รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 4 - 15 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 19, 2012 09:40 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. GDP ไตรมาสแรกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7

2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรประจำเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7

3. ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan) เห็นชอบให้คงนโยบายทางการเงินตามเดิม

4. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน 2555 เท่ากับ 333.8 พันล้านเยน

-----------------------------------

1. GDP ไตรมาสแรกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7

Cabinet Office ได้เปิดเผยว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม ของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยคิดเป็นร้อยละ 4.7 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวมากกว่าอัตราที่คาดการณ์ไว้ที่เป็นร้อยละ 4.1 เนื่องมาจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทของบรรดาบริษัทญี่ปุ่นเพื่อฟื้นฟูจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ส่วนการใช้จ่ายส่วนบุคคลปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 แต่การลงทุนสาธารณูปโภคปรับลดลงร้อยละ 3.8 จากร้อยละ 5.4

2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรประจาเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7

Cabinet Office เปิดเผยว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรประจำเมษายน 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 อยู่ที่ 788.6 พันล้านเยน ซึ่งการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน โดยยอดเพิ่มหลักดมาจากคำสั่งซื้อเครื่องจักรในการขนส่งสิ่งค้าจากร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งที่คาดว่าจะเปิดกิจการใหม่

3. ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan) เห็นชอบให้คงนโยบายทางการเงินตามเดิม

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2555 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan: BOJ) ได้เห็นชอบให้คงนโยบายทางการเงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น กาหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0 — 0.1 และการตั้งกองทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินและสินทรัพย์อื่นๆ เป็นจานวน 70 ล้านล้านเยนเป็นต้น ถึงแม้ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเงินของสหภาพยุโรปได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตลาดการเงินทั่วโลกมากขึ้น แต่คณะกรรมการของ BOJ เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้นกาลังฟื้นตัวอย่างคงที่ในปัจจุบันจึงลงความเห็นว่ายังไม่มีความจาเป็นที่จะต้องเพิ่มนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ แต่ให้คงการดาเนินการนโยบายปัจจุบันและเฝ้าดูความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยสาคัญที่ทำให้ BOJ ยังไม่มีการตัดสินใจเพิ่มนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นเนื่องจากในช่วงหลังของเดือนมิถุนายน 2555 จะมีการประชุมและการเลือกตั้งที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมากเช่นการเลือกตั้งของประเทศกรีกในวันที่ 17 มิถุนายน 55 ที่จะมีผลกระทบว่ากรีกจะยังคงใช้เงินสกุลยูโรต่อไปหรือไม่และการประชุม G20 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 -19 มิถุนายน 55 เป็นต้น ดังนั้น หลายฝ่ายจึงคาดว่า BOJ จะรอดูท่าทีและเตรียมประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในที่ประชุมนโยบายทางการเงินของ BOJ ครั้งต่อไปในเดือนกรกฎาคม 2555

4. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน 2555 เท่ากับ 333.8 พันล้านเยน

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน 2555 ลดลงร้อยละ 21 มีมูลค่าเท่ากับ 333.8 พันล้านเยน โดยปัจจัยหลักเป็นการขาดดุลการค้าที่มีมูลค่าเท่ากับ 463.9 พันล้านเยนเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน

โดยการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 อยู่ที่ 5.8855 ล้านล้านเยน โดยปัจจัยจากราคาก๊าสธรรมชาติ (LNG) และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นในด้านการส่งออกนั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 อยู่ที่ 5.4216 ล้านล้านเยน โดยมาจากการส่งออกยานยนต์เพิ่มขึ้น

ญี่ปุ่นมีการขาดดุลการบริการมีมูลค่าเท่ากับ 498.6 พันล้านเยน ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 พันล้านเยนจากเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องจากมีการจ่ายชดเชยค่าประกันในความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนการเกินดุลรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 อยู่ที่ 1.3980 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 13 เดือน รายละเอียดตามตารางที่แนบ

ดุลการชาระเงินระหว่างประเทศประจำเดือนเมษายน 2555

(Balance of Payments)

หน่วย: พันล้านเยน

               รายการ                                             เมษายน 2555       เมษายน 2554
1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance)                             333.8             423.9
   (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                         (-21.2)           (-69.6)
 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance)                      -962.5            -792.1
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                         (21.5)              (-)
   1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance)                                     -463.9            -412.0
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                         (12.6)              (-)
    การส่งออก (Exports)                                              5,421.6           4,879.8
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                         (11.1)           (-12.7)
    การนำเข้า (Imports)                                              5,885.5           5,291.8
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                         (11.2)            (12.2)
   1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance)                                  -498.6            -380.1
 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income)                                1,398.0           1,302.2
 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers)                                 -101.6             -86.1
2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance)             -30.4          -1,085.2
 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance)                          -28.5          -1,031.6
     การลงทุนโดยตรง (Direct Investment)                               -880.9            -590.4
     การลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment)                        8,608.5             628.2
     การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives)           -330.7            -208.7
     การลงทุนอื่นๆ (Other investments)                                -7,425.5            -860.6
 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance)                                 -1.9             -53.6
3. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets)           285.4              63.1

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ