Macro Morning Focus ประจำวันที่ 14 มิถุนายน 2555
Summary:
1. กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.0
2. ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือน พ.ค.55 ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.4
3. ธนาคารโลกเตือนประเทศกำลังพัฒนาเตรียมรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลก
Highlight:
1. กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.0
- คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวได้ดีเกินคาดและมีสัญญาณขยายตัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยก็ยังต้องเผชิญความเสี่ยงของเศรษฐกิจยุโรปที่มีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่คาดไว้เดิมจากปัญหาด้านการเงินของกรีซและสเปน และอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งเศรษฐกิจเอเชียที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก
- สศค. วิเคราะห์ว่า การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.0 จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติอุทกภัย โดยล่าสุด เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนในเดือน เม.ย. 55 สามารถขยายตัวได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ สามารถขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนก็มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 21.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยุโรปที่มีสัญญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจนทาให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ตลาดการเงิน การไหลเข้าออกของเงินทุน และการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรนดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและสามารถรักษาระดับเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย โดย สศค. คาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 55 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.25 โดยมีช่วงการคาดการณ์ร้อยละ 2.75 — 3.75 (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 55)
2. ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือน พ.ค. 55 ปรับตัวลดลงร้อยละ -1.4
- เลขาธิการสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) แถลงภาพรวมราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 55 ปรับตัวลดลงร้อยละ -1.4 เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. โดยราคาสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ส่วนราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้น ได้แก่ สุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่ ขณะที่การผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าที่มีผลผลิตสูงขึ้น ได้แก่ ยางพารา ทุเรียน และเงาะโรงเรียน ส่วนสินค้าที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า มันสำปะหลัง และสุกร ทั้งนี้คาดการณ์ว่าในเดือน มิ.ย. 55 ดัชนีผลผลิตจะลดลงเล็กน้อยเนื่องจากผลผลิตข้าวนาปรังได้เลยช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดแม้จะมีผลไม้ภาคใต้เริ่มเข้าสู่ตลาดแล้วก็ตาม
- สศค.วิเคราะห์ว่า ราคาสินค้าเกษตรได้ปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือน พ.ย. 54 เนื่องมาจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง ซึ่งส่งผลให้รายได้เกษตรกรที่แท้จริงลดลง ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดในเดือน เม.ย. 55 รายได้เกษตรกรที่แท้จริงลดลงร้อยละ -15.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อช่วยพยุงราคาสินค้าเกษตรผ่านธนาคารเพื่อการเกษตและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เช่น โครงการแทรกแซงตลาดมันสาปะหลัง ปี 54/55 โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการรับจานาข้าวเปลือกนาปรังปี 55 เป็นต้น ซึ่งมีวงเงินรวมประมาณ 410.0 พันล้านบาท โดย สศค. คาดว่า จากการดาเนินเนินมาตรการดังกล่าวของรัฐบาล เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 27.0 พันล้านบาท และหากนำเงินจานวนดังกล่าวไปจับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรที่มีค่าความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภค (Marginal propensity to consume : MPC) สูง ซึ่งจะทาให้มีเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นรวม 67.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.6 ต่อ GDP
3. ธนาคารโลกเตือนประเทศกำลังพัฒนาเตรียมรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลก
- ธนาคารโลก (World Bank) รายงานว่า ประเทศกาลังพัฒนาควรจะเตรียมตัวรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่น่าจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน โดยธนาคารโลกคาดการณ์การเติบโตของประเทศกาลังพัฒนาว่าจะชะลอตัวลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.3 5.9 และ 6.0 ในปี 55-57 ตามลาดับ ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีรายได้สูงจะลดลงร้อยละ 1.4 1.9 และ 2.3 ในปี 55-57 ตามลำดับ โดยรวมการเติบโตของเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 3.0 และ 3.3 ตามลาดับ ในช่วงปี 55-57 ทั้งนี้ ประเทศกาลังพัฒนาควรกลับมาให้ความสาคัญกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะกลาง และในขณะเดียวกันก็เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น จากความผันผวนที่มากขึ้นจะเพิ่มปัจจัยต้านที่มีอยู่แล้วต่อเศรษฐกิจ ทั้งจากเรื่องการตัดลดงบประมาณรายจ่าย การตัดสัดส่วนหนี้สินของภาคธนาคาร และข้อจากัดด้านความสามารถในการพัฒนาประเทศ
- สศค. วิเคราะห์ว่า วิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากเศรษฐกิจของยุโรปมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของโลก ซึ่งอาจส่งผลให้การส่งออกของประเทศกาลังพัฒนาลงลด และสถานการณ์ของตลาดทุนของโลกและทัศนคติของนักลงทุนที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจยังคงมีความผันผวน ส่งผลให้การกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นไปได้ยาก ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ ประเทศกำลังพัฒนาควรจะมุ่งเน้นการปฏิรูปการเพิ่มผลิตภาพและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมๆ กับการรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะการณ์เศรษฐกิจโลก ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาควรที่จะเลือกใช้นโยบายเพื่อลดความเสี่ยงลงโดยการปรับลดหนี้ระยะสั้น อาทิ การลดการขาดดุลของงบประมาณและกลับมาใช้นโยบายการเงินที่เป็นกลางมากขึ้น จะทำให้ประเทศมีช่องว่างในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบผ่อนคลายได้ หากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเลวร้ายลง
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th