รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 25 - 29 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 2, 2012 14:09 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • การส่งออกในเดือน พ.ค.55 มีมูลค่าอยู่ที่ 20,933 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • การนำเข้าในเดือน พ.ค.55 มีมูลค่าอยู่ที่ 22,672 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการว่างงานเดือน เม.ย.55 อยู่ที่ร้อยละ1.0 ของกาลังแรงงานรวมคิดเป็นผู้ว่างงาน 3.7 แสนคน
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ( MPI) ในเดือน พ.ค. 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 1 ปี 55 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 55 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 62.0 จุด
  • อัตราการว่างงานญี่ปุ่น เดือน พ.ค. 55 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ของกำลังแรงงานรวม
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ในเดือน มิ.ย. 55 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 49.9 จุด
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ ในเดือน พ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว)
Indicators next week
 Indicators                          Forecast            Previous
Jun: Headl ine Inflation(%YoY)          2.2                2.5
  • เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีการปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก แต่เป็นการปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากกองทุนน้ำมันได้มีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่มเติมทั้งในน้ำมันดีเซล เบนซิน และแก๊สโซฮอล์ ประกอบกับ ราคาเนื้อสัตว์ได้มีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะราคาเนื้อสุกร จึงเป็นการลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอื่นๆคาดว่าอยู่ในระดับคงที่ ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคคาดว่าจะหดตัวจากเดือนที่ผ่านมาที่ร้อยละ -0.2 (%mom)
Economic Indicators: This Week
  • การส่งออกในเดือน พ.ค. 55 มีมูลค่าอยู่ที่ 20,933 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว สะท้อนถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากน้าท่วมในช่วงปลายปีก่อนหน้า โดยเฉพาะสินค้าหมวดยานยนต์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 83.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามการเร่งการผลิตสินค้าภายในประเทศหลังวิกฤตน้าท่วม ประกอบกับปัจจัยฐานต่าจากเหตุการณ์สึนามิของญี่ปุ่นในปีก่อนหน้า ในขณะที่อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวเร่งขึ้นเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 10.9 และ 11.8 ตามลาดับ แต่ยังมีสินค้าในหมวดเกษตรกรรมที่ยังคงหดตัว เนื่องจากการหดตัวในหมวดข้าวและยางพารา ทั้งนี้ราคาส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 และปริมาณการส่งออกขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.0
  • การนำเข้าในเดือน พ.ค. 55 มีมูลค่าอยู่ที่ 22,672 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าหมวดทุน และยานยนต์ ที่นำเข้าเพื่อทดแทนการเสียหายจากภาวะน้าท่วม และการเร่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ประกอบกับปัจจัยฐานต่ำจากเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น รวมถึงสินค้าวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ซึ่งการเพิ่มขึ้นในระดับสูงของการนำเข้าเป็นผลมาจากราคานำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.7 และปริมาณการนำเข้าที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 16.1 ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่น้อยกว่ามูลค่าการนาเข้าทาให้ดุลการค้าในเดือน พ.ค. 55 ขาดดุลต่อเนื่องที่ -1,740 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • การจ้างงานเดือนเม.ย.55 อยู่ที่ 38.14ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 7.73 แสนคน ขณะที่เมื่อปรับผลทางฤดูกาล พบว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.2 หมื่นคนจากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากการจ้างงานภาคเกษตรและภาคบริการเพิ่มขึ้น ขณะที่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.55 ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือน เม.ย.55 อยู่ที่ร้อยละ1.0 ของกำลังแรงงานรวมคิดเป็นผู้ว่างงาน 3.7 แสนคน
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค. 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยบวกจากการขยายการผลิตอย่างต่อเนื่องในหมวดอุตสาหกรรมหลักๆ ได้แก่ ยานยนต์ อาหาร (เบียร์) และเครื่องปรับอากาศ ขณะที่ยังคงมีปัจจัยลบจากการฟื้นตัวที่ล่าช้าในหมวดอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตในระดับสูง อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ที่ต้องอาศัยการนำเข้าเทคโนโลยีและเครื่องจักร เพื่อทดแทนส่วนเดิมที่เสียหาย นอกจากนี้ ในส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังคงชะลอการผลิตจากปัจจัยการผลิต อาทิ วัตถุดิบ และค่าแรงมีราคาเพิ่มขึ้น
Economic Indicators: Next Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 55 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากคาดว่าราคาน้ามันขายปลีกในประเทศมีการปรับตัวลดลงตามราคาน้ามันดิบในตลาดโลก แต่เป็นการปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากกองทุนน้ามันได้มีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ามันเพิ่มเติมทั้งในน้ามันดีเซล เบนซิน และแก๊สโซฮอล์ ประกอบกับ ราคาเนื้อสัตว์ได้มีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะราคาเนื้อสุกร จึงเป็นการลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอื่นๆคาดว่าอยู่ในระดับคงที่ ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคคาดว่าจะหดตัวจากเดือนที่ผ่านมาที่ร้อยละ -0.2 (%mom)

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 55 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 62.0 จุด จากความผันผวนในตลาดหลักทรัพย์ที่ส่งผลให้สินทรัพย์ของผู้บริโภคลดลง ตลอดจนภาคการจ้างงานที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ยอดคาสั่งสินค้าคงทนเดือน พ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (%mom SA) โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของคาสั่งซื้อสินค้ายุทโธปกรณ์และยานพาหนะที่ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 7.8 และ 2.7 จากเดือนก่อนหน้า GDP ไตรมาส 1 ปี 55 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้าผลจากการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีร้อยละ 8.8 และ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวร้อยละ -2.3 จากปีก่อน ผลจากการตัดลดงบประมาณทางการทหาร
Japan: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 55 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ของกำลังแรงงานรวม จาก GDP ญี่ปุ่นไตรมาส 1 ปี 55 ที่กลับมาขยายตัวได้ดี ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ทุกภาคเศรษฐกิจกลับมาดาเนินกิจกรรมได้ตามปกติ ส่งผลให้ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 55 ขยายตัวดีที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) สาเหตุสาคัญจากการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้จากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในเดือน พ.ค. 55 ที่ขยายตัวกลับมาเป็นบวกอีกครั้งเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 55 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 49.9 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำกว่า 50 อีกครั้ง หลังจากปรับสูงขึ้นที่ระดับ 50.7 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการเร่งฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิเริ่มลดลงและปรับตัวสู่ภาวะปกติแล้ว อัตราเงินเฟ้ อ เดือน พ.ค. 55 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากร้อยละ 0.4 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงตั้งอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 1.0 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน พ.ค. 55 หดตัวลงร้อยละ -3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สาเหตุจากการผลิตสินค้าหมวดยานยนต์ที่ปรับตัวลดลงเป็นสาคัญและปัจจัยฐานต่าในปีที่ผ่านมา ผนวกกับผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปที่ยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจกระทบญี่ปุ่นผ่านช่องทางการค้าได้ ส่งผลให้ผู้ผลิตมีความระมัดระวังในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก
Philippines: mixed signal
  • มูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย.55 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ -13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเชื้อเพลิงสินแร่และสารหล่อลื่น ซึ่งเป็นสินค้านำเข้าอันดับ 1 และ 2 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.6 และ 22.1 ของการนำเข้ารวมหดตัวร้อยละ -22.1 และร้อยละ -24.3 ตามลาดับเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัวและการนำเข้าที่หดตัวในเดือน เม.ย. 55 ทำให้ดุลการค้า เดือน เม.ย.55 ขาดดุลลดลงมาอยู่ที่ -134.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Singapore: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 55 ที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงและราคาที่อยู่ที่อาศัยปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ในส่วนของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 55 กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งที่ร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้หากหักการผลิตสินค้าด้านชีวเคมีออก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของผลผลิตสินค้าด้านวิศวกรรมการขนส่ง สินค้าอุตสาหกรรมการผลิต และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
South Korea: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) โดยขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ตามการขยายตัวดีต่อเนื่องของอุปสงค์ในประเทศ ที่สามารถลดผลกระทบจากการชะลอตัวของภาคการส่งออกได้ อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน มิ.ย. 55 ที่ลดลงตาสุดในรอบ 3 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 101.0 ส่งผลให้คาดว่าอุปสงค์ในประเทศในระยะต่อไปอาจชะลอลง และอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมได้ ทั้งนี้ ทางการเกาหลีใต้ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในปี 55 จากเดิมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.7 เหลือเพียงร้อยละ 3.3
Hong Kong: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้านำเข้าที่ชะลอลง ตามการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสุงขึ้นมากจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ 1,171.3 จุด ณ วันที่ 28 มิ.ย. 55 จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติ จากการที่สเปนและไซปรัสได้รับอนุมัติเงินช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปวงเงิน 100 และ 10 พันล้านยูโร ตามลำดับ ทไให้นักลงทุนมีความมั่นใจดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การประชุม Euro Summit ที่จัดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลอการซื้อเพื่อรอดูท่าทีของสหภาพยุโรปที่ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 25 - 28 มิ.ย. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 245.8 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวสูงขึ้นในพันธบัตรช่วงอายุ 3-10 ปี หลังการประกาศตารางการประมูลพันธบัตรไตรมาส 4 ซึ่งจะทาให้มีอุปทานพันธบัตรช่วงอายุดังกล่าวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 25 - 28 มิ.ย.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 7,910.0 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 28 มิ.ย.55 ปิดที่ระดับ 31.87 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ -0.54 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินยูโร ริงกิตมาเลเซีย และและดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงมากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ทาให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ -1.0
  • ราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 28 มิ.ย. 55 ปิดที่ 1,551.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,584.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ