รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 5, 2012 12:25 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2555

Summary:

1. วิกฤตเศรษฐกิจโลกกระทบอุตสาหกรรมสิ่งทอติดลบ 15% 5 เดือนแรกปี 55

2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย. 55 อยู่ที่ 68.5 เพิ่มขึ้นจาก 67.1 ในเดือนก่อน

3. ไอเอ็มเอฟเตือนประเทศสหรัฐให้ระวังเรื่องการขาดดุลที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ

Highlight:
1. วิกฤติเศรษฐกิจโลกกระทบอุตสาหกรรมสิ่งทอติดลบร้อยละ 15 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 55
  • สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอมองภาพอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มปี 55 ว่าจะเติบโตได้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ซึ่งติดลบถึงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้การหดตัวของมูลค่าการส่งออกดังกล่าวได้รับผลกระทบมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในตลาดยุโรปเป็นหลัก โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 55 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอไปยังตลาดยุโรปติดลบถึงร้อยละ 27
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอประสบกับอุปสรรคหลายประการ โดยหลักประกอบด้วยต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากวัตถุดิบ เช่น ปอและฝ้าย และอุปสงค์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดในแถบยุโรปที่ลดลง นอกจากนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ของหมวดอุตสาหกรรมสิ่งทอยังสะท้อนการผลิตที่หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -27.2 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 55 เช่นกัน ดังนั้น ประเทศไทยจาเป็นต้องพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อให้เป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมสิ่งทอมีจานวนการจ้างงานในประเทศถึง 1 ล้านคน และร้อยละ 99.8 ของผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.55 อยู่ที่ 68.5 เพิ่มขึ้นจาก 67.1 ในเดือนก่อน
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมประจาเดือน มิ.ย. 55 อยู่ที่ 68.5 เพิ่มขึ้นจาก 67.1 ในเดือน พ.ค. 55 เนื่องจากราคาน้ามันลดลง และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3 อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก ความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ความวิตกต่อปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ทรงตัวในระดับสูง และค่าเงินบาทที่ปรับตัวอ่อนลงเล็กน้อย เป็นปัจจัยที่ส่งผลในทางลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดังกล่าว
  • สศค. วิเคราะห์ว่า รายงานของศูนย์พยากรณ์ฯ บ่งชี้ว่าแม้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ถือว่ายังคงอยู่ต่ากว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนทางการเมืองและสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนทางการเมืองและสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีปัญหาจากวิกฤติหนี้ยุโรป ทั้งนี้ จากผลการสารวจสรุปได้ว่า ปัจจัยจาเป็นต่อการสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในอนาคตจะต้องมาจากการเร่งรัดการใช้จ่ายของรัฐบาล การดาเนินนโยบายการเงินผ่านการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และการทาให้การเมืองมีเสถียรภาพ ตลอดจนการดูแลราคาพลังงานและค่าครองชีพให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
3. IMF เตือนสหรัฐฯ ให้ระวังเรื่องการขาดดุลที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ
  • นางคริสตีน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐ ควรระมัดระวังการตัดลดงบประมาณขาดดุลอย่างรวดเร็วเกินไป เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะอ่อนแอ พร้อมทั้งเตือนให้สภาคองเกรสสหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงในการกาหนดงบประมาณขาดดุลโดยเร็ว รวมทั้งขยายเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐอย่างเร่งด่วน ซึ่งการขยายเพดานหนี้สาธารณะรอบใหม่ควรได้ข้อสรุปภายในช่วงต้นปีหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือที่จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของบรรดานักลงทุน พร้อมกันนี้ ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงเหลือร้อยละ 2 และ 2.5 ในปี 55-56 ท่ามกลางการฟื้นตัวที่เป็นไปอย่างล่าช้าและวิกฤติหนี้ยุโรปที่ยังไม่สิ้นสุดลง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ประสบปัญหาเรื่องงบประมาณขาดดุลอย่างสืบเนื่อง โดยในปี 55 ตามการคาดการณ์ของสภาคองเกรสสหรัฐฯ งบประมาณสหรัฐฯ จะขาดดุลอยู่ที่ร้อยละ -7.6 ต่อ GDP และหนี้สาธารณะสุทธิที่ถือโดยภาคเอกชน (Federal Debt held by the Public) สูงถึงร้อยละ 73.2 ต่อ GDP ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 55 ระดับหนี้สาธารณะของรัฐบาลสูงถึง 15.85 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเกือบจะสูงถึงระดับที่สภาคองเกรสสหรัฐฯ กาหนดเพดานไว้อยู่ที่ 16.394 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทาให้สหรัฐฯ ต้องมีการขยายเพดานหนี้ในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ สภาคองเกรสสหรัฐฯ ประเมินฐานะการคลังในระยะปานกลางของสหรัฐฯ (ปี 2556-2565) ว่าจะต้องมีการปรับโครงสร้างการคลังเพื่อให้รัฐบาลขาดดุลลดลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อ GDP ในแต่ละปี ซึ่งจะทาให้ระดับหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 61.3 ต่อ GDP ภายในปี 2565 อย่างไรก็ตาม ฐานะการคลังของสหรัฐฯ ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายประเด็นท่ามกลางภาวะตึงเครียดทางการเงินในยูโรโซน และเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ