รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 9 - 13 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 16, 2012 11:54 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ในเดือน มิ.ย.55 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรร อปท.) จำนวน 133.5 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.2
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มิ.ย.55 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.62 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มิ.ย.55 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ค.55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาท
  • GDP ของจีน ไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าของจีน เดือน มิ.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 11.3 และ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP สิงคโปร์ ไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน เดือน พ.ค.55 หดตัวเร่งขึ้นร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือ ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า
  • มูลค่าการส่งออกไต้หวัน เดือน มิ.ย.55 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ -3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicators next week
 Indicators                          Forecast             Previous
Jul: TISI (Index)                      105.0                106.0
  • เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะการส่งออกภาคอุตสาหกรรม และปัจจัยภายในประเทศด้านสถานการณ์ทางการเมืองที่มีแนวโน้มตึงเครียดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เชื่อว่าดัชนีดังกล่าวจะคงอยู่ในระดับที่เกิน 100 สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ยังคงอยู่ในระดับดี เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาของการเพิ่มกำลังผลิตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมต่างๆ
Economic Indicators: This Week
  • ในเดือน มิ.ย. 55 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรร อปท.) จานวน 133.5 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.2 เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากเหตุการณ์อุทกภัยและผลจากโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึง 3.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 35.0 นอกจากนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2.8 และ 2.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 11.8 และ 13.1 ตามลาดับ อย่างไรก็ตาม ภาษีน้ำมันยังคงจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 4.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 49.3 ซึ่งเป็นผลจากการขยายเวลาลดอัตราภาษีน้ามันดีเซลเหลือลิตรละ 0.005 บาท จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี งปม.55 (ต.ค.54 - มิ.ย.55) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรร อปท.) ได้ทั้งสิ้น 1,431.4 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 10.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.7
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มิ.ย.55 มีจานวนทั้งสิ้น 1.62 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 4.5เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) ส่งผลให้จานวนนักท่องเที่ยวในไตรมาส 2 ปี 55 มีจานวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 4.81 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 8.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและขยายตัวร้อยละ 8.7เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (q-o-q SA) โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะกลุ่ม เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ, ยุโรป และ อาเซียน ที่ขยายตัวร้อยละ 15.6, 18.6 และ 5.3 ตามลาดับ
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มิ.ย.55 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.7 ตามการลดลงของยอดขายรถจักรยานยนต์ในส่วนของภูมิภาคและยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม. ที่หดตัวร้อยละ -4.5 และร้อยละ -2.8 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.3 และร้อยละ 20.9 ตามลาดับ เนื่องจากปัจจัยฐานสูงปีก่อนที่รถขายรถจักรยานยนต์ขยายตัวในระดับสูง ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 55 ปริมาณการจาหน่ายรถจักยานยนต์ ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.6 สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของประชาชนในระดับฐานรากฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ค. 55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาทจากยอดคงค้างเงินฝากที่เพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับยอดคงค้างสินเชื่อ จากการเร่งระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังผลกระทบจากวิกฤตอุทกภัย และการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาฐานลูกค้า โดยยอดคงค้างเงินฝากในเดือน พ.ค.55 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย.55 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 105.0 ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 106.0 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะการส่งออกภาคอุตสาหกรรม และปัจจัยภายในประเทศด้านสถานการณ์ทางการเมืองที่มีแนวโน้มตึงเครียดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีเชื่อว่าดัชนีดังกล่าวจะคงอยู่ในระดับที่เกิน 100 สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ยังคงอยู่ในระดับดี เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาของการเพิ่มกาลังผลิตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมต่างๆ

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payroll) เดือน มิ.ย.55 เพิ่มขึ้น 80,000 ตาแหน่งจากเดือนก่อนหน้า โดยการจ้างงานภาคเอกชนโดยเฉพาะภาคบริการและอุตสาหกรรมการผลิตดีขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่การจ้างงานภาครัฐยังคงปรับตัวลดลง ในขณะที่อัตราว่างงานเดือนพ.ค.55 ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 8.2 ของกำลังแรงงานรวม ดุลการค้าเดือน พ.ค.55 ขาดดุล -67.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการนำเข้าชะลอลงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง
China: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ถือการขยายตัวที่ต่าสุดในรอบ 3 ปี อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวการส่งออกอันเป็นผลกระทบจากวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป และการชะลอการลงทุนของภาคเอกชนที่เป็นปัจจัยสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการชะลอการขยายตัวดังกล่าวเป็นไปตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม BRIC ด้วยกัน มูลค่าการส่งออกและการนาเข้า เดือน มิ.ย. 55 ขยายตัวร้อยละ 11.3 และ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หากเทียบกับเดือนก่อนพบว่าหดตัวร้อยละ -0.5 และ -8.6 ตามลาดับ จากการนาเข้าที่หดตัวจากเดือนก่อนมากทาให้ดุลการค้าเกินดุล 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 55 ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน ถือเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่าที่สุดในรอบ 29 เดือน ทาให้ธนาคารกลางจีนมีช่องทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่งที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 6.5 และ 5.9 ตามลาดับ ส่วนยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเล็กน้อยจากการขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.08
Euro Zone: worsening economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค.55 หดตัวเร่งขึ้นร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือ ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) สาเหตุสาคัญมาจากผลผลิตในหมวดสินค้าทุนหดตัวลง ผนวกกับอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องจากตัวเลขการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอีกเดือน พ.ค.55 นี้
Japan: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย.55 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 40.4 จุด ผลจากความกังวลในวิกฤตหนี้สาธารณะของยูโรโซนและสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มิ.ย. 55 ที่ช่วงร้อยละ 0-0.1 เมื่อวันที่ 12 ก.ค.55 ที่ผ่านมา
Singapore: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อันเป็นผลมาจากการขยายตัวระดับต่าของภาคอุตสาหกรรมการผลิต อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 นี้ที่ดีขึ้นนี้ได้รับอานิสงส์จากการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ด้านยอดค้าปลีก เดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการชะลอการขยายตัวของการค้าขายยานพาหนะเป็นสาคัญ โดยยอดค้าปลีกหักยานพาหนะจะขยายตัวร้อยละ 1.8
Taiwan: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย.55 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ -3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ยูโรโซน และจีน บ่งชี้อุปสงค์จากนอกประเทศที่ชะลอลงต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน มิ.ย. 55 หดตัวร้อยละ -8.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากราคาสินค้านาเข้าที่ชะลอลง ตามราคาน้ามันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง
Malaysia: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค.55 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนมาที่ร้อยละ 7.6 จากปีก่อน จากการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวร้อยละ 6.6
Philippines: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 19.7 จากปีก่อน จากการส่งออกไปญี่ปุ่นคู่ค้าอันดับ 1 (สัดส่วนร้อยละ 18.5 ของส่งออกรวม) ที่ขยายตัวร้อยละ 81.5 ส่วนหนึ่งเกิดจากฐานต่าปีก่อนจากสึนามิในญี่ปุ่นทาให้อุปสงค์ลดลง
South Korea: mixed signal
  • วันที่ 12 ก.ค.55 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 3.00 จากการที่เศรษฐกิจขยายตัวต่ากว่าคาดการณ์ ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย.55 ทรงตังอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.2 ของกาลังแรงงานรวม จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในภาคบริการที่ให้อัตราค่าจ้างต่า ขณะที่การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมที่มีอัตราค่าจ้างค่อนข้างสูง ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 สะท้อนกาลังซื้อของภาคครัวเรือนที่อาจชะลอลงในระยะต่อไป
India: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.9 ส่วนหนึ่งจากการเร่งขึ้นของการผลิตในหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ขณะที่การผลิตในหมวดสินค้าทุนหดตัวร้อยละ -7.7 สะท้อนการลงทุนที่ชะลอลงต่อเนื่อง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวใกล้ระดับ 1,200 จุด โดยปิดที่ระดับ 1,193.1 จุด ณ วันที่ 12 ก.ค. 55 จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ จากผลการประชุม Eurogroup ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนที่ออกมาดี โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับแผนช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์สเปน โดยกองทุน EFSF จะปล่อยกู้เงินช่วยเหลือก้อนแรกจานวน 30 พันล้านยูโรให้กองทุนปรับโครงสร้างธนาคารสเปน (FROB) ในช่วงปลายเดือน ก.ค.55 ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจดีขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9 - 12 ก.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,168.0 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า จากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯและจีนที่ออกมาแย่กว่าที่คาด ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเป็นขาลง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9 - 12 ก.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,799.8 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงโดย ณ วันที่ 12 ก.ค. 55 ปิดที่ระดับ 31.79 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ -0.86 สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินยูโรและเงินสกุลภูมิภาคอื่นๆ ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ -0.44 จากการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เยน และหยวน เป็นสาคัญ
  • ราคาทองคาลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 12 ก.ค. 55 ปิดที่ 1,571.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากสัปดาห์ก่อน และลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,586.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ