รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 18 - 22 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 25, 2012 12:06 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) เดือน พ.ค.55 มีจานวนทั้งสิ้น 344.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค.55 อยู่ที่ระดับ 106.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 104.0
  • ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ค.55 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 137.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 85.8
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของจีน ในเดือน มิ.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 48.1 จุด
  • มูลค่าการส่งออกญี่ปุ่น ในเดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่มูลค่าการนาเข้า ขยายตัวที่ร้อยละ 9.3
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม ( Markit Manufacturing P MI ) สหภาพยุโรป ในเดือน มิ.ย.55 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.8 จุด
  • วันที่ 18 มิ.ย.55 ธนาคารกลางอินเดียได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 8.00 ต่อปี
Indicators next week
 Indicators                          Forecast            Previous
May: MPI(%YoY)                         1.0                 0.5
  • โดยมีปัจจัยบวกจากการขยายการผลิตอย่างต่อเนื่องในหมวดอุตสาหกรรมหลักๆ ได้แก่ ยานยนต์ และอาหาร ที่กลับมาทาการผลิตได้เต็มกาลัง และการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ อย่างไรก็ดี ในบางอุตสาหกรรมการผลิตยังคงชะลอตัว ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เนื่องจากต้นทุนการผลิตทั้งราคาวัตถุดิบและค่าแรงที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
Economic Indicators: This Week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) เดือน พ.ค. 55 มีจานวนทั้งสิ้น 344.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.7 โดยภาษีที่สาคัญมาจาก (1) ภาษีฐานรายได้จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากนิติบุคคลบางส่วนได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงปลายปีที่ผ่านมา และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ -10.6 (2) ภาษีฐานการบริโภคจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 7.1 สะท้อนการบริโภคที่เพิ่มขึ้น (3) ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 36.0 สะท้อนการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมยานยนต์ภายหลังจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.)ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 55 จานวนทั้งสิ้น 1,296.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.1
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน พ.ค. 55 มีมูลค่า 51.7 พันล้านบาท หรือหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 ตามการลดลงของของภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่จัดเก็บบนฐานการการบริโภคภายในประเทศ ที่หดตัวร้อยละ -19.1 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานสูงเมื่อปีที่แล้วภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวในอัตราเร่ง ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่จัดเก็บบนฐานการนาเข้า ขยายตัวร้อยละ 27.6 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.9
  • ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.3 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อเดือน จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับจานวนที่อยู่อาศัยใหม่ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นสาคัญ ประกอบกับนโยบายภาครัฐในการกระตุ้น ภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วยมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเงินกู้ดอกเบี้ยต่า ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน พ.ค. 55 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นน 144.9 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -31.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนพ.ค. 55 มีการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน 135.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -34.2 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจา 113.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -40.0 (2) รายจ่ายลงทุน 21.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 31.9 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สาคัญได้แก่ รายจ่ายอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 10.1 พันล้านบาท รายจ่ายเพื่อชาระหนี้ของสบน. 8.2 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 3.8 พันล้านบาท และรายจ่ายของกระทรวงกลาโหม 2.9 พันล้านบาท สาหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 9.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 58.6
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ค.55 พบว่าดุลงบประมาณเกินดุลจานวน 26.7 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจานวน 3.3 พันล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุลจานวน 30.0 ล้านบาท ทั้งนี้ ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 55 อยู่ที่ 215.3 พันล้านบาท
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค.55 อยู่ที่ระดับ 106.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 104.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 และเป็นค่าดัชนีที่อยู่ในระดับเกิน 100 เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันหลังอุทกภัยที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นจากราคาน้ามันและค่าแรง การขาดแคลนแรงงาน และความกังวลต่อวิกฤตหนี้ยุโรปที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ค.55 มีจานวน 55,983 คัน หรือขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 137.5 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 23.4 และเมื่อขจัดผลทางฤดูการออก (m-o-m_SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 46.5 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก 1. ปัจจัยฐานที่ต่าจากปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิในประเทศญี่ปุ่น 2. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และ 3. กาลังการผลิตของค่ายรถยนต์ต่างๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทาให้สามารถส่งมอบรถยนต์ให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้น
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ค. 55 มีจานวน 59,960 คัน หรือขยายตัวร้อยละ 85.8 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 35.2 โดยได้รับปัจจัยบวกมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณจาหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน จานวน 5.2 หมื่นคัน หรือขยายตัวร้อยละ 89.4 ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานการคานวณต่าเมื่อปีที่แล้วที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิในประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความนิยมอย่างต่อเนื่องในรถยนต์รุ่นใหม่ทั้งรุ่นที่เพิ่งแนะนาในปี 55 และปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA) ทั้งนี้ ทิศทางการลงทุนในหมวดการก่อสร้างยังคงมีแนวโน้มที่ดีตามการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งยังมีแรงสนับสนุนจากต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ขยายตัวในอัตราชะลอลงตามราคาน้ามันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง สะท้อนจากดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน พ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA)
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค.55 คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยบวกจากการขยายการผลิตอย่างต่อเนื่องในหมวดอุตสาหกรรมหลักๆ ได้แก่ ยานยนต์ และอาหาร ที่กลับมาทาการผลิตได้เต็มกาลัง และการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ อย่างไรก็ดี ในบางอุตสาหกรรมการผลิตยังคงชะลอตัว ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เนื่องจากต้นทุนการผลิตทั้งราคาวัตถุดิบและค่าแรงที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • ยอดบ้านใหม่ที่กาลังก่อสร้าง (Housing Start) เดือน พ.ค. 55 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องเป็นดือนที่ 3 ที่ 708,000 ยูนิต ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 740,000 ยูนิต หรือหดตัวร้อยละ -4.8 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจยทางฤดูกาลแล้ว)
China: mixed signal
  • ราคาบ้าน เดือน พ.ค. 55 หดตัวร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 แม้ว่ารัฐบาลจีนได้ดาเนินมาตรการทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจีนในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบื้องต้น HSBC) เดือน มิ.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 48.1 จุด โดยอยู่ที่ระดับต่ากว่า 50 จุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ส่งสัญญาณการหดตัวของภาคอุตสาหกรรม จากดัชนีคาสั่งซื้อใหม่สินค้าส่งออกที่ลดลงต่าสุดที่ระดับ 45.9
Euro Zone: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(Markit Composite PMI) (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน มิ.ย. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 46.0 จุด โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ( Markit Service PMI) (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน มิ.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 46.8 จุด ขณะที่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม ( Markit Manufacturing PMI) (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน มิ.ย. 55 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.8 จุด ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ต่ากว่า 50 จุด โดยมีสาเหตุสาคัญมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในยูโรโซนเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย จากวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่ม PIIGS โดยเฉพาะปัญหาสภาพคล่องของธนาคารสเปนเริ่มเข้าขั้นวิกฤตมากขึ้น ผนวกกับปัญหาอัตราการว่างงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศหดตัวลง ผนวกกับการขาดความเชื่อมั่นจากนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในพันธบัตรของประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชาระสูง
Japan: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อน จากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ขยายตัวเร่งขึ้น ผนวกกับมูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ค. 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการที่ญี่ปุ่นยังคงต้องนาเข้าสินค้าด้านเชื้อเพลิงและพลังงานอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันรัฐบาลญี่ปุ่นจาเป็นต้องเร่งนาเข้าสินค้าทุนเพื่อดาเนินการฟื้นฟูโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิอย่างเร่งด่วน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน พ.ค. 55 ขาดดุลอยู่ที่ -907.3 พันล้านเยน หรือ -11.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
India: mixed signal
  • วันที่ 18 มิ.ย.55 ธนาคารกลางอินเดียได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ ร้อยละ 8.00 ต่อปี จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 55 เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวต่าสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากการลงทุนในประเทศที่ชะลอลง ผนวกกับภาคการส่งออกของอินเดียแผ่วลงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งจากการที่เศรษฐกิจยูโรโซนซึ่งเป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ 1 ของอินเดีย โดยมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 13.8 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 54 เริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือน พ.ค. 55 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารและพลังงานที่ยังขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่อง ปัจจัยดังกล่าวถือเป็นความท้าทายสาคัญในการดาเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางอินเดียในระยะต่อไป
Taiwan: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 55 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อย ละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือหดตัวร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) สอดคล้องกับการหดตัวของการส่งออกในเดือน พ.ค. 55 ที่ร้อยละ -6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากการที่อุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ของไต้หวันเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก บ่งชี้การชะลอลงของอุปสงค์จากนอกประเทศ ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2 โดยจานวนคนว่างงานอยูที่ 482,000 คน หรือเพิ่มขึ้น 8,000 คนจากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้การชะลอลงของอุปสงค์ในประเทศ
Hong Kong: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 55 อยูที่ร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยุที่ร้อยละ 4.7 จากการปรับตัวลดลงของราคาอาหาร ผนวกกับราคาเช่าบ้านเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้คาดว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้อจะลดลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 55 จาก (1) เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลง ตามการแผ่วลงของเศรษฐกิจโลก และ (2) ราคาสินค้านาเข้าที่คาดว่าจะชะลอลงต่อเนื่อง ตามการปรับตัวลดลงของราคาน้ามันในตลาดโลกขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 55 อยุที่ร้อยละ 3.2 ของกาลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยุที่ร้อยละ 3.3 โดยจานวนคนว่างงานอยูที่ 123,400 คน หรือลดลง 1,300 คนจากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างรก็ตาม เศรษฐกิจฮ่องกงยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากอุปสงค์จากนอกประเทศ ทั้งจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรโซน และการชะลอลงของเศรษฐกิจจีน
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ และปรับตัวลดลงรวดเร็วถึง 14 จุดมาอยู่ที่ 1,159.05 จุด ณ วันที่ 21 มิ.ย.55 จากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ สถาบันในประเทศ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์รวมเป็นจานวนถึง 1,888 ล้านบาทในวันเดียว จากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ และการที่ Moody ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อของธนาคาร 15 แห่งทั่วโลก ได้เพิ่มความกังวลให้กับนักลงทุน ทาให้ปริมาณเงินในตลาดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 18 - 21 มิ.ย.55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -2,633.73 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่พันธบัตรอายุ 3 ปีขึ้นไป จากกการที่นักลงทุนเข้าเริ่มปรับพอร์ตการลงทุนมาถือพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวมากขึ้น สาเหตุหลักมาจาก operation twist ของ Fed ที่อาจทาให้ผลตอบแทนของพันธบัตรในระยะต่อไปปรับตัวลดลง จึงทาให้การถือพันธบัตรระยะยาวมีความเสี่ยงด้านผลตอบแทนลดลง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 18- 21 มิ.ย.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 14,128.57 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างชัดเจน โดย ณ วันที่ 21 มิ.ย.55 ปิดที่ระดับ 31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ -0.20 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลเยน ยูโร และดอลลาร์สิงคโปร์ โดยดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ลดลงจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ 100.95 จุด
  • ราคาทองคาปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยราคาทองคา ณ วันที่ 21 มิ.ย.55 ปิดที่ 1,564.69 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,627.79 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ