รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 20, 2012 12:14 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2555

Summary:

1. ประเมินสถานการณ์หลังการเลือกตั้งกรีซส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย

2. โตโยต้า เผยตลาดรถในประเทศ 5 เดือน โตร้อยละ 33.5

3. ที่ประชุมประเทศกลุ่ม G-20 เรียกร้องให้ยุโรปเร่งแก้วิกฤติหนี้สาธารณะ

Highlight:
1. ประเมินสถานการณ์หลังการเลือกตั้งกรีซส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย
  • รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายกรณ์ จาติกวนิช กล่าวว่า หลังจากการเลือกตั้งกรีซต้องรอดูสถานการณ์โดยรวมว่าจะมีผลอย่างไรต่อการรวมตัวของกลุ่มประเทศยุโรป และจะกระทบต่อเศรษฐกิจของยุโรปอย่างไรต่อไป ซึ่งประเทศไทยเป็ นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกมาก ดังนั้นหากกำลังซือ้ จากประเทศในกลุ่มยุโรปลดลง ก็จะส่งผลต่อการค้าขายทัง้ ทางตรงกับยุโรป และทางอ้อมกับประเทศที่เป็นคู่ค้าของยุโรปอีกทอดหนึ่ง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า วิกฤตเศรษฐกิจยุโรปได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออกของไทยแล้วโดยการส่งออกของไทยไปยุโรปมีสัดส่วนร้อยละ 9.4 ของมูลค่าการส่งออกรวม โดยในเดือนเม.ย. 55 หดตัวร้อยละ -11.4 และการส่งออก 4 เดือนแรกหดตัวลงร้อยละ -15.6 ทั้งนี้ ภายหลังการเลือกตั้งกรีซ รัฐบาลชุดใหม่จะนำมาตรการรัดเข็มขัดมาใช้เพื่อสร้างวินัยทางการคลัง ซึ่งสศค. ประเมินเศรษฐกิจยุโรปคาดว่ายุโรปจะหดตัวลงที่ร้อยละ -0.9 ถึง -1.6 ในปี 55 อย่างไรก็ตาม หากวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปมีความรุนแรงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยในทางอ้อมได้เช่นกัน เนื่องจากการค้าขายในภูมิภาคเอเชียยังคงพึ่งพาอุปสงค์ขั้นสุดท้าย (Final Demand) จากนอกภูมิภาคเป็นหลักโดยเฉพาะยุโรปและสหรัฐฯ โดยงานวิจัยของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) (ณ เดือน ส.ค. 53) ประเมินว่าการค้าสินค้าอุตสาหกรรมภายในภูมิภาค(Intra-regional trade in manufacturing goods) ของเอเชียตะวันออกจัดเป็ นอุปสงค์ขั้นสุดท้ายเพียงร้อยละ 44.4 เท่านั้น
2. โตโยต้า เผยตลาดรถในประเทศ 5 เดือน โตร้อยละ 33.5
  • โตโยต้าเผย ตลาดรถยนต์สะสม 5 เดือน มีปริมาณการขาย 483,052 คัน เพิ่มขึน้ ร้อยละ 33.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี ที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึน้ ร้อยละ 22.6 ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึน้ ร้อยละ 42.2 เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ดีความต้องการของตลาดรถยนต์ที่มีอยู่สูงตัง้ แต่ต้นปี ประกอบกับการผลิตที่เริ่มกลับเข้าสู่ระดับปกติ ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนการเติบโตของตลาดรถยนต์
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์เชิงพาณิชย์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 55 ที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนถึงร้ อยละ 33.5 สะท้อนการบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชนที่กลับมาสะท้อนถึงการฟื้นตัวตัวอย่างชัดเจนจากวิกฤตอุทกภัยในช่วง

ปลายปี 54 นอกจากนี้ การผลิตภาคยานยนต์สามารถกลับผลิตได้ตามปกติ สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หมวดยานยนต์ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 55 ที่ขยายตัวร้อย 19.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน

3. ที่ประชุมประเทศกลุ่ม G-20 เรียกร้องให้ยุโรปเร่งแก้วิกฤติหนี้สาธารณะ
  • การประชุมวันที่ 2 ของการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศกลุ่ม G-20 ที่โลสกาโบส ประเทศเม็กซิโก มีประเด็นสำคัญที่จะต้องหารือกันคือ การสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการสร้างงานในภาวะที่เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวลง ทัง้ นี คาดกันว่าที่ประชุมจะตอบรับแผนปฏิบัติการ Los Cabos Action ซึ่งเน้นการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างงาน การลงทุนในด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน การส่งเสริมการค้า และการยึดมั่นในการลดการขาดดุลงบประมาณ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปที่เรื้อรังและยังมีข้อจำกัดในการใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะความพยายามในการลดงบประมาณรายจ่ายเพื่อลดการขาดดุลการคลังของรัฐบาลและระดับหนี้สาธารณะได้ส่งผลด้านลบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของยูโรโซนที่มีสัญญาณถดถอยอย่างชัดเจน โดยล่าสุด GDP ในไตรมาสที่ 1 ปี 55 หดตัวร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วไม่มีการขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง โดยในเดือน เม.ย. 55 อยู่ที่ร้อยละ 11.0 ของกำลังแรงงานรวม นอกจากนี้ สถานการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆ ที่เกิดขึน้ ยังส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะด้วยเช่นกัน เช่น ตลาดการเงินเกิดความผันผวนจากความกังวลของการเลือกตั้งของกรีซที่กรีซอาจจะต้องออกจากยูโรโซน แม้ว่าผลการเลือกตั้งในภายหลังพรรคประชาธิปไตยใหม่ซึ่งคว้าคะแนนเสียงมาเป็นอันดับ 1 จะมีนโยบายยอมรับมาตรการรัดเข็มขัด รวมถึงแผนการกู้เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยควรต้องติดตามสถานการณ์ของยูโรโซนอย่างใกล้ชิดเนื่องจากยูโรโซนเป็ นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับ 3 ของไทยที่มีสัดส่วนร้อยละ 9.4 ของการส่งออกรวมในปี 54 โดย สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ EU ในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ -0.9 (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ