รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 2 - 6 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 9, 2012 13:45 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิ.ย.55 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.9
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ค.55 ขาดดุล -1,540.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มิ.ย.55 อยู่ที่ระดับ 68.5
  • สินเชื่อเดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินอยู่ที่ร้อยละ 13.6
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือนพ.ค.55 หดตัวร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • วันที่ 6 ก.ค.55 ธนาคารกลางจีนลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ระยะเวลา 1 ปี เป็นครั้งที่ 2 ในปี 55 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.00 และ 3.00
  • เมื่อวันที่ 5 ก.ค.55 ธนาคารกลางยุโรปประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.75 จากร้อยละ 1.00
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) สหรัฐฯ เดือน มิ.ย.55 อยู่ที่ระดับ 49.7 จุด
  • วันที่ 3 ก.ค.55 ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศคงญ อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25
Indicators next week
 Indicators                          Forecast            Previous
Jul: Motorcycle sale (%YoY)            12.0                14.7
  • ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุปสงค์ในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์นาท่วมในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มิ.ย.55 ที่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน พ.ค.55 ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงสุดในรอบ 9 เดือน
Economic Indicators: This Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิ.ย.55 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้า (ค่า ft) เป็นสาคัญ ขณะที่ราคาน้ามันขายปลีกปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบโลก ส่วนราคาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มค่อนข้างคงที่จากเดือนก่อนหน้า สาหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มิ.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 4.3 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีในหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต (คอนกรีตบล็อคก่อผนัง-ปูพื้น คอนกรีตบล็อกก่อผนังมวลเบา เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก) สูงขึ้นร้อยละ 19.2 หมวดวัสดุอื่นๆ (อิฐมอญ อิฐโปร่ง ทราย) สูงขึ้นร้อยละ 10.3 ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 4.5
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ค.55 ขาดดุล -1,540.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -1,516.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยดุลการค้าเกินดุลเล็กน้อยที่ 573.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีนที่ขยายตัวดี ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุลสูงที่ -2,113.9.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเงินค่าระวางสินค้าและค่าโดยสารเดินทางจากการนาเข้าสินค้าในระดับสูงประกอบกับการลดลงของรายรับการท่องเที่ยวซึ่งเป็นปัจจัยทางฤดูกาล รวมทั้งรายรับจากเงินโอนค่าสินไหมทดแทนที่น้อยกว่าเดือนก่อน ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 5 เดือนแรกของปี 55 ขาดดุล -2,505.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มิ.ย.55 อยู่ที่ระดับ 68.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 67.1 ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงสุดในรอบ 9 เดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1. สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากสานักเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 55 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.7 ในขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 และ 2. ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องค่าครองชีพที่มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อภาคการค้าระหว่างประเทศของไทย
  • สินเชื่อเดือน พ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.4 ทั้งนี้หากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า ทั้งสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตอุทกภัย โดยหากวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดพบว่าทั้งสินเชื่อผู้บริโภคและสินเชื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นชัดเจน ทั้งนี้ อุปสงค์ภายในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป ทั้งนี้ ควรจับตามองปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน และการชะลอลงของเศรษฐกิจจีน ซึ่งอาจส่งผลลบต่อภาคการส่งออก รวมถึงเศรษฐกิจไทยในอนาคต
  • เงินฝากสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 โดยหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.0 สะท้อนการเร่งระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาฐานลูกค้า ทั้งนี้ ควรจับตามองข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปรับปรุงแนวทางการจากัดวงเงินคุ้มครองเงินฝากในวันที่ 11 สิงหาคม 2555
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือนพ.ค. 55 หดตัวร้อยละ -1.2 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยปริมาณการจาหน่ายเหล็กเส้นข้ออ้อย (น้าหนักร้อยละ 65.4 ของปริมาณการจาหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม) หดตัวร้อยละ -19.9 ในขณะที่ปริมาณจาหน่ายเหล็กเส้นกลม(น้าหนักร้อยละ 14.0) ขยายตัวร้อยละ 26.0 ส่งผลให้ในช่วง 5 เดือนแรกปี 55 ปริมาณจาหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศ หดตัวร้อยละ -5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มิ.ย. 55 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุปสงค์ในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์น้าท่วมในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มิ.ย.55 ที่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน พ.ค.55 ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงสุดในรอบ 9 เดือน

Global Economic Indicators: This Week

USA: worsening economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) เดือน มิ.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 49.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นการปรับตัวลดลงต่ากว่าระดับ 50 จุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ก.ค. 52 ผลจากดัชนีคาสั่งสินค้าใหม่ที่ลดลงมาก ในขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการอยู่ที่ระดับ 52.1 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.7
China: mixed signal
  • วันที่ 6 ก.ค.55 ธนาคารกลางจีนลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ระยะเวลา 1 ปี เป็นครั้งที่ 2 ในปี 55 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.00 และ 3.00 จากร้อยละ 6.31 และ 3.25 ตามลาดับ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย.55 ที่จัดทำโดยทางการจีน อยู่ที่ระดับ 50.2 ขณะที่ดัชนีฯ ที่จัดทำโดย HSBC อยู่ที่ระดับ 48.2 ส่วนดัชนีฯ ภาคบริการที่จัดทำโดย HSBC อยู่ที่ระดับ 52.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า
Euro Zone: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน มิ.ย.55 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นระดับที่ต่าสุดในรอบ 16 เดือน ผลจากราคาน้ามันตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค.55 ปรับตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 11.1 ของกาลังแรงงานรวม เป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 38 จากการเลิกจ้างงานจานวนมากในฝรั่งเศสและสเปนเป็นสาคัญ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Markit Comp. PMI) เดือน มิ.ย.55 ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ทีระดับ 46.4 จุด สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม ในเดือน มิ.ย.55 ที่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันอยู่ที่ระดับ 47.1 และ 45.1 จุด ตามลาดับ อย่างไรก็ตามยังอยู่ในระดับที่ต่ากว่า 50 จุด บ่งี้ถึงการหดตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 55 หดตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ -1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือ ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลง เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 55 ธนาคารกลางยุโรปประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.75 จากร้อยละ 1.00
Australia: mixed signal
  • วันที่ 3 ก.ค.55 ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.0-3.0 ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 สะท้อนอุปสงคืในประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค.55 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการเร่งขึ้นของการส่งออกไปยังจีน มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 16.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indonesia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย.55 อยู่ในระดับคงที่ที่ร้อยละ 4.5 จากปีก่อน มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค.55 หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -8.5 ขณะที่มูลค่าการนาเข้าขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 16.1 ทาให้ดุลการค้าขาดดุล -485 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
India: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค.55 หดตัวร้อยละ -4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะยูโรโซนซึ่งเป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ 1 ของอินเดีย ขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ค.55 หดตัวร้อยละ -7.4 ตามการปรับตัวลดลงของราคาน้ามันในตลาดโลก
Taiwan: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) เดือน มิ.ย.55 อยุที่ระดับ 49.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.5 สะท้อนการหดตัวในภาคอุตสาหกรรม จากดัชนีคาสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ที่บ่งชี้การหดตัว ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก
Malaysia: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค.55 กลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 6.7 จากปีก่อน จากการส่งออกเครื่องมือเครื่องจักรที่กลับมาขยายตัวเป็นบวก ขณะที่มูลค่าการนาเข้าขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 16.2 ทาให้ดุลการค้าเกินดุล 4.6 พันล้านริงกิต
Philip pines: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย.55 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาบ้านชะลอตัว
Singapore: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน มิ.ย.55 ยังคงอยู่ที่ระดับ 50.4 จุด บ่งชี้ภาคอุปทานที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
South Korea: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน มิ.ย.55 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกอาจมีแนวโน้มชะลอลงในระยะต่อไป สะท้อนจากดัชนีคาสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่เดือน มิ.ย.55 ที่อยู่ที่ ระดับ 48.4 ขณะที่มูลค่าการนาเข้าหดตัวร้อยละ -5.4 ตามราคาน้ามันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้เงินเฟ้อจากการนาเข้าลดลง ทาให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย.55 ลดลงตาสุดในรอบ 32 เดือนมาอยูที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสุงขึ้นต่อเนื่องเกินระดับ 1,200 จุด โดยปิดที่ระดับ 1,201.8 จุด ณ วันที่ 5 ก.ค.55 จากแรงซื้อของนักลงทุนรายย่อยในประเทศ จากผลการประชุม EU Summit ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนที่ออกมาดี โดยผู้นายุโรปตกลงที่จะเข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตรเพื่อลดแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนและอิตาลีที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยินยอมให้กองทุนถาวร ESM สามารถให้ความช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ได้โดยตรงและ 4 ประเทศใหญ่ (เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน) ตกลงใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 120 พันล้านยูโรร่วมกัน ทาให้นักลงทุนมีความมั่นใจดีขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2 - 5 ก.ค.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 650.4 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยค่อนข้างนิ่ง โดยนักลงทุนรอการตัดสินใจของ ECB ที่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายยุโรปลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อปี ในวันที่ 5 ก.ค.55 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2 - 5 ก.ค.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 5,929.3 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 5 ก.ค.55 ปิดที่ระดับ 31.52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 1.10 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี และและดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ทาให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79
  • ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ตามความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ดีขึ้น โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 5 ก.ค.55 ปิดที่ 1,602.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,595.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ