รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 15 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 15, 2012 16:06 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 15 มิถุนายน 2555

Summary:

1. การส่งออกข้าวไทยมีความท้าทายมาก จากราคาที่สูงขณะที่ปริมาณผลผลิตต่อไร่น้อย

2. กลุ่มบริษัทเครดิตสวิซและธนาคารดอยซ์แบงก์ลดประมาณการณ์เศรษฐกิจจีนในปี 55

3. Moody’s ลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสเปนลงมาที่ Baa3 จาก A3

Highlight:
1. การส่งออกข้าวไทยมีความท้าทายมาก จากราคาที่สูงขณะที่ปริมาณผลผลิตต่อไร่น้อย
  • กระทรวงพาณิชย์ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยเปิดเผยผลการจัดทายุทธศาสตร์ส่งเสริม 4 กลุ่มสินค้าส่งออกหลักของไทย คือ ข้าว ผลไม้ สิ่งทอ และธุรกิจบริการที่มีโอกาสส่งออกได้อีกมาก ว่าการส่งออกข้าวไทยมีความท้าทายมากที่สุด จากการที่ปริมาณผลผลิตต่อไร่ต่า ขณะที่ราคาสูงขึ้นมาก โดยราคาข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งประมาณ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทาให้ข้าวไทยส่งออกได้ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นความท้าทายในการรักษาตลาดข้าวเดิมและการหาตลาดใหม่
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ราคาข้าวที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน เป็นผลมาจากคุณภาพข้าว ปัจจัยด้านอุปสงค์ และปัจจัยด้านอุปทานประกอบกัน โดยคุณภาพของข้าวไทยนั้นสูงกว่าคุณภาพข้าวที่ส่งออกมาจากประเทศอื่นทาให้ราคาข้าวไทยสูงกว่า ในด้านอุปสงค์ต่อข้าวก็ยังอยู่ในระดับสูงและนโยบายรับจานาข้าวเพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกรที่ประกันไว้ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดโลก ส่วนอุปทานข้าวที่ผลิตได้ในปัจจุบันลดลง เนื่องจาก 2 ใน 3 ของผลผลิตข้าวทั้งหมดเป็นข้าวนาปีที่ต้องอาศัยสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมจึงจะทาให้ได้ผลผลิตสูงและได้คุณภาพ แต่ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวนในช่วงนี้ทาให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง อย่างไรก็ตาม มาตรการภาครัฐในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะในส่วนของชลประทาน น่าจะส่งผลดีต่อปริมาณการผลิตข้าวให้เพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
2. กลุ่มบริษัทเครดิตสวิซและธนาคารดอยซ์แบงก์ลดประมาณการณ์เศรษฐกิจจีนในปี 55
  • กลุ่มบริษัทเครดิตสวิซและธนาคารดอยซ์แบงก์ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจจีนปี 55 โดยกลุ่มบริษัทเครดิตสวิซปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจจีนลงจากร้อยละ 8.0 เป็นร้อยละ 7.7 ขณะที่ธนาคารดอยซ์แบงก์ปรับลดจากร้อยละ 8.2 เหลือร้อยละ 7.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากคาดการณ์อุปสงค์จากนอกประเทศที่ชะลอลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจยูโรโซนซึ่งมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 55
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนที่คาดว่าจะชะลอลงในปี 55 มีปัจจัยหลักมาจากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่มีแนวโน้มชะลอลง ตามการแผ่วลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากเศรษฐกิจยูโรโซนที่เริมเข้าสู่ภาวะถดถอย จากปัญหาหนี้สาธารณะเรื้อรัง ซึ่งยูโรโซนถือเป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ 3 รองจากสหรัฐฯและฮ่องกง และมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 13.9 ของมูลค่าการส่งออกรวมจีนในปี 54 โดยในเดือน เม.ย. 55 การส่งออกไปยังยูโรโซนหดตัวร้อยละ -2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม การที่ทางการจีนได้ดาเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา น่าจะสามารถบรรเทาผลกระทบจากการชะลอลงของเศรษฐกิจโลกได้ในระดับหนึ่ง โดยล่าสุดธนาคารกลางจีนได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ซึ่งคาดว่า ทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจจีนในปี 55 จะขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 8.0 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 7.5 — 8.5 คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 55)
3. Moody’s ลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสเปนลงมาที่ Baa3 จาก A3
  • สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody’s ลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสเปนลง 3 ระดับมาอยู่ที่ Baa3 จาก A3 จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย วิกฤตหนี้สาธารณะ และอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อัตราการผิดชาระหนี้ของรัฐบาลสเปนได้เพิ่มขึ้น จากปริมาณหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ Moody’s ได้ลดระดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลไซปรัสลงเช่นกัน เนื่องจากสถาบันการเงินไซปรัสอาจจะขอเข้ารับการช่วยเหลือทางการเงิน อย่างไรก็ตาม เยอรมันนี ลักซัมเบิร์ก ฟินแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ยังคงเป็นกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปที่รักษาระดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลไว้ที่ AAA ได้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สาเหตุหลักที่ส่งผลให้ระดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลสเปนลดระดับลง เกิดจากการขอความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องของทางการสเปน ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่าสเปนไม่สามารถบริหารจัดการระดับหนี้ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ณ วันที่ 13 มิ.ย. 55 ที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.75 จากร้อยละ 5.1 ณ สิ้นปี 54 บ่งชี้ถึงความกังวลของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นต่อความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินสเปน สะท้อนต้นทุนในการกู้ยืมของทางการสเปนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากสหภาพยุโรปไม่สามารถออกมาตรการเพื่อบรรเทาความกังวลของนักลงทุนได้ อาจส่งผลให้ประเด็นปัญหาดังกล่าวลุกลามกลายเป็นวิกฤตธนาคาร และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจในวงกว้างได้

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ