รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 6 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 6, 2012 10:22 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 6 กรกฎาคม 2555

Summary:

1. ”บัณฑูร” แนะสถาบันการเงินไทยต้องเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

2. S&P ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลฟิลิปปินส์จากระดับ BB มาอยู่ที่ BB+

3. ออสเตรเลียเพิ่มการค้าเงินสกุลดอลลาร์ออสเตรเลีย-หยวนมากขึ้น

Highlight:
1. .”บัณฑูร” แนะ สถาบันการเงินไทยต้องเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
  • นายบัณฑูร ล่าซา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทยจากัด (มหาชน) กล่าวว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 5 - 6 อีกทั้งการขยายตัวของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ควรเติบโต 1.5 - 2.0 เท่าของ GDP หรือที่ร้อยละ 9 - 10 จึงจะเรียกว่าเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้นายบัณฑูรยังแนะนาว่า สถาบันการเงินไม่ควรมีปัญหา เพราะอาจทาให้ปัญหาลุกลามในเศรษฐกิจวงกว้าง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยทั้งภาคเศรษฐกิจจริงและภาคธนาคารยังคงขยายตัวดีอย่างมีเสถียรภาพ โดยเฉพาะภาคการธนาคารพบว่า สินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ล่าสุดในเดือน พ.ค. 55 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งถือว่ามีการขยายตัวอยู่ในระดับที่ดีและมีแนวโน้มว่าสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์จะยังมีการขยายตัวเพิ่ม เนื่องจากความต้องการสินเชื่อภายในประเทศยังคงมีเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มฟื้นตัวภายหลังอุทกภัยเมื่อปลายปี 54 ที่ผ่านมา ในขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net NPLs) ยังอยู่ในระดับต่าที่ร้อยละ 1.3 ของสินเชื่อรวม ทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 55 จะขยายตัวดีที่ร้อยละ 5.7 (คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55)
2. S&P ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลฟิลิปปินส์ จากระดับ BB มาอยู่ที่ BB+
  • บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลฟิลลิปินส์ จากเดิมที่ระดับ BB มาเป็น BB+ ซึ่งตามลาดับการจัดเรตติ้ง ถือว่าห่างจากเรตติ้งระดับน่าลงทุน (Investment Grade) เพียงหนึ่งขั้น และเป็นอันดับสูงสุดที่ฟิลิปปินส์เคยได้รับนับตั้งแต่ปี 46 ทั้งนี้ การปรับอันดับความน่าเชื่อถือในครั้งนี้ของ S&P สอดคล้องกับความเห็นของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถืออีกสองแห่ง ได้แก่ Moody’s ซึ่งปรับแนวโน้มของอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลฟิลิปปินส์เป็น ‘เชิงบวก’ ในเดือน พ.ค. 55 ที่ผ่านมา และ Fitch ซึ่งปรับอันดับเรตติ้งจาก B เป็น BB ซึ่งห่างจากเรตติ้งระดับน่าลงทุนหนึ่งขั้นเช่นเดียวกัน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สาเหตุของการปรับอันดับมาจาก (1) เสถียรภาพภายนอกประเทศของฟิลิปปินส์ที่ดีขึ้นมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เห็นได้จาก อัตราส่วนหนี้ต่างประเทศต่อ GDP ที่ลดลงจากร้อยละ 31.2 ในปี 53 เหลืออยู่ที่ร้อยละ 28.80 ในปี 54 อีกทั้งอัตราส่วนเงินทุนสารองระหว่างประเทศต่อภาระการชาระหนี้ต่างประเทศซึ่งเพิ่มจาก 11.83 เท่า ในปี 53 มาอยู่ที่ 18.53 เท่า ในปี 54 (2) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 8.755 ในปี 51 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.42 ในเดือน พ.ค. 55 (3) การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องตั้งแต่ปี 47 จากการส่งออกภาคบริการที่ขยายตัวมากขึ้น (4) ค่าเงินเปโซต่อดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นจากต้นปีถึงร้อยละ 5.0 อีกทั้งทางการฟิลิปินส์ได้ออกมาประกาศว่า จะลดอัตราการขาดดุลงบประมาณให้เหลือร้อยละ -2.0 ของ GDP จาก ร้อยละ -2.6 ในปี 55 นี้ อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์ดาเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลมาต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 33 ดังนั้น หากรัฐบาลไม่สามารถลดอัตราการขาดดุลงบประมาณได้ตามที่ประกาศไว้ ก็อาจมีความเสี่ยงต่อการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในอนาคต
3. ออสเตรเลียเพิ่มการค้าเงินสกุลดอลลาร์ออสเตรเลีย-หยวนมากขึ้น
  • ออสเตรเลียเพิ่มการค้าเงินสกุลดอลลาร์ออสเตรเลีย-หยวนมากขึ้น ผลจากการค้าระหว่างออสเตรเลียและจีนที่มีความสาคัญขึ้น จากการที่อุปสงค์ต่อสินค้าเพื่อการส่งออกไปยังจีนอยู่ในระดับสูง โดยจีนถือเป็นประเทศคู่ค้าที่สาคัญของออสเตรเลีย โดยมียอดการค้าระหว่างประเทศถึง 11.1 พันล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย ณ วันที่ 5 ก.ค. 55 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 46.0 เมื่อเทียบกับต้นปี 52 ซึ่งถือเป็นสกุลเงินที่แข็งค่าขึ้นมากที่สุดท่ามกลาง 150 สกุลเงินทั่วโลก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การเพิ่มการค้าเงินสกุลดอลลาร์ออสเตรเลีย-หยวนดังกล่าว จะส่งผลดีต่อการค้าระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ทั้งนี้ ยอดการส่งออกออสเตรเลียไปจีน ในเดือน พ.ค. 55 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ส่วนหนึ่งจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในจีนอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดค้าปลีกจีนในเดือน พ.ค. 55 ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยูโรโซนซึ่งเป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ 1 ของจีน (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 13.8 ของมูลค่าการส่งออกรวมจีนในปี 54) ที่มีแนวโน้มชะลอลง อาจทาให้เกิดการชะลอตัวของภาคการส่งออกออสเตรเลียได้ อนึ่ง ณ สิ้นปี 53 การทาธุรกรรมในสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียคิดเป็นร้อยละ 3.8 ของธุรกรรมรวม ในขณะที่ การทาธุรกรรมในสกุลเงินหยวนคิดเป็นร้อยละ 0.4 ของธุรกรรมรวม อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณการทาธุรกรรมในสกุลเงินหยวนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการชขยายตัวของเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศของจีนที่จะมีความสาคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ