Macro Morning Focus ประจำวันที่ 12 กรกฎาคม 2555
1. ธปท. ยืนยันแบงก์ต่างประเทศลดการลงทุน ไม่กระทบต่อสถาบันการเงินไทย
2. รมว.พาณิชย์ร่วมมือกับเวียดนามผลักดันการส่งออกข้าวไทยและเร่งแก้วิกฤตพื้นที่เพาะปลูกข้าวลดลง
3. ฟิทช์ยืนยันอันดับเครดิตสหรัฐที่ AAA โดยคงแนวโน้มเชิงลบ
- ธปท. เปิดเผยว่าช่วงที่ผ่านมามีสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ โดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศยุโรปได้ปรับลดขนาดการลงทุนในประเทศไทยลง (Deleveraging) ไปบ้างแต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงินไทยมากนัก เพราะขนาดสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์จากต่างประเทศเหล่านี้เทียบกับธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในประเทศไทยแล้วถือว่ามีสัดส่วนที่น้อยมาก
- สศค. วิเคราะห์ ว่าตลาดเงินตลาดทุนของไทยอาจจะมีความผันผวนมากขึ้นในกรณีที่เกิดการ Deleveraging ของนักลงทุนและกลุ่มธุรกิจยุโรป ในขณะที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจะผันผวนมากขึ้นอย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันสาขาธนาคารพาณิชย์จากต่างประเทศทั้งระบบมีสินทรัพย์ในไทยรวมกัน ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับขนาดสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศทั้งระบบ โดยลดลงจากปีก่อนหน้าซึ่งเคยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ15 จึงทาให้การลดขนาดการลงทุน ไม่น่ามีผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงินของไทยมากนัก อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ของไทยยังมีความมั่นคงและฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งสะท้อนได้จากเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ณ เดือน เม.ย 55 อยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 15.3 ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่าที่กำหนดไว้ร้อยละ 8.5 และสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Gross NPL Ratio) ณ เดือน มี.ค. 55 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.6 รวมทั้งถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศ โดยเฉพาะที่เป็นสกุลยูโรในระดับที่ต่ามากเพียงร้อยละ 1.4 ของสินทรัพย์รวมของสถาบันการเงินไทย
- นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเข้าร่วมหารือกับเวียดนามในเรื่องของความร่วมมือด้านสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตข้าวและยกระดับราคาสินค้าข้าวให้มีเสถียรภาพในตลาดโลก ทั้งนี้นายบุญทรงคาดว่าราคาข้าวของทั้งสองประเทศจะปรับตัวดีขึ้น ภายหลังการหารือดังกล่าว ทั้งนี้นายชาญชัย รักษ์ธนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย แสดงความกังวลถึงเรื่องวิกฤตพื้นที่เพาะปลูกข้าวลดลงในอนาคตอีกด้วย ซึ่งสาเหตุมาจากการปลูกพืชพลังงานทดแทนอื่นได้ราคาดีกว่าส่งผลให้ผลผลิตข้าวในปีนีข้องไทยลดลง และอาจเสียตาแหน่งผู้นำค้าข้าวของโลกได้
- สศค. วิเคราะห์ว่า ในปี 54 เวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญของโลกรองจากประเทศไทย โดยเวียดนามส่งออกข้าว 7.1 ล้านตัน และไทยส่งออกข้าว 10.7 ล้านตัน อย่างไรก็ตามในอนาคตประเทศไทยจาเป็นต้องพัฒนาประสิทธิภาพของภาคการเกษตร และปรับนโยบายการเกษตรภายใต้สถานการณ์ที่พืน้ ที่เพาะปลูกข้าวมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมาพื้นที่เพาะปลูกข้าวของไทยลดลงจาก 69.4 ล้านไร่ในปี 32 เหลือ 66.07 ล้านไร่ในปี 52 และเกษตรกรเริ่มหันมาปลูกพืชพลังงานทดแทนที่มีราคาสูง และส่งผลให้ผลผลิตข้าวของไทยลดลง ดังนั้นการร่วมกันหารือระหว่างประเทศไทยและเวียดนามในการเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับราคาสินค้าข้าวให้มีเสถียรภาพจะเป็นผลดี เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นประเทศผู้นำการส่งออกข้าวของโลก
- สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐที่ AAA โดยมีปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายและแข็งแกร่งของประเทศ ความยืดหยุ่นทางการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งความยืดหยุ่นด้านการระดมทุนจากสถานภาพของดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินสารองระดับโลกอย่างไรก็ตาม ยังคงแนวโน้มเชิงลบซึ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนด้านนโยบายการคลัง ขณะที่ยังไม่มีข้อสรุปในส่วนของมาตรการด้านภาษีและการลดยอดขาดดุล โดยฟิทช์คาดว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนถึงปี 2556 และ 2557 โดยระบุว่าหนีสิ้นภาคครัวเรือนปรับตัวลงสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤต ตลาดที่อยู่อาศัยเริ่มมีเสถียรภาพ และฐานะการเงินภาคเอกชนมีความแข็งแกร่ง
- สศค. วิเคราะห์ว่าในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2/55 (เม.ย — พ.ค. 55) อุปสงค์ในประเทศ ของสหรัฐฯ มีสัญญานการฟื้นตัวตัวอย่างช้าๆ โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้น ไตรมาสที่ 1/55 จานวน 146,000 ตาแหน่ง และอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.2 ของกาลังแรงงานรวม โดยเป็นสัญญาณบวกว่าผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจ อีกทั้งยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยอดจำหน่ายบ้าน (Existing Home Sales) อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ 4.2 ล้านหลังต่อปี หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อนหน้าซึ่งสศค. คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.7 — 2.7 เพิ่มขึ้นจากปี ก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเนื่องจากจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในเดือน พ.ย.55 ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.0 — 0.25 จนถึงปี 59 อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th