วิกฤติเศรษฐกิจยุโรป: ผลกระทบต่อไทยและนัยเชิงนโยบาย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 20, 2012 13:46 —กระทรวงการคลัง

I. สรุปภาวะเศรษฐกิจยุโรป
  • ขณะนี้เศรษฐกิจหลายประเทศในเขตยูโรโซนประสบปัญหาวิกฤติใน 3 รูปแบบพร้อมๆ กัน

(1) วิกฤติการคลัง (Fiscal Crisis) จากการขาดดุลการคลังและหนี้สาธารณะในระดับสูง ทำให้ตลาดเงินขาดความเชื่อมั่นในความสามารถชาระหนี้ เช่น กรีซ โปรตุเกส

(2) วิกฤติธนาคาร (Banking Crisis) เกิดจากธนาคารปล่อยกู้หละหลวมในอดีต ทาให้หนี้เสียสูงและทุนไม่พอ เกิด Deposit Run และขาดสภาพคล่องรุนแรง เช่น ไอร์แลนด์ และสเปน

(3) วิกฤติเศรษฐกิจ (Economic Crisis) เกิดจากการตัดลดการขาดดุลรัฐบาลและเอกชนขาดสภาพคล่อง ทาให้ธุรกิจล้มละลายและคนตกงานจานวนมาก เศรษฐกิจจึงหดตัวรุนแรง

  • มาตรการในการแก้ปัญ หาของยุโรปในปัจจุบัน จาแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

(1) มาตรการแก้ปัญหาสภาพคล่องระยะสั้น (Liquidity Problem) เช่น

  • ให้ ECB เพิ่มสภาพคล่องอัตราดอกเบี้ยต่าให้แก่สถาบันการเงิน (Long-term Refinancing Operation)
  • ให้ ECB เข้ารับซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่ประสบปัญหา (SMP Program)
  • การตั้งกองทุนชั่วคราววงเงิน 4.4 แสนล้านยูโรเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ (EFSF: European Financial Stability Facility)
  • กาลังตั้งกองทุนถาวรวงเงิน 5 แสนล้านยูโรเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ (ESM: European Stability Mechanism) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ในเดือนก.ค. 2555 นี้

(2) มาตรการในการแก้ปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว (Solvency Problem) เช่น

  • การตัดหนี้สูญอย่างสมัครใจ (PSI) ให้แก่รัฐบาลกรีซ
  • การตั้งเงื่อนไขให้ประเทศที่ขาดดุลสูงและหนี้สูงต้องลดการขาดดุลและลดหนี้ภายในเวลาที่จากัด
ประเด็นสาคัญในยุโรปที่ต้องจับตาในปัจจุบัน ซึ่งอาจทำให้การเงินโลกผันผวนในระยะเร่งด่วน

(1) ปัญหาการเมืองที่สืบเนื่องจากการเลือกตั้งกรีซ ในวันที่ 17 มิ.ย. ซึ่งหากฝ่ายซ้ายที่ต่อต้าน IMF/EU/ECB ได้จัดตั้งรัฐบาล จะมีผลทาให้กรีซต้องถูกบังคับออกจากการใช้เงินสกุลยูโร

(2) ปัญหาวิกฤติธนาคารในสเปน ที่ยังไม่มีรายละเอียดของการขอรับความช่วยเหลือ 1 แสนล้านยูโรจาก EU/ECB ทาให้ตลาดเงินกังวลต่อภาระหนี้รัฐบาลสเปนที่จะเพิ่มขึ้นอีกถึง 9% ของ GDP และกังวลเกี่ยวกับสิทธิในการทวงหนี้ของเจ้าหนี้ในปัจจุบันที่อาจอยู่ลาดับหลังถัดจากเจ้าหนี้ EU/ECB ทาให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสเปนสูงขึ้น

(3) ตลาดเงินเริ่มขาดความมั่นใจในประเทศอิตาลีและไซปรัส ที่อาจต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเช่นเดียวกับสเปน

(4) ความไม่เพียงพอของเงินกองทุนในการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน โดยเฉพาะกองทุนชั่วคราว EFSF ที่มีวงเงิน 4.4 แสนล้านยูโร แต่ได้ถูกนาไปใช้ช่วยเหลือกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส แล้วถึงกว่า 2 แสนล้านยูโร ซึ่งอาจไม่เพียงพอหากสเปนต้องขอรับความช่วยเหลืออย่างเต็มรูปแบบ (ขณะนี้สเปนขอวงเงินแค่ช่วยเพิ่มทุนธนาคารเท่านั้น)

(5) ปัญหาการเมืองในยุโรปที่ทาให้ไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติได้อย่างเด็ดขาด อาจจะส่งผลให้ตลาดเงินขาดความมั่นใจในการแก้ปัญหาวิกฤติในยุโรป โดยเฉพาะในประเด็นที่เยอรมนียังต้องการเน้นการแก้ปัญ หาด้วยความเข้มงวดในวินัยการคลัง แต่ฝรั่งเศสต้องการเน้นการแก้ปัญหาด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้นายุโรปยังมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการจัดตั้งระบบประกันเงินฝากในยุโรป EU-wide Deposit Guarantee และ Eurobond ซึ่งจะเป็นกลไกสาคัญที่จะช่วยป้องกันการลุกลามของวิกฤติในยุโรป

II. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและธุรกิจไทย ผ่าน 2 ช่องทางหลัก

(1) ช่องทางการเงิน (Financial Channel)

ผลกระทบทำงตรง: มีไม่มำกและฐำนะกำรเงินไทยที่แข็งแกร่งจะรองรับควำมเสี่ยงได้

  • นักลงทุนต่างชาติที่ประสบวิกฤติในยุโรปแห่ถอนเงินลงทุนจากไทย (Deleveraging Effect) อย่างไรก็ดี ทุนสารองระหว่างประเทศของไทยล่าสุดที่อยู่ที่ 172 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่มีมากกว่าหนี้ต่างประเทศของไทยที่ 121 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ น่าจะเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากการถอนเงินลงทุนจากไทยได้
  • สถาบันการเงินไทยขาดทุนจากการลงทุนในสินทรัพย์ในยุโรปที่ประสบปัญ หา อย่างไรก็ดี ระบบธนาคารไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศมีเงินลงทุนประมาณ 2% ของสินทรัพย์รวม ขณะที่มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์อยู่สูงถึง 15.3% ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลที่ 8.5% ดังนั้น เงินกองทุนที่เพียงพอในระบบธนาคารน่าจะเพียงพอที่จะรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนต่างประเทศได้อย่างดี

นอกจากนี้ กองทุนรวมมีปริมาณการลงทุนเพียง 1% ของมูลค่าสินทรัพย์ในกองทุนทั้งหมด

ผลกระทบทำงอ้อม: มีควำมเสี่ยงทำงอ้อมจำกสถำบันกำรเงินคู่ค้ำประสบปัญหำและตลำดเงินตลำดทุนโลกที่ผันผวน

  • แม้ว่าความเสียหายโดยตรงของสถาบันการเงินไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศในภาพรวมจะมีน้อย แต่สถาบันการเงินไทยอาจมีความเสี่ยงทางอ้อมจากคู้ค้าทางการเงินของสถาบันการเงินที่ประสบปัญ หาขาดทุนจากการลงทุนในยุโรป (Counterparty Risks)
  • ความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและค่าเงินบาท จากการที่นักลงทุนต่างชาติแห่ถอนเงินจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง (Risky Assets) เช่น ตลาดทุนในประเทศเกิดใหม่รวมทั้งไทย ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย (Safe-haven Assets) เช่น พันธบัตรสหรัฐ จะส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ในตลาดทุนไทยลดลง และการไหลออกของเงินทุนอาจส่งผลให้สภาพคล่องในประเทศลดลงและค่าเงินบาทอ่อนลงตามไปด้วย และเมื่อนักลงทุนคลายความกังวลจากวิกฤติยุโรป นักลงทุนต่างชาติจะย้ายเงินกลับมาลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ในตลาดทุนเพิ่มขึ้น และเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้น ดังนั้น ตลาดเงินตลาดทุนจะผันผวนมาก
(2) ช่องทางภาคเศรษฐกิจจริง (Real-sector Channel)

ผลกระทบทำงตรง: ผู้ประกอบกำรที่ค้ำขำยกับประเทศยุโรปที่ประสบวิกฤติจะได้รับผลกระทบโดยตรงจำกรำยได้ที่ลดลงและค่าเงินยูโรที่ผันผวน และมีควำมเสี่ยงจำกกำรที่คู่ค้ำไม่สำมำรถชำระหนี้ได้

ในภาพรวม สัดส่วนการค้าไทยกับประเทศที่ประสบกับวิกฤติ ได้แก่ กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน มีสัดส่วนเพียงไม่ถึง 2% ของการส่งออกของไทย ซึ่งไม่น่าจะกระทบเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมากนัก แต่หากวิกฤติขยายไปยังทั้งสหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกถึงประมาณ 10% ของการส่งออกรวม ก็จะกระทบไทยมาก

  • แต่ในระดับจุลภาค ผู้ส่งออกสินค้าและบริการ (การท่องเที่ยว) ของไทยแต่ละรายอาจจะได้รับผลกระทบแตกต่างกัน โดยอาจได้รับผลกระทบจากยอดคาสั่งซื้อที่ลดลงและรายได้ที่ลดลงจากค่าเงินยูโรที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินบาท โดยหมวดสินค้าที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤติยุโรป 5 อันดับแรก คือ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์ยาง และแผงวงจรไฟฟ้า ขณะที่ด้านการท่องเที่ยวจานวนนักท่องเที่ยว2จากสหภาพยุโรปที่เดินทางเข้าไทยมีสัดส่วนถึงกว่าร้อยละ 20 ของนักท่องเที่ยวรวม ก็น่าจะมีผลกระทบต่อรายได้การบริการของประเทศ
  • ผู้ประกอบการที่ค้าขายกับประเทศในยุโรปที่ประสบกับวิกฤติจะมีความเสี่ยงจากคู่ค้าที่ล้มละลายหรือคู่ค้าที่ไม่สามารถชาระหนี้ได้ (Credit Default Risk)

ผลกระทบทางอ้อม

  • วิกฤติเศรษฐกิจในประเทศอาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อประเทศคู่ค้าสาคัญของไทยอื่นๆ เช่น จีน สหรัฐ และญี่ป่น ที่มีสัดส่วนการส่งออกไปสหภาพยุโรปสูงเช่นกัน ดังนั้น ผู้ส่งออกสินค้าและบริการของไทยอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการส่งออกไปยังประเทศนอกสหภาพยุโรปที่ลดลงด้วย
III. นัยเชิงนโยบายและมาตรการรองรับความเสี่ยงจากวิกฤติในยุโรป
(1) ในเรื่องสร้างความเชื่อมั่นในสถาบันการเงิน
  • สร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณะชนรับทราบถึงฐานะการเงินดี (Capital Adequacy Ratio สูง, NPL ต่ำ, Exposures ต่างประเทศต่ำ) และเสถียรภาพของไทยที่แข็งแกร่ง (ทุนสารองฯสูง ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล หนี้สาธารณะต่า) ทำให้สามารถรองรับความผันผวนจากวิกฤติยุโรปได้
  • มอบหมายให้คณะกรรมการติดตามประสานงานแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Economic Resolution Committee: EERC) ที่มีรมว.คลัง เป็นประธาน และผู้แทนหน่วยงานกากับสถาบันการเงินทั้งหมด ได้แก่ กค. ธปท. กลต. คปภ. ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดตราสารหนี้ ติดตาม Monitor Exposures ของสถาบันการเงินไทยแต่ละแห่งอย่างใกล้ชิด (เคยใช้รูปแบบนี้มาแล้วตอนวิกฤติ Lehman Brother ล้มละลายในปี 2551)
(2) ในเรื่องสภาพคล่องในระบบ
  • ให้ธปท.ดูแลสภาพคล่องเงินบาทให้เพียงพอ (ซึ่งปัจจุบันสภาพคล่องส่วนเกินในระบบที่มีอยู่ถึง 2.1 ล้านล้านบาท ประกอบกับ ธปท.มีความสามารถที่จะเพิ่มเงินในระบบทันทีได้ถึง 5.7 แสนล้านบาท น่าจะเพียงพอที่จะรองรับสภาพคล่องที่ลดลงจากเงินทุนไหลออกได้
  • ให้ธปท.ดูแลสภาพคล่องเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศให้เพียงพอ เพราะในช่วงที่เกิดวิกฤติในตลาดโลก ดอลลาร์สหรัฐจะเป็นที่ต้องการมาก ดังนั้น ธปท.ต้องเตรียมอัดฉีดสภาพคล่องในรูปดอลลาร์ให้เพียงพอกับธุรกรรมต่างประเทศของไทยด้วย (อาจสนับสนุนให้ธปท.ทา Swap Line กับธนาคารกลางประเทศต่างๆ เช่นเดียวกับที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นทากับธนาคารกลางจีน ซึ่งคาดว่าธปท.น่าจะเริ่มทาไปบ้างแล้ว)
  • กระทรวงการคลังร่วมดูแลจังหวะการกู้เงินภาครัฐ ไม่ให้แย่งสภาพคล่องภาคเอกชนใน่ช่วงที่สภาพคล่องขาด (ป้องกันปัญหา Crowding-out Effect) และหากจาเป็น รัฐบาลอาจกู้ต่างประเทศมาช่วยเสริมสภาพคล่องในประเทศได้
(3) ในเรื่องความผันผวนของค่าเงินบาท
  • ให้ธปท.ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินให้สอดคล้องกับค่าเงินของคู่ค้า
  • ให้กระทรวงการคลัง มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยเฉพาะ Exim Bank เป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการในการรับประกันความเสี่ยง (Hedge) จากค่าเงินที่ผันผวน รวมทั้งช่วย Monitor Credit Risks ของคู่ค้าสถาบันการเงินของลูกค้าในต่างประเทศ
(4) ในเรื่องผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม
  • ให้กระทรวงการคลัง เร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่เบิกจ่ายล่าช้า (อันสืบเนื่องมาจการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายปี 2555 ที่ช้ากว่าปกติถึง 4 เดือนในช่วงต้นปีงบประมาณ) ให้สามารถมาเร่งเบิกจ่ายให้ทันภายในสิ้นปีงบประมาณ (แทนที่จะเลื่อนจ่ายไปในปีงบประมาณหน้า) เพื่อให้สามารถมาทดแทนรายได้จากการส่งออกที่ลดลงจากวิกฤติในยุโรป
ให้กระทรวงพาณิชย์ พยายามกระจายตลาดส่งออกไปสู่ประเทศนอกภูมิภาคยุโรปมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่ยังมีโอกาสเติบโตได้ดีและมีแนวโน้มจะใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น เช่น ประเทศในเอเชียตะวันออกและอาเซียนที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจค่อนข้างดี
  • ดำเนินนโยบายการเงินผสมผสานกับนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ (อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันยังมีช่องว่างพอที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ ควบคู่กับ นโยบายการคลังที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้จากหนี้สาธาณะที่อยู่ต่ำแค่ 41% ต่อ GDP)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ