รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 21 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 21, 2012 12:00 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 21 มิถุนายน 2555

Summary:

1. ดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 55 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 106

2. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนทหารไทย จำกัด แนะรัฐสานต่อนโยบาย “เศรษฐกิจสร้างสรรค์”

3. นักลงทุนต่างชาติหันมาถือบอนด์รัฐบาลญี่ปุ่น

Highlight:
1. ดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 55 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 106
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค.55 อยู่ที่ระดับ 106.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 104.0 จากเดือน เม.ย.55 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6
  • สศค.วิเคราะห์ว่า ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ที่เริ่มกลับมาขยายตัว อย่างไรก็ตาม การสารวจ TISI ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประกอบการยังมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน สภาวะเศรษฐกิจโลกจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ดังนี้ (1) ส่งเสริมการบริโภคและการจาหน่ายในประเทศให้มากขึ้น ควบคู่กับการลดค่าครองชีพของประชาชน (2) การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่า 300 บาท ส่งผลให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ดังนั้น ภาครัฐควรมีมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว (3) ควรมีการวางแผนการศึกษาหรือการส่งเสริมการศึกษาให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน เพื่อช่วยลดการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม (4) สนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้า (5) เร่งหามาตรการแก้ปัญหาภัยแล้ง และหามาตรการป้องกันภัยทางธรรมชาติที่ชัดเจน
2. นายทนงฯ แนะรัฐสานต่อนโยบาย “เศรษฐกิจสร้างสรรค์”
  • นายทนง พิทยะ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนทหารไทย จากัด กล่าวในการสัมมนาเรื่อง “ลิขสิทธิ์กับความคิดสร้างสรรค์ในสื่อยุคดิจิทัล และเรียนรู้เออีซี” ว่า รัฐบาลควรสานต่อนโยบาย “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ซึ่งเป็นนโยบายที่ส่งเสริมภาคส่วนธุรกิจที่เน้นการพัฒนาแนวคิด หรือแนวปฏิบัติที่เพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ โดยหลีกเลี่ยงการผลิตสินค้าที่ต้องต่อสู้ด้วยราคาเป็นหลัก ทั้งนี้ นาย ทนง มีความเห็นว่าการดาเนินการนโยบายดังกล่าวควรเกิดขึ้นควบคู่กับการพัฒนาบุคลากร อุตสาหกรรม และการเมือง
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การปรับกระบวนทัศน์ของประเทศสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะมีส่วนช่วยผลักดันให้ประเทศสามารถพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ทั้งนี้ นอกจากการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นศูนย์กลางที่ทางรัฐบาลได้ดาเนินการส่งเสริมอยู่แล้ว อาจเพิ่มเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้อยู่บนแนวคิดของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ และการศึกษาของประชาชนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความท้าทายต่อการปรับใช้แนวคิดดังกล่าว เนื่องจากข้อจากัดของระบบการศึกษา และกฎหมายคุ้มครองสินทรัพย์ทางปัญญา
3. นักลงทุนต่างชาติหันมาถือบอนด์รัฐบาลญี่ปุ่น
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เปิดเผยว่า สัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (เจจีบี) ของนักลงทุนต่างประเทศ อยู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเมื่อสิ้นเดือน มี.ค. ชาวต่างชาติถือครองเจจีบี คิดเป็นมูลค่า 76 ล้านล้านเยน (9.63 แสนล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นร้อยละ 8.3 ของมูลค่าคงค้างของพันธบัตรเจจีบี ทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่ารวมสูงเป็นประวัติการณ์ 919 ล้านล้านเยน สะท้อนว่า นักลงทุนพากันเข้าลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่วิกฤติหนี้ในยุโรปยังไม่มีท่าทีว่าจะคลี่คลายลง แม้ภาระหนี้ของญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูงสุดในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมก็ตาม แต่เจจีบี ก็ยังเป็นที่ต้องการเนื่องจากมีความปลอดภัย ซึ่งความน่าสนใจที่สาคัญของเจจีบีก็คือ พันธบัตรส่วนใหญ่ ถือครองโดยนักลงทุนในประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากเงินออมในภาคครัวเรือนมูลค่าราว 15 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งจะช่วยให้ญี่ปุ่นสามารถฝ่าฟันการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ และหลีกเลี่ยงการโจมตีตลาดได้ แต่การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนการถือครองเจจีบี ของนักลงทุนต่างชาติอาจทาให้เจจีบี เสี่ยงมากขึ้นต่อการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทน
  • สศค.วิเคราะห์ว่า ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยูโรโซนที่เรื้อรัง ได้ส่งผลด้านลบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของยูโรโซน ทาให้ตลาดพันธบัตรของญี่ปุ่นได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขี้น ทาให้ญี่ปุ่นเผชิญปัญหาค่าเงินเยนที่แข็งตัวขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซาและภาวะเงินฝืด IMF ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 และ 1.7 โดยการขาดดุลของภาครัฐอยู่ที่ร้อยละ -10.0 และ -8.7 ต่อ GDP ในปี 2555-56 ตามลาดับ ถึงทาให้ระดับหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่ร้อยละ 235.8 และ 241.1 ต่อ GDP ในปี 2555-56 ตามลาดับ ซึ่งอาจจะทาให้หนี้สินทั้งหมดของประเทศเกินร้อยละ 500 ต่อ GDP อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนการถือครองเจจีบีของนักลงทุนต่างชาติ อาจทาให้เจจีบีมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทน ถ้าหากผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศเริ่มต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ญี่ปุ่นกาลังพยายามอย่างหนักในการสร้างเสถียรภาพให้แก่ฐานะการคลัง อาจจะทาให้นักลงทุนเหล่านี้เทขายพันธบัตรของญี่ปุ่น ซึ่งจะอาจจะนาไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะอย่างยูโรโซนได้

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ