ประเด็นด่วน: ตลาดเงินเริ่มไม่เชื่อมั่นในมาตรการแก้ปัญหาของผู้นำยุโรป ทำให้ดอกเบี้ยพันธบัตรสเปนกลับสูงขึ้น 7%

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 16, 2012 12:20 —กระทรวงการคลัง

ตลาดการเงินเริ่มขาดความเชื่อมั่นในมาตรการแก้ปัญหาวิกฤติยูโรโซนที่ผู้นำยุโรป (Euro Summit) ได้ตกลงเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2555 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสเปนระยะยาวในช่วงปิดตลาดการเงินเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 6 ก.ค. 2555 พุ่งกลับมำสูงขึ้นเกือบ 7% อีกครั้ง (ซึ่งเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยที่อันตรายและเคยส่งผลให้หลสยประเทศ เช่น กรีซ โปรตุเกส และไอร์แลนด์ ไม่สามสรถชำระหนี้ได้ และต้องขอรับความช่วยเหลือจาก EU/IMF)

  • ประเด็นสำคัญที่ตลาดการเงินเป็นห่วง คือ ความยากลำบากในการนำมาตรการแก้ปัญหาวิกฤติไปใช้ในทำงปฏิบัติ และประเด็นการเมืองระหว่างประเทศที่หลายประเทศในยูโรโซน เริ่มออกมาคัดค้านการนำมาตรการ Euro Summit ไปบังคับใช้ สรุปได้ดังนี้

1. ประเด็นความกังวลที่เกี่ยวกับมาตรการเรื่อง Banking Union ที่ Euro Summit ตกลงให้กลไกรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (ESM ) สามารถปล่อยเงินกู้ให้สถาบันการเงินแต่ละประเทศโดยตรง โดยไม่ต้องผ่ำนการกู้เงินของรัฐบาลก่อน (ซึ่งจะช่วยให้หนี้สาธรณะของรัฐบาลที่กู้เงินมาช่วยธนาคารไม่ต้องเพิ่มขึ้น และเป็นการตัดวงจรอุบาทว์ที่เชื่อมโยงระหว่าง Banking Crisis ที่จะทำให้เกิด Fiscal Crisis) ได้แก่ การที่ ESM จะปล่อยกู้ให้สถาบันการเงินได้จริง จะต้องให้ธนาคารกลางยุโรป ECB จัดตั้งหน่วยงานกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งคงไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วภายในสิ้นปี 2555 นี้ประเทศที่เกิดวิกฤติสถาบันการเงินและได้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินแล้วเช่น โปรตุเกส และกรีซ เริ่มเรียกร้องขอให้ ESM มาปล่อยกู้ให้สถำบันกำรเงินโดยตรง โดยไม่เป็นภาระกับหนี้รัฐบาล เช่นเดียวกับที่สเปนกำลังดำเนินการขออยู่ขณะนี้กลไก ESM ยังไม่มีผลใช้บังคับ (คาดว่าจะจัดตั้งได้ภายในสิ้นเดือน กค.นี้) แต่คาดว่าสถาบันการเงินสเปนจะต้องขอรับความช่วยเหลือจำกกองทุนชั่วครำว EFSF ก่อน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจน ดังนั้น พันธบัตรรัฐบาลสเปน จึงกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

2. ประเด็นความกังวลเกี่ยวกับมาตรการเรื่อง Fiscal Union ที่ Euro Summit ตกลงให้กลไก ESM สามารถเข้าแทรกแซงซื้อพันธบัตรรัฐบาลของหลายประเทศในยูโรโซนได้เพื่อช่วยลดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของรัฐบาลบางประเทศที่ตลาดการเงินขาดความเชื่อมั่นจนอยู่ในระดับที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ (Unsus tainable level) เช่น พันธบัตรรัฐบาลสเปน และอิตาลี ได้แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์และฟินแลนด์ ได้ออกมาคัดค้านการนำกลไก ESM ไปใช้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยไม่มีเงื่อนไขรัดเข็มขัด Conditio nality ซึ่งจะทำให้เสียวินัยการคลัง โดยเนเธอร์แลนด์และฟินแลนด์อาคัดค้านการแก้ไขสนธิสัญญาที่จะให้ ESM ซื้อพันธบัตรดังกล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ 6 กค. 55 นักเศรษฐศาสตร์เยอรมนีจำนวน 160 คน ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกคัดค้านต่อต้านนายกฯ Angela Merkel ในการผ่อนคลายวินัยทางการคลังที่ Euro Summit

  • สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ประจำสหราชอาณาจักรและยุโรป ประเมินผลกระทบ ดังนี้

1. ในระยะสั้น: หากการประชุมรัฐมนตรีคลังฯ ยุโรปในวันที่ 9-10 กค. ยังไม่สามารถตกลงรายละเอียดของมสตรการจาก Euro Summit ได้นักลงทุนอาจจะกลับเข้าสู่ภาวะกลัวความเสี่ยง Risk off อีกครั้งทำให้ถอนเงินออกจากตลาดเกิดใหม่รวมทั้งไทย และเข้าลงทุนใน Safe Haven Assets และส่งผลให้ตลาดเงินตลสดทุนไทยผันผัวนอีกครั้ง

2. ในระยะปานกลาง: สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่าผลของมาตรการ Euro Summit มุ่งแค่แก้ปัญหาในระยะสั้น แต่ปัญหาในระยะปานกลางยังไม่มีความชัดเจนและยังไม่ได้รับการแก้ไขหลายประการ ดังนี้

  • ขนาดของเงินกองทุนรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจที่ไม่เพียงพอ โดยเงินกองทุนชั่วคราว EFSF (ขณะนี้มีเหลือเพียงประมาณ 2 แสนล้านยูโร) และกองทุน ESM ขนาด 5 แสนล้านยูโร (ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการจัดตั้ง) มีขนาดเล็กไม่เพียงพอรองรับวิกฤติที่อาจลุกลามเป็นวงกว้ำงไปยังสเปน และอิตาลี
  • ยังไม่มีการจัดตั้ง Banking Union อย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการจัดตั้ง EURO-wide Deposit Guarantee ซึ่งเป็นหัวใจการป้องกันการลุกลามของ Banking Crisis ในยุโรป
  • ยังไม่มีการจัดตั้ง Fiscal Union อย่างเต็มรูปแบบ เช่น การออกพันธบัตรยูโรบอนด์ และกองทุน ESM ก็มีขนาดเล็กเกินไปที่จะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นในการแทรกแซงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรให้ลดลงได้จริง

3. ในระยะยาว: สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่าขณะนี้ หลายประเทศในเขตยูโรโซนไม่มีแหล่งที่มาในการเติบโตทางเศรษฐกิจ (No Source of Growth) เพราะไม่สามารถใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงหนี้ฯสูง และไม่สามารถใช้นโยบายการเงินที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ(ขึ้นกับ ECB) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ฐานะการคลังยั่งยืนในระยะยาว ดังนั้นในที่สุดจะต้องมีบางประเทศที่จำเป็นต้องออกจากยูโรโซน เพื่อใช้เครื่องมืออัตราแลกเปลี่ยนในการใช้การส่งออกเป็นเครื่องมือในการฟื้นเศรษฐกิจ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ