รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 20 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 20, 2012 11:54 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 20 กรกฎาคม 2555

Summary:

1. สภาอุตฯ เปิดเผย ยอดขายรถยนต์ในเดือน มิ.ย.55 มีจานวนทั้งหมด 123,471 คัน

2. การประชุม MRC ในเดือน ส.ค.55 มีความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้ง

3. อัตราการสร้างบ้านใหม่เดือน มิ.ย.55 สหรัฐฯ อยู่ที่ 760,000 ยูนิต หรือขยายตัวสูงสุดในรอบกว่าสี่ปี

Highlight:
1. สภาอุตฯ เปิดเผย ยอดขายรถยนต์ในเดือน มิ.ย.55 มีจานวนทั้งหมด 123,471 คัน
  • โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยยอดขายรถยนต์ในเดือน มิ.ย.55 มีจานวนทั้งหมด 123,471 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 75.7 นอกจากนี้ ไทยยังส่งออกรถยนต์สาเร็จรูปได้ 94,727 คันซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 25 ปี ขณะที่การผลิตรถยนต์ในเดือน มิ.ย.55 มีทั้งสิ้น 205,600 คัน ซึ่งมากสุดในรอบ 50 ปี
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ห่วงโซ่อุปทานด้านการผลิตภาคยานยนตร์ฟื้นตัวอย่างเต็มที่แล้ว จากวิกฤติอุทกภัยในปี 54 โดยจะเห็นได้จากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) หมวดยานยนตร์ในเดือน เม.ย.55 และ พ.ค.55 ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 84.1 และ ร้อยละ 136.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลาดับ จึงทาให้ภาคการผลิตยานยนต์สามารถตอบสนองต่อยอดสั่งซื้อใหม่ และ ยอดสั่งซื้อคงค้างตั้งแต่ช่วงอุทกภัยในปี 54 จึงส่งผลให้ยอดขายรถยนตร์สูงเป็นประวัติการณ์ ในด้านการส่งออก ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 55 ไทยส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนไปยังตลาดหลักได้แก่ ออสเตรเลีย อาเซียน ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นตลาดที่มีความเกี่ยวข้องด้านห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมยานยนต์ อีกทั้งยังไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน และมีความต้องการปัจจัยพื้นฐานด้านการขนส่งสูง
2. การประชุม MRC ในเดือน ส.ค. 55 มีความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก
  • รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่า MPC อาจพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้งในการประชุม MPC ครั้งต่อไปในเดือน ส.ค. 55 หลังความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปเพิ่มขึ้น โดยในการประชุมครั้งที่ผ่านมา MPC ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี ในขณะที่เพิ่มปริมาณการเข้าซื้อสินทรัพย์อีก 50 พันล้านปอนด์จาก 325 เป็น 375 พันล้านปอนด์
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การพิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว สะท้อนถึงความจาเป็นอย่างมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ท่ามกลางความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลก ภาวะสินเชื่อที่ยังตึงตัว และข้อจากัดในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ในขณะที่แรงกดดันด้านราคาปรับลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรในเดือน มิ.ย. 55 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า และมีความเสี่ยงที่จะลดลงต่ากว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2 ในระยะต่อไป แต่ทั้งนี้ MPC จาเป็นต้องพิจารณาประสิทฺธิผลของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ซึ่งอาจมีอยู่อย่างจากัด เนื่องจากการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยตลาดที่ปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลจากความไม่แน่นอนจากวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปเป็นสาคัญ ซึ่งเป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์ (ธ.พ.) คิดกับครัวเรือนและภาคธุรกิจปรับสูงขึ้นตาม และเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ดังนั้น หากแนวทางในการแก้ไชวิกฤตหนี้ยุโรปยังขาดความชัดเจน ก็จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ธนาคารกลางสหราชอาณาจักร จะดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจมีส่วนสาคัญในการเสริมมาตรการทางการเงินอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในกรณีของ Funding for Lending Scheme อัตราดอกเบี้ยที่ ธ.พ. ใช้ในการกู้ยืมเงินโดยมีพันธบัตรรัฐบาล (ที่ยืมมาจากธนาคารกลาง) เป็นหลักประกัน จะอิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จึงเป็นการลดต้นทุนในการกู้ยืมให้กับ ธ.พ. ซึ่งเป็นผลดีต่อการปล่อยกู้ให้แก่ภาคเอกชนต่อไป
3. อัตราการสร้างบ้านใหม่เดือน มิ.ย. 55 สหรัฐฯ อยู่ที่ 760,000 ยูนิต หรือขยายตัวสูงสุดในรอบกว่าสี่ปี
  • อัตราการสร้างบ้านใหม่เดือน มิ.ย. 55 สหรัฐฯ อยู่ที่ 760,000 ยูนิต หรือขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบกว่าสี่ปีที่ร้อยละ 6.9 จากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ภาคส่วนเศรษฐกิจอื่นๆของสหรัฐยังคงส่งสัญญาณชะลอลง ทั้งนี้ ประธาน Fed กล่าวว่าผลจากการขยายตัวครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากต้นทุนในการกู้ยืมที่ยังคงอยู่ในระดับต่า และราคาบ้านที่ไม่สูงนักทาให้ประชาชนมีความสามาถในการซื้อบ้านได้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า แม้ว่าอัตราการสร้างบ้านใหม่ในเดือน มิ.ย.55 ส่งสัญญาณว่าภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าว ไม่สามารถระบุทิศทางที่ชัดเจนของการลงทุนและการบริโภคในครัวเรือนได้ เนื่องจากยูนิตบ้านที่ยังไม่มีผู้อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 54 นั้นยังคงสูงถึง 2.1 ล้านยูนิตหรือร้อยละ 1.6 ของจานวนบ้านที่มีอยู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด นอกจากนี้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมจะอยู่ในระดับต่า (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 4.0 สาหรับสินเชื่อกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย 30 ปี) แต่ภาคธนาคารยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ สืบเนื่องจากวิกฤตซับไพร์มในปี 51 ส่งผลให้การขยายตัวในสินเชื่อยังไม่เพิ่มขึ้นมากนัก กอปรกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐในด้านอื่นๆ อาทิ ภาวะอัตราการว่างงานสูงกว่าร้อยละ 8 ในปี 55 ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงเป็นประเด็นที่ประเทศไทยต้องจับมองเพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์และดาเนินมาตรการทางเศรษฐกิจต่อไป

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ