รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 19, 2012 10:43 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2555

Summary:

1. พาณิชย์เผย 6 เดือน ผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 14

2. ยอดขายครึ่งปีแรกของโตโยต้าทะลุเป้าเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40

3. การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 55 ของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4

Highlight:
1. พาณิชย์เผย 6 เดือน ผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 14
  • นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมต.ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถิติการจดทะเบียนเลิกธุรกิจทั่วประเทศของเดือนมิ.ย. 55 ว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบตัวเลข 6 เดือนแรกของปี 55 กับ 6 เดือนแรกของปี 54 พบว่ายอดการจดทะเบียนเลิกธุรกิจทั่วประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 14 โดยประเภทธุรกิจที่มีจานวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาคก่อสร้างอาคารทั่วไป ภาคบริการนันทนาการ และ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 23 ของการจดทะเบียนเลิกทั้งหมด
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับตัวเพิ่มขึ้นของยอดการจดทะเบียนเลิกธุรกิจทั่วประเทศของเดือนมิ.ย. 55 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวขึ้นของต้นทุนการผลิตในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการรายย่อยในธุรกิจบางประเภท อย่างไรก็ตาม สศค.มองว่า การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Index) ซึ่งในเดือนพ.ค. 55 (ข้อมูลล่าสุด) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 54 ในอัตราร้อยละ 14 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของดัชนีการลงทุนภาคเอกชนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 55 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 54 ถึงร้อยละ 8.8
2. ยอดขายครึ่งปีแรกของโตโยต้าทะลุเป้าเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40
  • มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จากัด แถลงว่า สถิติการจาหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2555 มีปริมาณการขายอยู่ที่ 606,523 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยรถเพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.3 รถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.1 ทั้งนี้ ทางบริษัทได้ปรับประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2555 เป็น 1,200,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 51.1 โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่ง 553,900 คัน และรถเพื่อการพาณิชย์ 646,100 คัน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การเติบโตขึ้นของยอดขายรถยนต์จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะแรงส่งทั้งทางด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยทางด้านอุปสงค์ได้รับการกระตุ้นมาจากนโยบายรถคันแรก ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับส่วนลดสูงถึง 1 แสนบาท สาหรับรถที่มีการซื้อจนถึง 31 ธันวาคม 2555 โดยล่าสุดมีการขอใช้สิทธิรถยนต์คันแรกแล้วจานวน 78,281 หมื่นคัน (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มิ.ย.55) ซึ่งจะทาให้ยอดซื้อขายยานยนต์เพิ่มขึ้นอีกในปีนี้ นอกเหนือจากนี้ ด้านอุปทานก็ได้รับผลกระตุ้นจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์หลังจากวิกฤติน้าท่วมเมื่อปลายปีที่แล้วได้กลับมาสู่สภาพปกติ โดยดัชนีผลผลิตด้านอุตสาหกรรมทางด้านยานยนต์สูงถึงร้อยละ 136.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ สศค. ได้ประมาณการว่าการบริโภคภาคเอกชน ณ ปี 2555 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เร่งขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 5.7 (โดยมี ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.2 — 6.2)
3. การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 55 ของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.40
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย.55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.2 โดยมีแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตโดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักรและรถยนต์ นอกจากนี้ อัตราการใช้กาลังการผลิตในเดือน มิ.ย. 55 อยู่ที่ร้อยละ 78.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 78.7
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย. 55 ที่กลับมาขยายตัวเป็นผลมาจากการผลิตในภาคโรงงานซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.2 และหากไม่รวมการผลิตรถยนต์ การผลิตในภาคการผลิตสามารถปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.5 ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สามารถกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งถือเป็นสัญญาณที่ดีของภาคการผลิตของสหร ฐฯ ที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีสัญญาณชะลอตัวลงบ้าง โดยล่าสุด GDP ในไตรมาสที่ 1 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 และ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลาดับ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามคืออัตราการว่างงานสหรัฐในเดือน พ.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 8.2 ของกาลังแรงงานรวม ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนวิกฤติเศรษฐกิจที่ประมาณร้อยละ 5.0 ทั้งนี้ สศค. ประเมินว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 2.2 (ข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ