจากที่หดตัว 7 เดือนติดต่อกัน
Economic Indicators: This Week
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 อยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า โดยสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำเกิดจากฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสำเร็จรูป ผักสด เนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร และค่าโดยสารสาธารณะ ส่วนราคาน้ามันเชื้อเพลิงมีการปรับตัวลดลงตามการลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค.55 ได้แก่ ดัชนีในหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตสูงขึ้นร้อยละ 17.3 จากคอนกรีตบล็อคก่อผนัง-ปูพื้น คอนกรีตบร็อกก่อผนังมวลเบา เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 4.9 ได้แก่ สีรองพื้นปูน สีเคลือบน้ำมัน และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้นร้อยละ 9.2 จากอิฐ ดินถมที่ ทราย เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเป็นผลมาจากต้นทุนการผลิตปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมถึงนโยบายรัฐบาลที่มีการตรึงราคาก๊าซ ส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้างโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลง
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน พ.ค.55 อยู่ที่ระดับ 67.1 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 67.5 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน จากความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ประกอบกับความกังวลเรื่องค่าครองชีพที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อภาคการค้าระหว่างประเทศของไทย
Economic Indicators: Next Week
- อัตราการว่างงานในเดือน เม.ย.55 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.7 คงที่จากเดือนก่อนหน้า จากการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้างเป็นหลัก เนื่องจากการลงทุนในหมวดก่อสร้างเดือน เม.ย. 55 ขยายตัวดีขึ้น หลังจากวิฤตอุทกภัยในหลายพื้นที่คลี่คลายลง สะท้อนจากยอดขายปูนซิเมนต์ และยอดขายเหล็กในประเทศที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย.55 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจน สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย.55 ที่กลับมาขยายตัวเป็นเดือนแรก หลังจากที่หดตัว 7 เดือนติดต่อกัน
Global Economic Indicators: This Week
USA: mixed signal
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) เดือน พ.ค.55 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 53.5 จุด จากดัชนีการผลิตที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย ในขณะที่ดัชนีคาสั่งซื้อสินค้าใหม่ยังคงขยายตัวในระดับดี ขณะเดียวกัน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Non-Mfg PMI) เดือน พ.ค.55 เพิ่มขึ้นจากเดือนต่อหน้ามาอยู่ที่ระดับ 53.7 จุด ผลจากดัชนีคาสั่งซื้อสินค้าใหม่เป็นสาคัญ การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payroll) เดือน พ.ค.55 เพิ่มขึ้น 69,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า โดยการจ้างงานภาคเอกชนโดยเฉพาะภาคบริการที่ดีขึ้นต่อเนื่องในขณะที่การจ้างงานภาครัฐยังคงปรับตัวลดลง อัตราว่างงานเดือนพ.ค. 55 ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 8.2 ของกาลังแรงงานรวม จากการเพิ่มขึ้นของแรงงานที่กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานถึง 642,000 คน ในขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 422,000 ตำแหน่ง
China: mixed signal
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (HSBC PMI) เดือน พ.ค.55 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 19 เดือน อยู่ที่ระดับ 54.7 เนื่องจากผู้ประกอบการมองเห็นโอกาสการทาธุรกิจในจีน ทาให้การจานวนธุรกิจและการสั่งซื้อสินค้าใหม่เพิ่มขึ้น วันที่ 8 มิ.ย.55 ธนาคารกลางจีนประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ 1 ปี ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 และ 6.31 ต่อปี ตามลาดับ
Euro Zone: worsening economic trend
- GDP ไตรมาส 1 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเมื่อขจัดปัจจัยผลทางฤดูกาลแล้วไม่มีการขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Markit Composite PMI) เดือน พ.ค. 55 ปรับตัวลดลงตาสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.52 ที่ระดับ 46.0 จุด บ่งชี้การหดตัวของภาคการผลิตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 จากวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มยุโรโซน โดยเฉพาะกรีซ ซึ่งทาให้เศรษฐกิจยุโรปเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Markit Mfg. PMI) เดือน พ.ค.55 อยู่ที่ระดับ 45.1 จุด และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Markit Service PMI) เดือน พ.ค.55 อยู่ที่ระดับ 46.7 จุด นอกจากนี้ อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย.55 ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 11.0 ของกาลังแรงงานรวม ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย.55 หดตัวที่ร้อยละ -2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจากอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงอ่อนแอตามภาวะเศรษฐกิจที่เข้าสู่ช่วงถดถอย
Malaysia: mixed signal
- มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย.55 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าซึ่งมีสัดส่วนรวมร้อยละ 32 ของมูลค่าส่งออกรวม ที่หดตัวร้อยละ -6.8 ขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน เม.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 7.4 แต่ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกที่สูงกว่านำเข้า ทำให้ดุลการค้ายังคงเกินดุลอยู่ที่ 7.5 พันล้านริงกิต
Philippines: mixed signal
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค.55 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ราคาอาหารยังคงทรงตัว
Singapore: mixed signal
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค.55 อยู่ที่ระดับ 50.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากดัชนีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และคาสั่งซื้อใหม่สินค้าส่งออกที่ยังคงอยู่ในระดับที่บ่งชี้การขยายตัวที่ 50.8 จุด
Australia: mixed signal
- GDP ไตรมาส 1 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานต่า จากปัญหาอุทกภัยภายในประเทศ หรือขยายตัวร้อยละ 1.3 จากไตรมาสก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (%qoq_sa) จากการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่การส่งออกสุทธิไม่ขยายตัว วันที่ 5 มิ.ย. 55 ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง จากร้อยละ 3.75 ต่อปี เหลือร้อยละ 3.50 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่าสุดนับตั้งแต่ปี 52 จากความเสี่ยงจากอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มชะลอลง ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศมีแนวโน้มแผ่วลงมูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 55 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากชวงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนาเข้าเดือน เม.ย. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 11.0
Taiwan: worsening economic trend
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 55 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารและผักสดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 55 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ -6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการส่งออกไปยูโรโซน สหรัฐฯ และจีน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 55 หดตัวร้อยละ -10.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.1
South Korea: mixed signal
- GDP ไตรมาส 1 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 1.3 หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (%qoq_sa)จากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวเร่งขึ้น ท่ามกลางอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ชะลอลง วันที่ 8 มิ.ย. 55 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี เพื่อรอดูสถานการณ์จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อปี 55 ยังคงอยู่ในระดับสูง
Hong Kong: worsening economic trend
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน พ.ค. 55 ปรับตัวลดลงตาสุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 49.4 สะท้อนการหดตัวของภาคการผลิต
Weekly Financial Indicators
- ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าอยู่ในระดับตากว่า 1,130 จุด และมีความผันผวนระหว่างวันสูง จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ในยุโรป โดยเฉพาะช่วงต้นสัปดาห์ที่ Moody's ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ในเยอรมนีและออสเตรีย ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศมีความวิตกและเทขายหลักทรัพย์จำนวนมาก ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5 - 7 มิ.ย. 55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -1,992 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะกลางของไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน ประกอบกับการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยยังคงเป็นขาลง ทาให้นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัต รที่อายุไม่เกิน 10 ปี ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรดังกล่าวปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5 - 7 มิ.ย. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 13,523 ล้านบาท
- ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยปิดที่ระดับ 31.47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 7 มิ.ย.55 แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 1.04 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลภูมิภาคและเงินสกุลหลักอื่นๆ โดยเฉพาะยูโร ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน จากเงินทุนไหลเข้าในตลาดพันธบัตรเป็นสาคัญ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากกว่าสกุลเงินของคู่ค้าสาคัญทาให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.91
- ราคาทองคาปรับตัวลดลง หลังจากปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 7 มิ.ย.55 ปิดที่ 1,588 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,616 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th