รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 11 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 11, 2012 11:48 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 11 กรกฎาคม 2555

Summary:

1. ประเมินกู้เงิน 1.6 ล้านล้านบาทไม่กระทบเครดิตประเทศ และช่วยเพิ่มงบลงทุนเป็นร้อยละ 25

2. ธปท. เตือนธุรกิจไทยตั้งรับวิกฤตโลกแนะอย่าประมาท

3. ยูโรโซนพร้อมช่วยเหลือธนาคารของสเปน

Highlight:
1. ประเมินกู้เงิน 1.6 ล้านล้านบาทไม่กระทบเครดิตประเทศ และช่วยเพิ่มงบลงทุนเป็นร้อยละ 25
  • ผู้อานวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมกู้เงินเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 1.6 ล้านล้านบาทว่า จะไม่กระทบต่อการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศยังอยู่ในระดับต่า ประมาณร้อยละ 40 ของผิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และสัดส่วนที่จะกู้เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 3 แสนล้านบาทเท่านั้น และเมื่อประเมินจากปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปที่จะเกิดขึ้นต่อไทยจะทาให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้นไปสูงสุดเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น
  • สศค.วิเคราะห์ว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะเดือน เม.ย. 55 ล่าสุด คิดเป็นร้อยละ 42.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่า อย่างไรก็ดี การเตรียมกู้เงินเพิ่มลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะเป็นการกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ เกิดการจ้างงานในภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้น โดยในปัจจุบันรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 17.8 และ 19.5 ของวงเงินงบประมาณในปี 55 และ 56 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐในช่วงปี 50-54 อยู่ในระดับต่าเพียงร้อยละ 6.3 ของ GDP ทาให้รัฐบาลมีแผนการเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2.27 ล้านล้านบาทในระยะ 7 ปีข้างหน้าที่จะเน้นการลงทุนในระบบขนส่งและ Logistics ของประเทศ
2. ธปท. เตือนธุรกิจไทยตั้งรับวิกฤติโลก แนะอย่าประมาท
  • “แบงก์ชาติ”เตือนภาคเอกชนพร้อมรับมือความเสี่ยงโลก แนะอย่าประมาท อย่ารอความช่วยเหลือจากภาครัฐ และอย่านิ่งนอนใจว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นจะคลี่คลายลง ขณะที่ "ไทยพาณิชย์" ชี้วิกฤติยูโรโซนอาจเรื้อรังยาว 3-5 ปี พร้อมแนะภาคธุรกิจไทยตุนสภาพคล่องให้พร้อม
  • สศค. วิเคราะห์ว่า วิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปที่เริ่มกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสาคัญ ส่งผลให้การเงินโลกรวมถึงประเทศไทยมีความผันผวนมากขึ้น ดังนั้น ภาคธุรกิจไทยควรตระหนักในการทาธุรกิจภายใต้ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกดังกล่าว ทั้งในประเด็นความเสี่ยงด้านต่างๆ จากการดาเนินธุรกิจกับประเทศยูโรโซนที่กาลังมีปัญหา ขณะที่ตลาดเงินตลาดทุนของไทยอาจจะมีความผันผวนมากขึ้นในกรณีที่เกิดการ Deleveraging ของนักลงทุนและกลุ่มธุรกิจยุโรป ในขณะที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจะผันผวนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพของสถาบันการเงินยังอยู่ในระดับแข็งแกร่ง สะท้อนได้จากเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 15.3 รวมทั้งถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศ โดยเฉพาะที่เป็นสกุลยูโรในระดับที่ต่ามากเพียงร้อยละ 1.4 ของสินทรัพย์รวมของสถาบันการเงินไทย นอกจากนี้ เงินทุนสารองระหว่างประเทศ ณ พ.ค. 55 อยู่ในระดับสูงที่ระดับ 171.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับความผันผวนจากการไหลออกของเงินทุนได้
3. ยูโรโซนพร้อมช่วยเหลือธนาคารของสเปน
  • ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้หาแนวทางแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจของสเปน และความคืบหน้าของมาตรการการปล่อยเงินกู้เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารของสเปน โดยเบื้องต้นที่ประชุมได้ตกลงให้ความช่วยเหลือธนาคารที่ประสบปัญหาของสเปนโดยพร้อมจะจัดหาเงินทุนมูลค่า 3 หมื่นล้านยูโรภายในสิ้นเดือน ก.ค. 55 และจะมีการหารือกันอีกครั้งเพื่อทาข้อตกลงในขั้นตอนสุดท้ายในวันที่ 20 ก.ค. 55 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ตกลงขยายระยะเวลาสาหรับรัฐบาลสเปนออกไปอีก 1 ปี คือ จากปี 56 เป็น ปี 57 ในการบรรลุเป้าหมายลดการขาดดุลงบประมาณไม่เกินร้อยละ 3 ของ GDP
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อลดความตึงเครียดในการระดมทุนผ่านตลาดพันธบัตรที่มีต้นทุนการกู้ยืมในระดับสูงของรัฐบาลสเปนสามารถช่วยลดปัญหาการขาดสภาพคล่องของธนาคารสเปนที่เริ่มเข้าขั้นวิกฤติมากขึ้นได้ โดยสเปนถือเป็นประเทศลาดับที่ 4 ของกลุ่มประเทศยูโรโซน ต่อจากไอร์แลนด์ โปรตุเกสและกรีซที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน และถือเป็นการตอกย้าถึงปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปที่ค่อยๆ ลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ในยูโรโซน อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสาคัญของสเปนในการสร้างความมั่นใจถึงความสามารถในการชาระหนี้แก่นักลงทุนคือ ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยของสเปน และอัตราการว่างงานในเดือน พ.ค. 55 ที่อยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 24.6 โดยมีแรงงานอายุต่ากว่า 25 ปี เกินกว่าร้อยละ 52 ที่ไม่มีงานทา ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสาคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสเปนที่ทาให้รัฐบาลสเปนจัดเก็บรายได้ต่ากว่าเป้าหมาย ทั้งนี้ ประเทศไทยควรต้องติดตามสถานการณ์ของสเปนอย่างใกล้ชิดเนื่องจากขนาดเศรษฐกิจของสเปนมีขนาดใหญ่เป็นลาดับที่ 4 ของประเทศในกลุ่มยูโรโซน และผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงอาจส่งผลต่อประเทศไทยในระดับที่รุนแรงมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศไอร์แลนด์ โปรตุเกสและกรีซที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กกว่าสเปน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ