รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 28 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 28, 2012 14:51 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 28 มิถุนายน 2555

Summary:

1. รมว.คลังย้ำวิกฤตยูโรรุกคืบศก.ไทย กระตุ้น รมต.เศรษฐกิจรับมือ ธปท.เชื่อไม่ซ้ำรอบต้มยำกุ้ง

2. นายธีระชัย เตือนรัฐบาลควรลดรายจ่ายไม่จำเป็นออกเพื่อรับมือวิกฤตการณ์ยูโร

3. ฝรั่งเศสวางแผนลดค่าใช้จ่ายสาธารณะ 1 พันล้านยูโร หวังบรรลุเป้าขาดดุลงบฯ

Highlight:
1. รมว.คลัง ย้ำวิกฤตยูโรรุกคืบศก.ไทย กระตุ้น รมต.เศรษฐกิจรับมือ ธปท.เชื่อไม่ซ้ำรอบต้มยำกุ้ง
  • รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ที่ผ่านมาเกี่ยวกับรายงานสถานการณ์วิกฤติการเงินในยูโรโซนว่า ล่าสุด ประเทศไซปรัสถือเป็นประเทศที่ 5 ที่แสดงความประสงค์จะขอรับการช่วยเหลือทางการเงิน ซึ่งเป็นสัญญาณตอกย้ำว่าวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปจะส่งผลกระทบมาถึงไทยในไม่ช้า รวมถึงสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้ปรับลดเครดิตของธนาคารในสเปน 28 แห่ง จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการปรับลดเครดิตของธนาคารทั่วโลกรวม 15 แห่ง ขณะที่ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมหภาคฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ก่อนหน้านีต้ ลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกได้ตอบรับกับผลการเลือกตั้งในเชิงบวกของกรีซไปแล้ว แต่ขณะนี้ตลาดทุนและตลาดเงินในทั่วโลกได้รับแรงกดดันอีกครั้ง โดยนักลงทุนผิดหวังกับการที่สหรัฐและยุโรป ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งช่วงนีมี้ปริมาณเงินทุนไหลออกจากประเทศไทยบ้าง แต่ยังถือเป็นภาวะปกติ เนื่องจาก ความเสี่ยงในตลาดโลกมีมากขึ้นทำให้นักลงทุนบางส่วนอาจหันกลับไปถือครองดอลลาร์เพิ่มขึน้ บ้าง แต่ไม่ได้มากมายจนน่ากังวล
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาวิกฤติยูโรโซนเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น สะท้อนได้จากการส่งออกไปยุโรปหดตัวร้อยละ -15.6 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 55 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยังคงมีพืน้ ฐานที่แข็งแกร่ง ซึ่งสะท้อนได้จากเสถียรภาพทางด้านการคลังและภาคการเงิน จากหนี้สาธารณะในเดือนเมษายน 55 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 42.4 ทำให้รัฐบาลสามารถใช้นโยบายขาดดุล เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ ขณะที่เสถียรภาพด้านการเงิน อัตราส่วนเงินทุนของสถาบันการเงินต่อความเสี่ยง (Capital Adequacy Ratio) อยู่ในที่ร้อยละ 15.3 (สูงกว่ามาตราฐานที่ร้อยละ 8.5) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ในเดือนมีนาคม 55 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.3 นอกจากนี้เสถียรภาพภายนอกประเทศยังคงแข็งแกร่ง โดยที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 179.0 ณ เดือนเมษายน 55 ทำให้มั่นใจได้ว่า เศรษฐกิจไทยจะสามารถรองรับวิกฤติยูโรได้ในระยะต่อจากนี้ไป
2. นายธีระชัย เตือนรัฐบาลควรลดรายจ่ายไม่จำเป็นออกเพื่อรับมือวิกฤตการณ์ยูโร
  • นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เตือนรัฐบาลควรลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกเพื่อไปเพื่อที่จะมีงบประมาณเหลือมากพอที่จะสู้หรือรับมือวิกฤตการณ์ยูโร เนื่องจากเห็นว่าขณะนีรั้ฐบาลไทย กำลังใช้จ่ายเกินตัวและหากไม่ระมัดระวังหนี้สาธารณะที่ปัจจุบันประมาณ 40% ต่อGDP ก็อาจจะเพิ่มขึ้นได้ เพราะเมื่อ GDP ประเทศลดลงย่อมทำให้สัดส่วนหนี้เพิ่มขึ้นทันที ประกอบกับสถาบันการเงินไทยต้องกันสำรองในธุรกรรมที่เกี่ยวโยงกับสถาบันการเงินยุโรป
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายช่วง 8 เดือนแรกของปี งปม. 55 เท่ากับ 1.5 ล้านล้านบาท คิดเป็ นร้อยละ 61.2 ของกรอบวงเงิน งปม. และยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ เดือน เม.ย. 55 มีจำนวน 4.6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็ นร้อยละ 42.4 ของ GDP โดยเป็ นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ร้อยละ 49.4 หนี้ของรัฐบาล (เพื่อ FIDF) ร้อยละ 24.6 และหนี้

รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็ นสถาบันการเงินร้อยละ 22.5 เป็ นต้น โดยหนี้ดังกล่าวเป็ นหนี้ระยะยาวถึงร้อยละ 96.0 ประกอบกับเป็ นหนี้สกลุเงินบาทถึงร้อยละ 92.9 ซึ่งสะท้อนว่าหนี้สาธารณะของไทยมีความเสี่ยงต่ำ นอกจากนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ประมาณการหนี้สาธารณะต่อ GDP และภาะหนี้ต่องบประมาณช่วง 5 ปี (55 - 59) โดยครอบคลุมการขาดุลงบประมาณ และการกู้เงินเพื่อโครงการลงทุนสุทธิของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ เป็ นต้น โดยในปี 59 หนี้สาธารณะต่อ GDP และภาะหนี้ต่อ งปม.เท่ากับร้อยละ 53.9 และ 11.6 ตามลำดับ ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP

3. ฝรั่งเศสวางแผนลดค่าใช้จ่ายสาธารณะ 1 พันล้านยูโร หวังบรรลุเป้าขาดดุลงบฯ
  • นายเจอโรม คาฮูแซค รมต.งบประมาณของฝรั่งเศสเปิดเผยว่า รัฐบาลฝรั่งเศสวางแผนลดค่าใช้จ่ายสาธารณะลงในวงเงิน 1 พันล้านยูโร (1.25 พันล้านดอลลาร์) เพื่อจัดระเบียบฐานะการคลังของประเทศในปีนี้ ทั้งนี้กระทรวงงบประมาณคาดการณ์ว่าจะลดยอดขาดดุลงบประมาณลงอีกร้อยละ 0.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 55 และเหลือเพียงร้อยละ 3 ในปีถัดไป
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การวางแผนปรับลดค่าใช้จ่ายสาธารณะของฝรั่งเศส สอดคล้องกับภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยูโรโซนในปั จจุบัน ที่ซึ่งประเทศสมาชิกจำเป็ นต้องรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้ เพื่อป้ องกันการสูญเสียความเชื่อมั่นของนักลงทุนในความสามารถของรัฐบาลในการชำระหนี้จำนวนมาก ทั้งนี้ นอกจากแผนปรับลดค่าใช้จ่าย ประเทศในกลุ่มยูโรโซนยังให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษี โดยคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) เตรียมเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกและเพิ่มแรงกดดันต่อแหล่งปลอดภาษีนอกอียูเพื่อจำกัดการหลีกเลี่ยงภาษี

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ