รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 25 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 25, 2012 11:42 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 25 มิถุนายน 2555

Summary:

1. เดินหน้า ”ไทยซีเล็คท์” มุ่งโปรโมทสินค้าอาหาร

2. จี้ทูตพาณิชย์ทำงานหนัก พยุงส่งออกปีนี้ให้โตตามเป้าร้อยละ 15.0

3. เกาหลีใต้เผยความเชื่อมั่นภาคธุกิจลดลง 3 ไตรมาสติดต่อกัน เหตุวิตกศก.โลก

Highlight:
1. เดินหน้า ”ไทยซีเล็คท์” มุ่งโปรโมทสินค้าอาหาร
  • รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับกลยุทธ์ในการผลักดันการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารของไทย เพื่อให้ขยายตลาดได้เพิ่มขึ้นทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ เนื่องจากอาหารไทยเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก และเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทารายได้เข้าประเทศ กระทรวงฯได้ของบประมาณปี 2556 จานวน 300 ล้านบาท เพื่อมาผลักดันโครงการ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” และนาโครงการ “Thai Select” (ไทย ซีเล็คท์) มาสานต่อ ซึ่งปี 2555 นี้ ถือเป็นปีแรกที่มีขยายขอบเขตการมอบเครื่องหมาย “Thai Select” ให้กับร้านอาหารไทยในประเทศ ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านการปรุงอาหาร ความสะอาด รสชาติ การตกแต่งร้าน การให้บริการที่มีความเป็นไทย ใช้วัตถุดิบของไทย รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารไทยที่ส่งออก เพื่อให้เครื่องหมาย Thai Select เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
  • สศค.วิเคราะห์ว่า ภาคการส่งออกสินค้าหมวดอาหารที่สาคัญของไทยเรียงตามมูลค่าในปี 54 ประกอบไปด้วย ข้าว สินค้าประมง(โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋อง และกุ้งแช่แข็ง) น้าตาลทราย ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลัง และไก่สดและแปรรูป ซึ่งมีมูลค่า 6.5, 3.1, 3.6, 2.6 และ 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลาดับ โดยมีตลาดหลักคือ จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป รวมถึงประเทศในกลุ่มอาเซียน สาเหตุหลักที่สินค้าอาหารไทยสามารถขายได้ทั่วโลก เนื่องมาจากคุณภาพของสินค้าอาหารไทยที่สูงกว่าประเทศอื่น โดยการสร้างแบรนด์ Thai select ย่อมเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าไทย เนื่องจากเป็นการสร้างมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับให้กับสินค้าไทย อีกทั้งยังเป็นการโปรโมทสินค้าไทยให้ต่างประเทศได้รู้จัก เป็นผลดีต่อการขยายตลาดในอนาคต
2. จี้ทูตพาณิชย์ทำงานหนัก พยุงส่งออกปีนี้ให้โตตามเป้าร้อยละ 15.0
  • รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้ประชุม กับหัวหน้าสานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) โดยมอบหมายให้ทูตพาณิชย์ทั่วโลกจับตาการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ที่จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของยุโรป และเศรษฐกิจโลก รวมถึงให้ติดตามแนวโน้มการส่งออกสินค้าไทย และโอกาสการทาตลาดในประเทศนั้นๆ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของประเทศต่างๆ เชื่อมโยงกับห่วงโซ่การผลิตของไทย เพื่อวางแผนแก้ปัญหา และผลักดันให้การส่งออกสินค้าไทยในปีนี้ขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 15.0
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การส่งออกไทยในปี 55 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 54 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 17.2 โดยในช่วง 4 เดือนแรกปี 55 การส่งออกไทยหดตัวเล็กน้อยร้อยละ -3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 9.4 ของการส่งออกรวม และอาจส่งผลต่อประเทศคู่ค้าหลักประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประเทศคู่ค้าสาคัญของไทย อาทิ ประเทศในกลุ่มอาเซียน และจีนยังขยายตัวตัวได้ดี และจะเป็นประเทศคู่ค้าหลักที่ทาให้การส่งออกไทยขยายตัวได้ในปี 55 ทั้งนี้ ในปี 55 สศค. คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 13.5 ประมาณการ ณ เดือน มี.ค. 55 (สศค. จะปรับประมาณการใหม่ในเดือน มิ.ย.55)
3. เกาหลีใต้เผยความเชื่อมั่นภาคธุกิจลดลง 3 ไตรมาสติดต่อกัน เหตุวิตกศก.โลก
  • ผลการสารวจของหอการค้าและอุตสาหกรรมเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจรายเดือน (BSI) สาหรับไตรมาสเดือนเม.ย.-มิ.ย. ลดลงสู่ระดับ 88 จุด หรือ ลดลง 11 จุด จากตัวเลขประมาณการณ์ที่ 99 จุดในช่วงก่อนหน้านี้ โดยเป็นการลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่งสะท้อนให้ถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจมีผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศในเดือนต่อๆไป
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้ไตรมาส 1 ปี 55 ขยายตัวในอัตราที่ชะลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยสาเหตุหลักมาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่หดตัว โดยในเดือนพ.ค. 55 มูลค่าการส่งออกของเกาหลีใต้หดตัวถึงร้อยละ -13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของการส่งออกของเกาหลีใต้ไปยังประเทศคู่ค้าที่สาคัญ โดยเฉพาะจีน และประเทศในกลุ่มยูโรโซน ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าอันดับต้นๆ ของเกาหลีใต้ ทั้งนี้ สศค.คาดว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้ปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 3.3 ประมาณการ ณ เดือน มี.ค.55 (สศค. จะปรับประมาณการใหม่ในเดือน มิ.ย.55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ