รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 17, 2012 12:05 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2555

Summary:

1. 'กิตติรัตน์' ยืนยันยังไม่ตัดสินใจปรับขึ้นแอลพีจี 16 ส.ค.นี้

2. ทีทีดีอาร์ไอเตือนเอสเอ็มอีไทยเร่งปรับตัวรับมือยุควิกฤตแรงงานขาดแคลน

3. IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 55

Highlight:
1. 'กิตติรัตน์' ยืนยันยังไม่ตัดสินใจปรับขึ้น แอลพีจี 16 ส.ค.นี้
  • รองนายกรัฐมนตรีระบุว่า มาตรการลอยตัวราคาก๊าชแอลพีจีเป็นนโยบายที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการอย่างแน่นอนเพื่อให้เป็นไปตามกลไกราคาตลาดที่แท้จริงก่อนที่จะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และไม่ต้องการให้นำเงินของประชาชนทั้งประเทศมาสนับสนุนราคาก๊าชให้กับประชาชนบางกลุ่มเท่านัน้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้พิจารณาปรับขึน้ ราคาก๊าชแอลพีจีในภาคอุตสาหกรรมไปแล้ว จึงถึงเวลาที่ต้องพิจารณาเรื่องของราคาก๊าชแอลพีจีในภาคการขนส่งต่อไปแต่ยืนยันยังไม่มีการตัดสินใจปรับขึน้ ราคาก๊าชแอลพีจีทัง้ ภาคขนส่งและครัวเรือนพร้อมกันในวันที่ 16 ส.ค.นี้เพราะต้องพิจารณาปัจจัยด้านอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การปรับขึ้นราคาก๊าชแอลพีจีเป็นไปตามนโยบายการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของรัฐบาล เพื่อให้ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและไม่บิดเบือนกลไกตลาดอย่างไรก็ดีการปรับขึ้น ราคาก๊าชแอลพีจีในภาคการขนส่งและภาคครัวเรือนอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้ อในปี 55 เนื่องจากก๊าซแอลพีจีเป็ นสินค้าหลักที่อยู่ในตะกร้าเงินเฟ้ อ โดยมีน้าหนักร้อยละ 0.37 ดังนั้นหากมีการลอยตัวก๊าซแอลพีจีจะทาให้ราคาก๊าซปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 ซี่งจะทา ให้อัตราเงินเฟ้ อในปี 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.54 จากเดิมที่ สศค.ได้ประมาณการไว้ที่ร้อยละ 3.5 ณ เดือน มิ.ย. 55
2. ทีทีดีอาร์ไอเตือนเอสเอ็มอีไทยเร่งปรับตัวรับมือยุควิกฤตแรงงานขาดแคลน
  • ผอ.วิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ธุระกิจSMEs เป็นแหล่งรายได้สาคัญของประเทศ โดยสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของจีดีพี ซึ่งสามารถดูดซับแรงงานได้มากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงานคือ ราว 13 ล้านคน แต่อย่างไรก็ดีมีอัตราการเข้า-ออกของแรงงาน (Turn over) สูงถึงร้อยละ 25-30 จึงทำให้ผู้ประกอบการมีภาระในการสรรหาบุคลากรทดแทน และผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ไม่มีความกังวลเรื่องแรงงานแต่จะกังวลในเรื่องของต้นการผลิตมากกว่า
  • สศค.วิเคราะห์ว่า ธุรกิจ SMEs นับเป็นกลไกสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา Developing Countries) ซึ่งมีจำนวน SMEs เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมทั้งประเทศไทย โดยข้อมูลในปี 53 มีจำนวนผู้ประกอบการทั้งประเทศที่เป็น SMEs มีถึง 2.91 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.6 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมด SMEs เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก โครงสร้างการผลิตจึงเน้นการใช้แรงงานเป็นสำคัญ (Labor Intensive) ส่งผลให้เกิดภาวะการขาดแคลนแรงงานในบางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ SMEs ขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบแต่ไม่มากนัก (ซึ่งเป็นการขาดแคลนแรงงานระดับกลางและระดับล่าง) สะท้อนได้จากอัตราการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.4 ของกำลังแรงงานรวม) โดยล่าสุดเดือน เม.ย.55 ถือว่ายังอยู่ในระดับสูงโดยขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่างเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราการว่างงานก็อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0 หรือเป็นจำนวนคนว่างงาน 3.76 แสนคน
3. IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 55
  • IMF เปิดเผยตัวเลขในรายงานรอบครึ่งปีของ "World Economic Outlook" โดยปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 55 ลงมาอยู่ที่ระดับร้ อยละ 3.5 จากเดิมร้อยละ 3.6 และยังได้ปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 56 ลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.9 ซึ่งลดลงร้อยละ 0.2 จากที่คาดการณ์ไว้ในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาโดยระบุว่าเศรษฐกิจยังคงมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะขาลง เนื่องจากประเทศยุโรปมีความล่าช้าในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เนื่องจาก EU มีส่วนแบ่งตลาดทั้งในด้านนาเข้าและส่งออกในระดับสูง (โดยมีสัดส่วนการนำเข้าและส่งออกประมาณร้อยละ 16.5 และ 15.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับมูลค่าการนำเข้าส่งออกทั้งหมดในโลก) ดังนั้นการหดตัวของเศรษฐกิจ EU (โดย Real GDP ยูโรโซนในไตรมาสแรกปี 55 หดตัวไปร้อยละ -0.1 ต่อปี ขณะที่ IMF คาดว่าตลอดทั้งปี 55 จะหดตัวที่ร้อยละ -0.3) จะส่งผลกระทบโดยรวมต่อมูลค่าการค้าโลก ทั้งในมิติของการค้าระหว่างประเทศสมาชิก EU(Intra-EU Trade) และมูลค่าการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม (Extra-EU Trade) โดยเฉพาะกลุ่มประเทศคู่ค้าที่สาคัญได้แก่ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณ 1 ใน 4 ของมูลค่า Extra-EU Trade ทั้งหมด และจะเป็นปัจจัยสาคัญที่ทำให้เศรษฐกิจโลกเผชิญความเสี่ยงต่อภาวะขาลงดังกล่าว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ