Macro Morning Focus ประจำวันที่ 22 มิถุนายน 2555
1. ไทยออยล์ประมาณการแนวโน้มราคาน้ำมันดิบดูไบในช่วงครึ่งหลังของปี 55 ว่าจะยังคงผันผวน
2. การส่งออกยางพาราไทยไปยังยุโรปเฉลี่ย 4 เดือนแรก หดตัวร้อยละ -33.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
3. สถานการณ์ทางการเมืองกรีซมีแนวโน้มดีขึ้น หลังกรีซสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้
- บมจ.ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันดิบดูไบว่าจะผันผวน โดยเคลื่อนไหวในกรอบ 100-110 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล จากความกังวลต่อวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนและปัจจัยด้านศรษฐกิจของที่ไม่แน่นอน โดยหากกรีซยังคงอยู่ในยูโรโซนและมีแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมแล้วคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะกลับมาอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ทั้งนี้ ปัจจัยที่จะทาให้ราคาน้ามันปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ด้านปัจจัยอุปสงค์ ความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวช่วงครึ่งหลังของปี ในด้านปัจจัยอุปทาน มาตรการคว่าบาตรการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านที่มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ก.ค. 55 และปัญหาความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ได้แก่ ซีเรีย ซูดาน และอิรัก ที่จะส่งผลให้อุปทานน้ามันในตลาดโลกลดลง
- สศค.วิเคราะห์ว่า จากการที่เศรษฐกิจในประเทศขนาดใหญ่ที่ชะลอตัวทั้งยุโรปและจีน ทาให้กาลังซื้อและกาลังการผลิตของสองประเทศผู้นาเข้าน้ามันนี้ลดลง อันจะส่งผลให้อุปสงค์ต่อราคาน้ามันในตลาดโลกลดลง ประกอบกับแนวโน้มการนาเข้าน้ามันของสหรัฐฯ ที่ลดลงนั้น ทาให้ราคาน้ามันในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม ผลทางฤดูกาลที่การนาเข้าน้ามันจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาลหนาวนั้น ทาให้คาดการณ์ได้ว่า ราคาน้ามันในช่วงฤดูหนาวหรือปลายปีนั้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เศรษฐกิลโลกที่ไม่แน่นอนนี้จะทาให้ราคาน้ามันในช่วงครึ่งหลังของปีนั้นยังคงผันผวนตามสภาพเศรษฐกิจ
- ทั้งนี้ สศค. คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ณ สิ้นปี 55 จะอยู่ที่ 118 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล
- นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ติดตามสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจสหภาพยุโรปอย่างใกล้ชิด พบว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย.55 ไทยส่งออกสินค้าเกษตรหมวดอาหารไปสหภาพยุโรปรวม 35, 295 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่มูลค่าการส่งออกยางพาราไปยังสหภาพยุโรปหดตัวร้อยละ -33.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่ากว่า 25,700 ล้านบาท เหลือเพียง 17,125 ล้านบาทเท่านั้น จึงเป็นสินค้าที่ส่งสัญญาณว่าได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหภาพยุโรปอย่างชัดเจน
- สศค. วิเคราะห์ว่า มูลค่าการส่งออกยางพาราไปยังสหภาพยุโรปที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นผลจากราคายางพาราที่ได้ปรับลดลงมาก โดยดัชนีราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ย (ม.ค.—เม.ย.55) หดตัวลงถึงร้อย -32.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดังนั้นเมื่อนามาเทียบกับมูลค่าการส่งออกยางพารายังยุโรปที่หดตัวลงร้อยละ -33.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนนั้น ยังถือว่ายังไม่น่าห่วงมากนัก อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงต้องติดตามสถานการณ์ในยุโรปอย่างใกล้ชิดต่อไป เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยุโรปที่ถดถอยอาจส่งผลกระทบโดยตรงแก่ เศรษฐกิจประเทศที่สาคัญ อาทิ สหรัฐ และจีน ซึ่งมียุโรปเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง และอาจเชื่อมโยงมาสู่ไทยผ่านช่องทางการค้าได้
- สถานการณ์ทางการเมืองกรีซมีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากนายอันโตนิส ซามาราส ผู้นำพรรค New Democracy สาบานตนเข้ารับตาแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของกรีซอย่างเป็นทางการ สร้างความหวังให้แก่ประชาชนชาวกรีซในการจะนาพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายของกรีซในครั้งนี้ได้
- สศค.วิเคราะห์ว่า การที่กรีซสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมภายใต้แกนนาของพรรค New Democracy ผู้ชนะการเลือกตั้งทั่วไปรอบ 2 ของกรีซ เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 55 ที่ผ่านมา ร่วมกับอีก 2 พรรค (พรรค Pasok และพรรค Democratic Left) ทาให้รัฐบาลมีจำนวน ส.ส. ทั้งสิ้น 169 ที่นั่งจาก 300 ที่นั่ง ซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งในรัฐสภา บ่งชี้แนวโน้มเสถียรภาพทางการเมืองของกรีซในอีก 5 ปีข้างหน้า และการที่พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกเป็นรัฐบาลนั้นมีความตั้งใจที่จะสนับสนุนมาตรการรัดเข็มขัดต่อไป ทาให้นักลงทุนมีความมั่นใจในสถานการณ์หนี้สาธารณะมากขึ้น บ่งชี้จากตลาดหุ้นกรีซปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 603.04 จุด ผนวกกับเช้าวันนี้ นักการธนาคารของกรีซหลายคนได้เปิดเผยว่า ชาวกรีซบางส่วนได้นาเงินกลับเข้าไปฝากในธนาคารของกรีซแล้ว นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจกรีซ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ารัฐบาลใหม่กรีซจะเริ่มเข้าหารือและดำเนินการทบทวนข้อตกลงความช่วยเหลือทางการเงินกรีซกับเจ้าหนี้ต่างประเทศและออกมาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาอัตราการว่างงานเฉลี่ยในไตรมาส 1 ปี 55 ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 22.6 ของกำลังแรงงานรวมและอุปสงค์ภายในประเทศที่หดตัวเป็นสาคัญ เพื่อทำให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นตัวได้โดยเร็ว และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจยูโรโซนโดยรวม
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th